ไอศกรีม “กูลิโกะ” มีรายได้เท่าไหร่

เชื่อว่าหลายคนคงจำได้ เมื่อช่วงต้นปี 2559 มีปรากฏการณ์ตามหาไอศกรีม “กูลิโกะ” เกิดขึ้น เพราะบริษัทผู้ขายไม่วางขาย หรือเปิดตัวพร้อมกันทั่วประเทศ วางขายในบางพื้นที่ ร้านสะดวกซื้อก็ไม่ได้วางขายทุกแบรนด์ด้วย ถ้าจำได้มีเพียง Family Mart เป็นบางสาขาเท่านั้น เหมือนกับว่าไอศกรีม “กูลิโกะ” กำลังทดลองตลาด ต้องการจับกระแสผู้บริโภคว่าคิดยังไง 

จริงๆ แล้วเป็นอีกหนึ่ง Gimmick ทางการตลาดของกูลิโกะเท่านั้น โดยการใช้ความเป็นของใหม่ ของแปลก ที่มีขายในต่างประเทศ และมีคนแชร์ต่อ พอมีวางขายในเมืองไทย ก็เลยไม่ต้องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะผู้บริโภคเป็นผู้โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้พร้อมแบบเสร็จสรรพ เรียกว่าโด่งดัง ขายเกลี้ยงตู้เพียงแค่ 10 นาทีแรก

แล้วคุณผู้อ่านก็อาจจะคิดว่า เมื่อไอศกรีมกูลิโกะขายดีขนาดนั้น ทำไมไม่ค่อยมีสินค้า วางขายก็ไม่ทั่วถึง ตรงนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอเล่าให้ให้คุณผู้อ่านได้ฟัง เพื่อเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

กูลิโกะ

จากปรากฏการณ์ขายไอศกรีมกูลิโกะจนเกลี้ยงตู้ในเวลาเพียงแค่ 10 นาทีแรก จนเกิดภาวะ “ขาดตลาด” ร่วม 6-7 เดือน ทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า นี่คือ ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดหรือไม่ คำตอบคือ (ใช่ และไม่ใช่) ครับ

“คิโยทะคะ ชิมะโมริ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กูลิโกะ โฟรเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด ออกมายืนยันในงานแถลงข่าวล่าสุด “บริษัทฯ เตรียมกำลังการผลิตไม่เพียงพอ และขอโทษด้วยที่ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน เนื่องจากบริษัทไม่คาดคิดว่ากูลิโกะจะฮิตขนาดนี้” นี่เป็นคำยืนยันของผู้บริหารแบรนด์ไอศกรีมกูลิโกะในเมืองไทย

ไอศกรีม “กูลิโกะ” มาจากไหน

6265955656

ไอศกรีมกูลิโกะเป็นสินค้าในเครือเดียวกันกับ “กูลิโกะ ป๊อกกี้” ที่เราคุ้นเคยนั่นแหละ เพราะอยู่ในเมืองไทยมายาวนานถึง 46 ปี โดยบริษัท เอซากิ กูลิโกะ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในญี่ปุ่น ได้ใช้งบประมาณกว่า 300 ล้านบาท

เปิดตัวบริษัทลูกอย่าง กูลิโกะ โฟรเซ่น (ประเทศไทย) ในปี 2558 เพื่อทำการผลิตและจำหน่ายไอศกรีมในประเทศไทย โดยเบื้องต้นจ้างคนอื่นผลิตให้ก่อน โดยใช้สูตร กระบวน และขั้นตอนผลิตจากญี่ปุ่น

ผู้รับจ้างงผลิตและกระจายสินค้าไอศกรีม “กูลิโกะ” ในตอนนั้นและตอนนี้ คือ บริษัท จอมธนา จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญธุรกิจไอศกรีมและอาหารแช่แข็ง เป็นบริษัทที่ผลิตและสร้างแบรนด์ให้กับไอศกรีมชั้นนำในประเทศ ปัจจุบันบริษัทฯ และโรงงานผลิต ตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ 46000 ตารางเมตร

บริษัท จอมธนา มีศูนย์สำหรับกระจายสินค้าและจัดจำหน่าย 20 แห่ง ทั่วประเทศ โดยรถบรรทุกขนส่งสินค้ากว่า 200 คัน สามาส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ จอมธนายังได้ทำงานร่วมกับผู้จัดจำหน่ายในต่างประเทศเพื่อส่งออกไอศกรีมไปทั่วโลก ปัจจุบันส่งออกไอศกรีมไปแล้วกว่า 15 ประเทศใน 4 ทวีป

6259556563232325656

เริ่มแรกสินค้าไอศกรีมกูลิโกะมีวางจำหน่ายในตู้ตามร้านค้า 4 ยี่ห้อ 8 รสชาติ ได้แก่ พาลิตเต้ (Palitte), ไจแอนท์ โคน (Giant Cone), พาแนปป์ (Panapp) และ เซเว่นทีน ไอซ์ (Seventeen Ice) ราคาตั้งแต่ 20 – 35 บาท ซึ่งถือเป็นราคากลางๆ ที่ไม่ค่อยมีในตลาด รสชาติอร่อย หวานไม่มาก กำลังพอดีๆ

ปัจจุบันไอศกรีมกูลิโกะได้มีการออกสินค้าใหม่ “ซีรีส์ช็อกโกแลต” 3 รสชาติ ทั้งไจแอนท์ โคน คราวน์, เซเว่นทีน ไอซ์ คราวน์ และพาแนปป์ เพิ่มพอร์ตโฟลิโอสินค้าให้หลากหลายเดิมจาก 12 รายการ (SKU) เพื่อต้องไล่ตามคู่แข่งในตลาด ที่มีสินค้าหลากหลายมาก โดยราคาสินค้ายังอยู่ที่ 20-35 บาทเป็นหลัก

662120

อยากรู้มั๊ย ไอศกรีม “กูลิโกะ” มีรายได้เท่าไหร่

กูลิโกะ โฟรเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด (ขายส่งผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกูลิโกะ)

  • ปี 2558 มีรายได้รวม 766,925.26 บาท ขาดทุน 16,072,731.92 บาท
  • ปี 2559 มีรายได้รวม 260,801,085 บาท ขาดทุน 72,819,385 บาท (รายได้เพิ่มขึ้น 33,906.06%)

สาเหตุที่ทำให้ไอศกรีม “กูลิโกะ” ยังขาดทุนอยู่ เพราะอยู่ในช่วงการทำตลาด

บริษัท จอมธนา จำกัด (ผลิตและจำหน่ายไอศกรีมชนิดต่างๆ ทั้งในประเทศและส่งออก บริการรับฝากห้องเย็นและรถขนส่งห้องเย็น) เป็นบริษัทร่วมทุน ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

  • ปี 2555 มีรายได้รวม 545,509,035 บาท กำไร 55,130,114 บาท
  • ปี 2556 มีรายได้รวม 979,412,285 บาท กำไร 21,851,410 บาท
  • ปี 2557 มีรายได้รวม 1,030,252,124 บาท กำไร 6,223,637 บาท
  • ปี 2558 มีรายได้รวม 1,001,914,187 บาท กำไร 6,070,238 บาท
  • ปี 2559 มีรายได้รวม 1,178,731,964 บาท กำไร 60,002,381 บาท

กลยุทธ์ต่อไปของไอศกรีม “กูลิโกะ” เป็นอย่างไร

32556400

ว่ากันว่า กูลิโกะจะเพิ่มการผลิตไอศกรีมถึง 3 เท่าตัวจากวันแรกที่เปิดขาย และจัดทัพกระจายสินค้าให้ทั่วทั้งประเทศไทยภายในปี 2561 โดยทั้ง 2 ยุทธศาสตร์ ยังอาศัยพันธมิตรอย่าง “จอมธนา” มาช่วยแบบเบ็ดเสร็จ

ขณะนี้กูลิโกะมีการกระจายสู่พื้นที่ต่างจังหวัดอื่นๆ มากขึ้นรวมเป็น 30 จังหวัดแล้ว และต้องการให้ทั่วประเทศไทยเร็วสุดในปี 2561 ปัจจุบันมีตู้แช่ไอศกรีมของกูลิโกะประมาณ 7,000 ตู้ ในช่องทางโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าทั่วไป

258955656

ที่น่าจับตาคือ ไอศกรีมกูลิโกะ ประกาศทุ่มงบตลาดกว่า 2 เท่า ทำหนังโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ และสื่อนอกบ้านควบคู่กับออนไลน์ จากเดิมแรกๆ ใช้การทำตลาดเพียงออนไลน์อย่างเดียว

อีก Gimmick ที่จะเป็นหมัดเด็ด “จุดกระแส” ให้กูลิโกะกลับมาฟีเวอร์อีกครั้ง อยู่ที่การนำเข้าตู้หยอดเหรียญกดไอศกรีมอัตโนมัติ ที่ส่งตรงจากประเทศญี่ปุ่นถึงเมืองไทยจำนวน 2 ตู้ ทยอยวาง 4 จุด ในห้างฯ

ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์ บริเวณทางเชื่อมบีทีเอสสยาม ชั้น G หน้าอิเกีย เมกา บางนา สยามพารากอน ซีนีเพล็กซ์ และชั้น 6 โซนพลาซ่า และปิดท้ายที่เซ็นทรัลเวิลด์ ภายในระยะเวลา 2 เดือน ไม่พอแค่นี้ กูลิโกะยังดึง “บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรก เพื่อเป็น “แรงดึงดูด” ให้กับกลุ่มเวัยรุ่น วัยทำงานซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์

26565323232

คุณผู้อ่านอาจอยากถามว่าทำไม ไอศกรีม “กูลิโกะ” กลับมาภาคใหม่ ต้องลงทุนมากขนาดนี้ ก็เพราะปัจจุบันตลาดไอศกรีมในเมืองไทยมีมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท ในตอนนี้ กูลิโกะเป็นแบรนด์ไอศกรีมน้องใหม่ อยู่ในอันดับ 4 ของตลาด แต่เป้าหมายของไอศกรีมกูลิโกะ คือ เป็นที่ 3 ในตลาดขยับใกล้คู่แข่งสำคัญอย่าง วอลล์และเนสท์เล่

เรื่องนี้ทำให้รู้ว่า ไม่ว่าคุณจะมีชื่อเสียงโด่งดัง มีคนพูดถึง มีกระแสโด่งดังในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อีกสักระยะหนึ่ง ชื่อเสียงนั้นก็จะเงียบจางหายไป เช่นเดียวกับ ไอศกรีมกูลิโกะ พอรู้ว่าตัวเองกระแสแผ่วลงไป คนไม่ค่อยพูดถึงเหมือนตอนแรกที่วางขายไอศกรีมกูลิโกะใหม่ๆ เพราะคนเคยกินแล้ว หาซื้อได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อน

26562332

สุดท้ายก็ต้องลุกขึ้นมาสร้างกระแสอีกครั้ง ทำให้ผู้บริโภคได้เห็น ได้พูดถึงอีกครั้ง ทุ่มงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ รวมถึงดึงดารามาเป็นพรีเซ็นเตอร์หวังจุดกระแสฟีเวอร์ขึ้นมาอีกครั้ง ก็เหมือนดาราดังๆ พอไม่มีงาน ไม่มีเงิน แต่อยากดัง อยากมีงานอีกครั้ง ก็ต้องสร้างกระแสให้คนรู้จัก สร้างกระแสให้คนพูดถึง สุดท้ายก็…ขายได้ครับ

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

ขอบคุณรูปภาพจาก www.facebook.com/glicoiceTH, www.glico.com/iceth

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช