ไม่น่าเชื่อ!เหตุผลแค่ 2 ข้อ ใช้ไม่เป็นก็ทำให้ธุรกิจพังได้

ขึ้นชื่อว่าได้ลงทุนไปแล้วคงไม่มีใครอยากเห็นธุรกิจตัวเองล้มเหลวไม่เป็นท่า ด้วยเหตุนี้ก่อนที่จะ เปิดกิจการ ใดๆก็ตาม นักลงทุนจึงต้อง คิดวิเคราะห์ หาความแข็งแกร่งให้ตัวเองก่อนเปิดกิจการอย่างเต็มที่ด้วยเชื่อมั่นว่าหลังจากเริ่มกิจการจะสามารถยืนหยัดในเวทีแข่งขันได้อย่างดีถึงขั้นมีกำไรมหาศาลเพื่อต่อยอดการทำธุรกิจอื่นต่อไปในอนาคต

เพียงแต่ในโลกของความจริงอาจไม่ใช่สิ่งที่เราคาดคิดเสมอไป หลายกิจการพังครืนไม่เป็นท่าครั้นจะถามหาเหตุผลว่าเพราะอะไรก็มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เองไม่ได้อยากที่จะเห็นการลงทุนใดก็ตามต้องกลายเป็นสิ่งไร้ค่าจึงขอเสนอ 2 เหตุผลสำคัญที่ควรมีและต้องรู้จักใช้หากไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นการลงทุนที่คว้าน้ำเหลวทางธุรกิจ

2 ข้อที่เรากำลังพูดถึงนี้คือ “การค้นพบสิ่งใหม่” และ “ การแสวงหาผลประโยชน์ในสินค้านั้น” ฟังดูแล้วเป็นเรื่องเบสิคธรรมดาหลายคนเบนหน้าบอกว่าจะมาพูดเรื่องนี้ทำไมแต่สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็คือ มีแค่ 2% ของบริษัททั้งหมดในโลกนี้เท่านั้นที่สามารถทำนวัตกรรมไปพร้อมกับการแสวงหาประโยชน์ได้พร้อมๆกันอย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทเหล่านั้นจะต้องเสียสละเยอะมาก แต่ประโยชน์นั้นคุ้มค่าจริงๆ เช่นเนสเปรซโซ่ของเนสท์เล่ บริษัทเลโก้ที่เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์อนิเมชั่น โตโยต้าที่ออกสินค้าใหม่คือรถไฮบริด ยูนิลิเวอร์ที่เริ่มทำสินค้าที่ยั่งยืนมากขึ้น

ทั้งนี้CEO ของบริษัทชั้นนำจำนวนมากพูดในลักษณะที่คล้ายกันว่า “จะทำอย่างไรถึงจะทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพที่มากพอจะสร้างนวัตรกรรมใหม่ๆ และจะหาความมั่นใจได้อย่างไรว่านวัตรกรรมนั้นจะสอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”

ด้วยเหตุนี้สิ่งที่เหนือชั้นของผู้บริหารขั้นเทพถือต้องทำทั้งสองอย่างนี้ให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างสมดุลไม่ใช่มีเพียงข้อใดข้อหนึ่งซึ่งนั้นคืออันตรายที่ทำให้ธุรกิจคุณพังทลายได้ทันทีเช่นกัน ลองมาดูตัวอย่างกันสักหน่อย

คิดวิเคราะห์

ภาพจาก goo.gl/yOfCtO

1. Facit เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องคิดเลขเชิงกลที่ดีที่สุดในโลก

จากนั้นทุกคนก็ได้ใช้สินค้านี้ แต่พอถึงยุคที่เครื่องคิดเลขอิเลคทรอนิกส์เข้ามา บริษัทก็ยังคงผลิตเครื่องคิดเลขอยู่ ทำซ้ำๆไปเรื่อย อีก 6 เดือนต่อมา รายได้สุดสุดที่บริษัทเคยทำได้กลับหายไปพร้อมกับตัวบริษัทที่ตลกร้ายก็คือ

วิศวกรในบริษัทนี้ซื้อเครื่องคิดเลขอิเลคทรอนิกส์เล็กๆถูกๆจากญี่ปุ่นมาใช้ในบริษัทเพื่อตรวจความถูกต้องของตัวเลขจากเครื่องคิดเลขที่บริษัทตัวเองผลิตขึ้นด้วย นั้นแสดงให้ห็นว่า Facit มัวแต่แสวงหาผลประโยชน์มากเกินไป ทั้งๆที่บริษัทสามารถสำรวจหาทางทำอะไรใหม่ๆได้ดีกว่า

nm2

ภาพจาก goo.gl/ltqGu0

2.โอลิมเปียเจ้าพ่อเครื่องพิมพ์ดีดที่มีการใช้กันแพร่หลายทั่วโลก

และ ดูแนวโน้มของโอลิมเปียน่าจะเป็นธุรกิจที่ไปได้ดีแต่การก้าวพลาดครั้งยิ่งใหญ่คือไม่ยอมเปลี่ยนตัวเองไปตามกระแสโลกนำมาซึ่งบทสรุปอันน่าเจ็บปวดซึ่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงนั้นมีให้เห็นแต่สิ่งที่โอลิมเปียทำคือเมินเฉยด้วยความมั่นใจและมัวแต่ติดภาพลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ในอดีตของตัวเอง

ซึ่งไอสไตน์ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ Measured by the intelligence capable of adaptation. “ความฉลาดวัดได้จากความสามารถในการปรับตัว”
แล้วทำไมการสมดุลระหว่างสองสิ่งนี้มันถึงได้ยากเย็นนักก็เพราะว่ามันมีกับดักอยู่อีก 2 ประการคือกับดักทางความคิดและกับดักทางความสำเร็จที่สกัดกั้นให้เรื่องนี้ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

nm3

ภาพจาก goo.gl/MgV9Vc

1.กับดักทางความคิด

เวลาที่บริษัทค้นพบอะไรบางอย่าง แต่ไม่อดทนพอที่จะทำให้มันใช้งานได้จริง ฉะนั้นแทนที่จะพยายามอยู่กับมันและทำให้สิ่งที่ค้นพบใช้งานได้สำเร็จกลับหันไปสร้างอะไรใหม่ๆอีก พอเจอกับสิ่งใหม่อีกก็ทิ้งของเก่าไปอีก หมุนเวียนกันไปอย่างนี้จนไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ก็ทิ้งมันไปทำใหม่อีก

2.กับดักทางความสำเร็จ

นี่คือสิ่งที่กำอนาคตของธุรกิจไว้เราอาจจะทำสิ่งที่ชอบได้ดีจนไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงเหมือนกับโอลิมเปียที่พอใจอยู่กับสินค้าตัวเองเช่นพิมพ์ดีดและไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงให้ทันกระแสโลกทั้งที่เพียงต่อยอดอีกนิดหน่อยบริษัทก็น่าจะอยู่รอดและอาจเป็นเจ้าพ่อในวงการอุตสาหกรรมสมัยใหม่ก็เป็นได้

ซึ่งบิล เกตส์เคยกล่าวถึงเรื่องการยึดติดกับความสำเร็จเก่าๆที่เหมือนเป็นกับดักประเภทหนึ่งว่า “ความสำเร็จเป็นครูที่แย่สุดๆ เพราะมันจะทำให้คุณหลงคิดว่าคุณต้องไม่พลาดเลยสักเรื่อง”

ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่ควรหันกลับไปมองดูกิจการที่ลงทุนไปคือมีสิ่งใดที่เข้าค่ายเหล่านี้บ้างถ้าเริ่มมีให้หยุดทำ หรือพยายามเปลี่ยนแปลงตัวให้สามารถทำเงื่อนไขสำคัญทั้งสองอย่างได้อย่างสมดุล ทฤษฏีเหล่านี้มีคนสำเร็จและทำได้จริงไม่ใช่ทฤษฏีหรือแนวทางเลื่อนลอย อย่าละเลย อย่าคิดว่าไม่สำคัญเพราะมิฉะนั้นธุรกิจของคุณอาจพังไม่เป็นท่าได้เช่นกัน

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด