ไอศกรีมกูลิโกะ หายไปไหน

เชื่อว่าหลายคนคงจำได้ เมื่อช่วงต้นปี 2559 มีปรากฏการณ์ตามหาไอศกรีม “กูลิโกะ” เกิดขึ้น เพราะบริษัทผู้ขายไม่วางขาย หรือเปิดตัวพร้อมกันทั่วประเทศ วางขายในบางพื้นที่

ร้านสะดวกซื้อก็ไม่ได้วางขายทุกแบรนด์ด้วย ถ้าจำได้มีเพียง Family Mart เป็นบางสาขาเท่านั้น เหมือนกับว่าไอศกรีม “กูลิโกะ” กำลังทดลองตลาด ต้องการจับกระแสผู้บริโภคว่าคิดยังไง

จริงๆ แล้วเป็นอีกหนึ่ง Gimmick ทางการตลาดของกูลิโกะเท่านั้น โดยการใช้ความเป็นของใหม่ ของแปลก ที่มีขายในต่างประเทศ และมีคนแชร์ต่อ พอมีวางขายในเมืองไทย ก็เลยไม่ต้องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะผู้บริโภคเป็นผู้โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้พร้อมแบบเสร็จสรรพ เรียกว่าโด่งดัง ขายเกลี้ยงตู้เพียงแค่ 10 นาทีแรก

14

ภาพจาก bit.ly/2WLrSvy

แล้วไอศกรีมกูลิโกะ ในตอนนี้ยังได้รับความนิยมอยู่ไหม หรือหายไปไหนแล้ว www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

จากปรากฏการณ์ขายไอศกรีมกูลิโกะจนเกลี้ยงตู้ในเวลาเพียงแค่ 10 นาทีแรก จนเกิดภาวะ “ขาดตลาด” ร่วม 6-7 เดือน ทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า นี่คือ ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดหรือไม่ คำตอบคือ (ใช่ และไม่ใช่) ครับ เพราะบริษัทฯ เตรียมกำลังการผลิตไม่เพียงพอ ไม่คาดคิดว่าจะได้รับความนิยมมากขนาดนี้

13

ภาพจาก facebook.com/glicoiceTH/

ช่วงแรกๆ สินค้าไอศกรีมกูลิโกะมีวางจำหน่ายในตู้ตามร้านค้า 4 ยี่ห้อ 8 รสชาติ ได้แก่ พาลิตเต้ (Palitte), ไจแอนท์ โคน (Giant Cone), พาแนปป์ (Panapp) และ เซเว่นทีน ไอซ์ (Seventeen Ice) ราคาตั้งแต่ 20 – 35 บาท ซึ่งถือเป็นราคากลางๆ ที่ไม่ค่อยมีในตลาด รสชาติอร่อย หวานไม่มาก กำลังพอดีๆ ต่อมาไอศกรีมกูลิโกะได้มีการออกสินค้าใหม่ “ซีรีส์ช็อกโกแลต” 3 รสชาติ

ทั้งไจแอนท์ โคน คราวน์, เซเว่นทีน ไอซ์ คราวน์ และพาแนปป์ เพิ่มพอร์ตโฟลิโอสินค้าให้หลากหลายเดิมจาก 12 รายการ (SKU) เพื่อต้องไล่ตามคู่แข่งในตลาด ที่มีสินค้าหลากหลายมาก โดยราคาสินค้ายังอยู่ที่ 20-35 บาทเป็นหลัก

12

ภาพจาก facebook.com/glicoiceTH/

หลังจากนั้นไอศกรีมกูลิโกะ ประกาศทุ่มงบตลาดกว่า 2 เท่า ทำหนังโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ และสื่อนอกบ้านควบคู่กับออนไลน์ จากเดิมแรกๆ ใช้การทำตลาดเพียงออนไลน์อย่างเดียว อีก Gimmick ที่จะเป็นหมัดเด็ด “จุดกระแส” ให้กูลิโกะกลับมาฟีเวอร์อีกครั้ง อยู่ที่การนำเข้าตู้หยอดเหรียญกดไอศกรีมอัตโนมัติ ที่ส่งตรงจากประเทศญี่ปุ่นถึงเมืองไทยจำนวน 2 ตู้ ทยอยวาง 4 จุด ในห้างฯ

ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์ บริเวณทางเชื่อมบีทีเอสสยาม ชั้น G หน้าอิเกีย เมกา บางนา สยามพารากอน ซีนีเพล็กซ์ และชั้น 6 โซนพลาซ่า และปิดท้ายที่เซ็นทรัลเวิลด์ ภายในระยะเวลา 2 เดือน ไม่พอแค่นี้ กูลิโกะยังดึง “บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรก เพื่อเป็น “แรงดึงดูด” ให้กับกลุ่มเวัยรุ่น วัยทำงานซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์

11

ภาพจาก facebook.com/glicoiceTH/

คุณผู้อ่านอาจอยากถามว่าทำไม ไอศกรีม “กูลิโกะ” กลับมาภาคใหม่ ต้องลงทุนมากขนาดนี้ ก็เพราะปัจจุบันตลาดไอศกรีมในเมืองไทยมีมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท

ในตอนนั้น กูลิโกะเป็นแบรนด์ไอศกรีมน้องใหม่ อยู่ในอันดับ 4 ของตลาด แต่เป้าหมายของไอศกรีมกูลิโกะ คือ เป็นที่ 3 ในตลาดขยับใกล้คู่แข่งสำคัญอย่าง วอลล์และเนสท์เล่

ไอศกรีมกูลิโกะ หายไปไหน?

10

ภาพจาก facebook.com/glicoiceTH/

หลายคนอาจคิดว่า ไอศกรีมกูลิโกะไม่มีขายแล้วในตลาดเมืองไทย ซึ่งจริงๆ แล้วไอศกรีมกูลิโกะยังมีจำหน่ายตามปกติในร้านค้าและร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ ไม่เพียงแต่ขายใน Family Mart เท่านั้น ยังขายใน 7-Eleven และร้านค้าทั่วไปบางพื้นที่

แต่ที่เรารู้สึกว่าไอศกรีมกูลิโกะหายไปนั้น เนื่องจากไอศกรีมก็เป็นเหมือนสินค้าทั่วไป มาแรกๆ จะกระแสจะมาแรง พอสักพักก็เงียบหายไป แต่ก็ยังขายได้เรื่อยๆ ในกลุ่มคนรักไอศกรีม เหมือนเช่นวอลล์ และเนสท์เล่ ที่ยังขายได้ต่อเนื่อง

บริษัท กูลิโกะ โฟรเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด มีรายได้เท่าไหร่?

9

ภาพจาก facebook.com/glicoiceTH/

  • ปี 2559 มีรายได้รวม 260,801,085 บาท ขาดทุน 72,819,385 บาท (รายได้เพิ่มขึ้น 33,906.06%)
  • ปี 2560 มีรายได้รวม 221,316,807 บาท ขาดทุน 213,248,795 บาท
  • ปี 2561 มีรายได้รวม 273,777,845 บาท ขาดทุน 214,809,930 บาท
  • ปี 2562 มีรายได้รวม 261,813,227 บาท ขาดทุน 201,593,180 บาท

เรื่องราวของไอศกรีมกูลิโกะทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ไม่ว่าคุณจะมีชื่อเสียงโด่งดัง มีคนพูดถึง มีกระแสโด่งดังในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อีกสักระยะหนึ่ง ชื่อเสียงนั้นก็จะเงียบจางหายไป เช่นเดียวกับ ไอศกรีมกูลิโกะ พอรู้ว่าตัวเองกระแสแผ่วลงไป คนไม่ค่อยพูดถึงเหมือนตอนแรกที่วางขายไอศกรีมกูลิโกะใหม่ๆ เพราะคนเคยกินแล้ว หาซื้อได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อน

สุดท้ายก็ต้องลุกขึ้นมาสร้างกระแสอีกครั้ง ทำให้ผู้บริโภคได้เห็น ได้พูดถึงอีกครั้ง ทุ่มงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ รวมถึงดึงดารามาเป็นพรีเซ็นเตอร์หวังจุดกระแสฟีเวอร์ขึ้นมาอีกครั้ง แต่สุดท้ายกลับไม่เป็นเหมือนที่คิดเอาไว้ เพราะการแข่งขันมีสูง ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย และไอศกรีมก็ไม่มีใครกินได้ทุกวัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูลจาก https://bit.ly/3nUM76c , https://www.glico.com/iceth/company/

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3aL1Q3V

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช