ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป! ถึงเวลาธุรกิจออกจาก Comfort Zone ก่อนจะสาย

หลายคนคงเห็นข่าวตามสื่อมากมาย กรณีห้างค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาต่างทยอยแจ้งล้มละลายและปิดสาขาจำนวนมาก นับว่าเป็นประวัติศาสตร์วงการค้าปลีกโลก แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ทำพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน

แล้วในวันนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ธุรกิจต่างๆ รวมถึงมนุษย์อย่างเราๆ จะเดินออกจาก COMFORT ZONE ดินแดนที่มีแต่ความพ่ายแพ้ และก้าวเข้าสู่ SUCCESS ZONE อย่างผู้ชนะ!!

แม้ว่าทุกคนย่อมรักตัวเองด้วยกันทั้งนั้น และคงไม่ยอมทำอะไรที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตประจำวัน ทำให้คนจำนวนไม่น้อยรวมถึงธุรกิจต่างๆ เลือกที่จะอยู่ใน Comfort Zone หรือพื้นที่ปลอดภัย ยอมปิดหูปิดตาตัวเอง ไม่ให้กล้าออกไปเผชิญกับความจริง

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ยิ่งธุรกิจอยู่ใน Comfort Zone นานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งห่างไกลความสำเร็จ ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจจะเดินออกมาจากดินแดนที่มีแต่ความพ่ายแพ้นี้ และก้าวเข้าสู่ Success Zone ดินแดนของผู้ชนะ ออกมาเปิดหูเปิดตา ทำสิ่งใหม่ๆ

ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป

ภาพจาก bit.ly/2o5ZfLV

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าหากธุรกิจไม่ออกจากโซนที่ปลอดภัยของธุรกิจ Comfort zone เพื่อเปลี่ยนแปลง และพร้อมปรับตัวรับความความท้าทายใหม่ๆ ด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งกับธุรกิจของตนเอง ก่อนที่จะสายเกินไป และทำให้ธุรกิจล่มสลายไปในที่สุด เพราะโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ผู้บริโภคมีเพาเวอร์ชี้ชะตาของธุรกิจต่างๆ ได้

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพียงช่วงข้ามคืน แต่หากไม่เริ่ม หรือเริ่มช้ากว่าย่อมหมายถึงโอกาสที่จะปรับกลยุทธ์ได้ทันต่อการตลาดยุคใหม่ก็ช้าไปด้วยเช่นกัน แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นการตื่นตัวในธุรกิจต่างๆในไทยมากขึ้น และมีการลงทุนทางเทคโนโลยีกันมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

อย่ายึดติดกับความสำเร็จในอดีต

เหมือนกับกรณีที่เกิดขึ้นกับ โกดัก ที่แทบหายไปจากตลาด อันเนื่องมาจากการยึดติดกับความสำเร็จในอดีต ไม่พัฒนาตนเอง แม้โกดักจะทุ่มงบในการพัฒนากล้องดิจิทัล และมีการเข้าซื้อเว็บไซต์สำหรับแชร์ภาพถ่าย ที่ชื่อ Ofoto ไปเมื่อปี 2001 ถือเป็นยุคก่อนที่จะเกิด Facebook แต่โกดักไม่มองการณ์ไกลว่า จะมียุคที่โทรศัพท์กลายเป็นมากกว่าอุปกรณ์โทรเข้าหรือโทรออก

หรือแม้แต่ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา ที่ประกาศปิดสาขาจำนวนมหาศาลเป็นประวัติการณ์ เพราะการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ผู้บริโภคหันไปสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ทางออนไลน์ อีกทั้งค้าปลีกต่างๆ ไม่พัฒนาตัวเองนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้

14

ภาพจาก bit.ly/2pv02Gv

ล่าสุด Forever 21 เหยื่ออีกรายได้ยื่นขอล้มละลาย เตรียมปิด 300 – 350 สาขาซึ่งรวมถึง 178 สาขาในสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งเตรียมโบกมือลาตลาดเอเชียและยุโรป แต่พร้อมปักหลักทำตลาดในแม็กซิโกและละตินอเมริกาต่อเนื่อง

โดยนับจากที่ 2 ผู้ก่อตั้ง Forever 21 สัญชาติเกาหลีใต้อย่าง Do Won Chang และ Jin Sook Chang ลงทุนสร้างแบรนด์ Forever 21 จากชื่อเดิม Fashion 21 ในปี 1984 ด้วยเงินออม 11,000 เหรียญสหรัฐ

ภายใน 1 ปี Forever 21 มีรายได้ 700,000 เหรียญ และ 30 ปีต่อมา ทั้งคู่มีมูลค่าทรัพย์สินรวมกันเกือบ 6,000 ล้านเหรียญ แต่ทั้งหมดนี้กลับพังทลาย จน Forever 21 ต้องยื่นขอศาลล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 เพื่อหาทางดิ้นให้อยู่รอดต่อไป

13

ภาพจาก bit.ly/2pvCkdc

ภาวะล้มละลายของ Forever 21 ถูกวิเคราะห์ว่าเกิดขึ้นเพราะหลายเหตุผล 1 ในนั้นคือการแข่งขันสุดดุเดือดบนโลกออนไลน์ นอกเหนือจากคู่แข่งด้านแฟชั่นเช่น H&M และ Zara แล้ว Forever 21 ยังต้องเร่งสร้างความนิยมในวงการแฟชั่นด้วยราคาที่ไม่แพง พร้อมกับต้องดิ้นรนเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันในยุคที่วัยรุ่นหันมาซื้อเสื้อผ้าบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

อีกสิ่งที่ถือเป็นการบ้านท้าทาย Forever 21 คือการพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า จะสามารถสร้างสินค้าโดดเด่น เพื่อให้ Forever 21 อยู่รอดได้ต่อไป ที่ผ่านมา Forever 21 ถูกมองว่าเป็นสินค้าราคาประหยัดก็จริง แต่กลับเป็นสินค้าที่ไม่โดนใจคอแฟชั่น สวนทางกับพฤติกรรมของวัยรุ่นยุคนี้ ที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูงมากขึ้นแม้จะเป็นสินค้าราคาต่ำก็ตาม

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งที่ผ่านมา Forever 21 ไม่เคยชูประเด็นการรักษ์โลก แต่อยู่ในกลุ่มผู้ค้าแฟชั่นยุคเก่า ที่เป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ซึ่งมีบันทึกว่าการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 8% นั่นอาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้ Forever 21 ปิดสาขา

12

ภาพจาก bit.ly/2o8eKCZ

แม้ว่าในเมืองไทยุธุรกิจค้าปลีกต่างๆ จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ถ้าไม่ยอมพัฒนาตัวเองให้ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ อีกไม่กี่ปีข้างหน้าอาจต้องปิดตัวด้วยเช่นกัน เพราะตลาดอีคอมเมิร์ซในเมืองไทยเริ่มเติบโตต่อเนื่อง

เห็นได้ชัดเจนธุรกิจธนาคาร ก็จำเป็นต้องปิดสาขาจำนวนมาก ปรับลดพนักงานเพราเทคโนโลยี หรือสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ และนิตยสารก็ปิดตัว ปลดพนักงาน เพราะการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียต่างๆ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจต่างๆ จะต้องออกจาก COMFORT ZONE พื้นที่ที่จะไม่ปลอดภัยอีกต่อไปในวันข้างหน้า


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต