10 ข้อต้องรู้ SMEs พัฒนาสินค้าให้โดนใจตลาด

ธุรกิจขนาดเล็ก หากจะแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ในตลาดก็ยากอยู่แล้ว ยิ่งไม่นับรวมธุรกิจในระดับเดียวกันที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น การที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SMEs อยู่รอดได้ ท่ามกลางคู่แข่งและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจทีแตกต่างจากคนอื่น รู้จักพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เรียกได้ว่า ถ้าสินค้าหรือบริการโดนใจตลาดและผู้บริโภค ก็จะมีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com อยากขอนำเสนอ 10 แนวทางในการพัฒนาสินค้าให้โดนใจตลาด ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเป็นเครื่องมือนำทางให้กับผู้ประกอบการ SMEs นำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจให้รอดครับ

1.ค้นหาความต้องการ (Needs)

90

การวิเคราะห์เพื่อหาความต้องการของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องพิจารณาอย่างยิ่งในการที่จะเริ่มต้นผลิตสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจทำโดยการสำรวจ สัมภาษณ์

หรือเก็บข้อมูลด้วยวิธีอื่นๆ ที่สามารถค้นหาความต้องการที่แท้จริงในปัจจุบันของผู้บริโภคได้ ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถพยากรณ์เทรนด์หรือแนวโน้มความต้องการใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือยิ่งไปกว่านั้นคือความสามารถในการสร้างให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการสินค้าใหม่ที่กำลังจะผลิตขึ้นได้

2. เน้นการต่อยอด (Development)

91

การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นถือว่าเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำอยู่เสมอ ถึงแม้ปัจจุบันลูกค้าจะมีความพึงพอใจกับสินค้าอยู่แล้ว

แต่ความต้องการนั้นๆ ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีควรมีการพัฒนาสินค้าของตนให้ดีขึ้นและสร้างความพึงพอใจที่มากขึ้นให้กับผู้บริโภคอยู่เสมอ

3. เติมความคิดสร้างสรรค์ (Creative)

92

ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะ การสร้างสรรค์ความงามที่แปลกใหม่ให้ผลิตภัณฑ์มีความงดงามและมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เป็นการสื่อถึงความมีรสนิยมในการสร้างสรรค์และออกแบบสินค้า ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความรื่นรมย์และสร้างแรงจูงใจในการอุปโภคและบริโภคสินค้ามากยิ่งขึ้น

4. เลือกใช้วัตถุดิบ (Material)

102

การพิจารณาเลือกใช้วัตถุดิบอย่างชาญฉลาดจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่สร้างความน่าสนใจให้เกิดกับผู้บริโภคได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างความได้เปรียบทางการขายได้อีกด้วย

อาทิ การเลือกใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในพื้นที่จะทำให้สินค้ามีต้นทุนไม่สูงและยังสามารถบ่งบอกถึงอัตลักษณ์และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ได้อีกด้วย

5. ใส่คุณประโยชน์ (Benefit)

94

ผลิตภัณฑ์ที่ดีจำเป็นต้องมีคุณประโยชน์ที่ชัดเจนทั้งในแง่ของการผลิตและการขาย ต้องสามารถสร้างความชัดเจนในตัวสินค้าในมุมมองของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกกินเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับคุณประโยชน์ที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

รวมไปถึงสามารถเพิ่มคุณประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้นให้กับสินค้า ทั้งการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และการเพิ่มคุณสมบัติในการใช้สอยของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

6. พัฒนาด้วยเทคโนโลยี (Technology)

103

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถช่วยแก้ปัญหาและลบจุดอ่อนของสินค้าได้ เช่น การปรับสูตรทางเคมี การปรับปรุงส่วนผสม การปรับแต่งกลิ่นและสี การสกัด การอบลมร้อน การอบแห้ง การพ่นฝอย การระเหย เทคโนโลยีฟรีซดราย (Freeze Dry) การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตต่างๆ เป็นต้น

7. ผลิตอย่างมี มาตรฐาน (Production)

101

กระบวนการผลิต รวมถึงเครื่องจักรในการผลิต ต้องมีความสะอาด ปราศจากสารพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จะต้องได้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานการผลิตต่างๆ อาทิ อย. ฮาลาล มอก. ISO GMP HACCP เป็นต้น เพราะสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

8. ใส่ใจบรรจุภัณฑ์ (Package)

97

บรรจุภัณฑ์ที่ดีควรมีคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. ต้องสามารถป้องกันและรักษาคุณภาพของสินค้า อาทิ ความชื้น ความร้อน ฝุ่นละออง และการปนเปื้อนต่างๆ

2. ต้องส่งเสริมการขาย การออกแบบและโทนสีต้องบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของสินค้า สามารถสื่อสารกับผู้บริโภค ถึงคุณประโยชน์ของสินค้า มีเอกลักษณ์พิเศษที่ดึงดูด สร้างการจดจำ แสดงออกถึงความน่าเชื่อถือของสินค้าและอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

9. รักษาอัตลักษณ์สินค้า (Identity)

99

การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะต้องสื่อถึงอัตลักษณ์ของสินค้า ตราสินค้า (Brand) และเอกลักษณ์ของสินค้า ซึ่งจะต้องสามารถสื่อถึงตัวตน

และประโยชน์ใช้สอยของสินค้าได้อย่างชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน อีกทั้งสามารถสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคจดจำและเข้าใจ ในสิ่งที่ผู้ประกอบการตั้งใจจะสื่อไปถึงผู้บริโภคได้

10. ระมัดระวังต้นทุน (Cost)

100

การพิจารณาข้อมูลด้านต้นทุนในการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่งไปจนสิ้นสุดกระบวนการผลิต เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องคำนึงถึงควบคู่ไปกับการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

ไม่ว่าจะเป็น การใช้วัตถุดิบ ปริมาณแรงงาน จำนวนเครื่องจักร พลังงานที่ใช้ ของเสียจากกระบวนการผลิต ฯลฯ เพราะการควบคุมต้นทุนที่ผิดพลาดจะนำไปสู่การตั้งราคาที่สูงเกินความเหมาะสม และทำให้ไม่สามารถสร้างยอดขายได้อย่างที่คาดการณ์

ทั้งหมดเป็น 10 ข้อที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จำเป็นต้องรู้ หากต้องการที่จะอยู่รอดในสนามธุรกิจ ที่มีคู่แข่งขันทั้งรายเล็ก รายใหญ่อยู่มากมาย การสร้างความแตกต่าง และรู้จักพัฒนาสินค้าหรือบริการให้โดนใจผู้บริโภค จะช่วยคุณได้ครับ


Tips

  1. ค้นหาความต้องการ (Needs)
  2. เน้นการต่อยอด (Development)
  3. เติมความคิดสร้างสรรค์ (Creative)
  4. เลือกใช้วัตถุดิบ (Material)
  5. ใส่คุณประโยชน์ (Benefit)
  6. พัฒนาด้วยเทคโนโลยี (Technology)
  7. ผลิตอย่างมี มาตรฐาน (Production)
  8. ใส่ใจบรรจุภัณฑ์ (Package)
  9. รักษาอัตลักษณ์สินค้า (Identity)
  10. ระมัดระวังต้นทุน (Cost)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช