10 ข้อคิดจากความสำเร็จของ ธนินท์ เจียรวนนท์

เมื่อเอ่ยชื่อ “ ธนินท์ เจียรวนนท์ ” เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมีฐานะเป็นประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์ และยังเป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 2 ของประเทศไทย โดยการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บ ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2016 โดยมีทรัพย์สิน จำนวน 6,800 ล้านดอลลาร์ ซึ่งติดอันดับที่ 81 ของโลก

ปัจจุบันเครือ ซี.พี. ทำธุรกิจหลายอย่าง ครบวงจร อาจเรียกได้ว่ากำลังจะกินรวบประเทศไทยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการเกษตรครบวงจร ธุรกิจอาหาร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการศึกษา ธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สินค้าของเครือซี.พี.เกือบทุกอย่าง ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทย

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้มีข้อคิด แนวความคิดจากความสำเร็จ และการทำงานของเจ้าสัวซี.พี.ที่สามารถนำพาเครือธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ยืนหยัดอยู่แนวหน้าของธุรกิจระดับโลก

jj7

1.คิดใหญ่ ทำใหญ่

คุณธนินท์ มักตอกย้ำกับผู้บริหารและพนักงานอยู่เสมอว่า “ตลาดโลก วัตถุดิบทั่วโลก คนเก่งของโลก การเงินทั่วโลกล้วนเป็นของซี.พี.” นั่นแสดงให้เห็นว่าเขาได้มีวิสันทัศน์ที่กว้างไกล คิดใหญ่ ทำใหญ่

และก็ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จเหมือนที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ คือ คิดจะทำแล้ว ต้องทำให้สำเร็จ ปัจจุบันธุรกิจเครือซี.พี.ได้ขยายการลงทุนในหลายประเทศทั่วโลก สร้างชื่อเสียง และนำเงินเข้ามาสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศเป็นจำนวนมาก

2.มุ่งโฟกัสไปที่ความสำเร็จของธุรกิจ

คุณธนินท์ มองว่าไม่ว่าจะทำธุรกิจใดๆ แล้ว เขามักให้ความสำคัญในเรื่องของการทำงานเป็นหลัก ไม่ได้คิดเรื่องผลกำไร ว่าทำธุรกิจนี้แล้วจะต้องได้กำไรมากน้อยเท่าไหร่

เจ้าสัวซี.พี.คิดแต่เพียงว่าทำธุรกิจนั้นแล้ว จะมีโอกาสประสบความสำเร็จหรือไม่ พูดง่ายๆ ว่า อย่าไปโฟกัสที่เงิน ผลกำไร ให้โฟกัสไปที่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จของธุรกิจนั่นเอง

ธนินท์ เจียรวนนท์

ภาพจาก https://goo.gl/JnhUCf

3.ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก

เจ้าสัวซี.พี. มองว่าหากจะทำธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจนั้นจะต้องไปเกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก คือ คนต้องกิน ต้องใช้ ขาดไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ ธุรกิจจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อยๆ จะถือว่าธุรกิจนั้นเล็ก

แม้ว่าธุรกิจจะเกี่ยวข้องกับประเทศก็ยังถือว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ใหญ่มากนัก ถ้าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่จะต้องเกี่ยวข้องกับทั่วโลก สินค้าต้องขายได้ทั่วโลก จึงจะมีโอกาสใหญ่ และเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนได้ทั่วโลก ธุรกิจนี้ถึงจะมีโอกาสใหญ่นั่นเอง

4.เน้นสร้าง “คน” เพื่อรองรับการเติบโต

กุญแจสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของเครือซี.พี.ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ “คน” เจ้าสัวซี.พีใ ให้ความสำคัญกับการสร้างคน และมีนโยบายให้ผู้นำกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในเครือซี.พี.เร่งดำเนินการสร้างและพัฒนาคนเก่ง เพื่อรองรับการเติบโตบนเวทีการค้าโลก เพราะถ้าไม่มีคนเก่ง ซี.พี.ก็ไม่สามารถชนะในตลาดโลกได้

ดังนั้น ใครก็ตามที่จะก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงของซี.พี. จะต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ในการสร้างคน โดยหนึ่งในวัฒนธรรมของซี.พี.ที่สำคัญ ก็คือ ต้องโปรโมทผู้ใต้บังคับบัญชาที่เก่งกว่าตัวเองขึ้นมา

อย่างเช่นที่ ธนินท์เคยได้รับโอกาสนั้นจากพี่ชายทั้งสอง คือ จรัญ และ มนตรี เจียรวนนท์ เพราะผู้บริหารที่ดีจะต้องสร้างตัวแทนขึ้นมาให้ได้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง ต้องรู้จักแสวงหาคนเก่งมาทดแทน ต้องเปิดโอกาสให้คนเก่งได้แสดงความสามารถ

mm4

ภาพจาก https://goo.gl/LWZF8D

5.รักษาคู่แข่ง

ในโลกของธุรกิจ “ธนินท์” จะพยามยามแข่งขันกันให้อยู่ในขอบเขต จะไม่แข่งขันจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนต้องพังไปข่างหนึ่ง ถ้าคุณมีความสามารถก็ไปหาธุรกิจอื่นทำได้ ไม่ต้องมาแย่งข้าวชามเดียวกัน สุดท้ายก็ไม่มีใครอิ่มสักคน แล้วก็ไม่มีประสิทธิภาพด้วย ธุรกิจเครือซี.พี.จะไม่ทำลายคู่แข่ง

แต่จะแบ่งตลาดให้ เพื่อให้คู่แข่งอยู่รอดในตลาดได้ อีกทั้งถ้าทำลายคู่แข่งไป บางทีมีอาจมีคู่แข่งรายอื่นที่แข็งแกร่งกว่าคุณเกิดขึ้นแทนที่ก็ได้

6.ไม่เอาเปรียบลูกค้า ดูแลสังคม

เจ้าสัวซี.พี. ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของลูกค้าที่จะได้รับเป็นหลัก รวมไปถึงคู่ค้าและซัพพลายเออร์ต่างๆ ด้วย พวกเขาเหล่านี้จะต้องดำรงอยู่ได้อย่างแข็งแกร่ง มั่นคง เติบโตไปด้วยกัน

ที่สำคัญการทำธุรกิจต้องไม่เอาเปรียบลูกค้า และแบ่งปันเพื่อดูแลสังคมรอบข้าง มีการจ้างแรงงาน เพราะธุรกิจซี.พี.เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ถ้าสังคมอยู่ไม่ได้ ซี.พี.ก็อยู่ไม่ได้

mm5

ภาพจาก https://goo.gl/oHom6S

7.มองคนอื่นเก่งกว่าตัวเองเสมอ

ต้องมองคนอื่นว่าเก่งกว่าเสมอและต้องไม่มองใครว่าเก่งสู้ตัวเองไม่ได้ ผู้ประกอบการต้องรู้จักเปิดโอกาสและให้โอกาสลูกน้องได้แสดงความสามารถ

เมื่อใครแสดงความสามารถออกมาได้ดี ก็จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เขามีตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีก และจะต้องพยายามรักษาเขาให้อยู่กับบริษัทนานที่สุด อีกทั้งยังต้องสร้างคนที่มีความสามารถให้เกิดเพิ่มขึ้น

8.ดึงคนเก่งข้างนอกเข้ามาร่วมทำงาน

เจ้าสัวซี.พี. มองว่า ธุรกิจจะมั่นคงต้องรู้จักจ้างผู้บริหารจากข้างนอกมาร่วมทำงานกับคนในครอบครัว แม้ว่าคนเก่งเหล่านั้นจะไม่ใช่ญาติ แต่ถ้าสามารถเข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กร ก็มีสิทธิเป็นใหญ่ได้เสมอตามระบบอาวุโส

mm7

ภาพจาก https://goo.gl/vva4y2

9.เคารพผู้บังคับบัญชาและให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา

ถ้าคนไหนเก่งแล้ว ไม่รู้จักเคารพผู้บังคับบัญชาที่ใหญ่ หรือมองข้ามผู้ใต้บังครับบัญชา คนอย่างนี้ไม่เก่งจริง ถ้าเก่งจริงแต่ไม่ใหญ่ เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาไม่พอใจ ผู้บังคับบัญชาก็ไม่พอใจ แล้วจะใหญ่ได้อย่างไร ถึงจะเก่งก็ไม่มีประโยชน์

10.ศึกษาดูงาน ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อความก้าวหน้า

ผู้นำของเครือเจริญโภคภัณฑ์ต้องไปดูงาน ไปศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ก้าวทัน ไม่ให้ล้าสมัย เงินที่ใช้กับเรื่องนี้สำคัญมากยิ่งกว่าการลงทุน ถ้าคนของเราความรู้ไม่ทันสมัยแล้ว จะไปค้าขายอย่างไร เพราะโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณธนินท์ให้ความสำคัญกับเรื่องไปดูงานต่างประเทศ งบประมาณซีพีให้เต็มที่ และต้องไปหลายคน

เพราะแม้คนไปดูงานจะนำมาพูดอย่างไร คนอื่นก็ไม่เข้าใจ ดังนั้นต้องให้ไปดูเอง และเมื่อต้องไปศึกษาดูงานไม่ใช่ประธานไปดูหรือผู้จัดการใหญ่ไปดูเท่านั้น ต้องให้ระดับรองลงไปอีกขั้นหรือสองขั้นไปศึกษาดูงานด้วย เช่น ถ้าไปศึกษาดูงาน คุณมีอายุ 50 ปีไปแล้ว ก็ต้องให้คนที่อายุ 40 ปี และอายุ 30 ปี ไปด้วย อย่างน้อยต้องมี 3 ระดับไปศึกษาดูงานด้วย

ได้เห็นข้อคิดจากความสำเร็จของ “ธนินท์ เธียรวรนนท์” เจ้าสัว ซีพี.ในทุกแง่มุมไปแล้ว หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ นักธุรกิจรุ่นใหม่ ในการนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับธุรกิจและกับตนเองครับ

คำคม ข้อคิดจาก ธนินท์ เจียรวนนท์ : https://goo.gl/zgg29q

สำหรับคำคม ข้อคิด สร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจ ของคนเด่น คนดังระดับโลกมากมาย เข้าดูได้ที่ https://goo.gl/Z844ne

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช