ไปเกาหลี! จะเลือกใช้บริการ “ ร้านสะดวกซื้อ แดนกิมจิ ” แบบไหนคือดีที่สุด!

วิถีชีวิตคนเกาหลีรุ่นใหม่ผูกผันกับร้านสะดวกซื้อพอๆกับร้านกาแฟ ไปที่ไหนๆก็เจอ ร้านสะดวกซื้อ ให้ซื้อของอย่างสะดวกจริงๆ คำว่าร้านสะดวกซื้อในภาษาเกาหลีออกเสียงว่า “พยอนิจอม” คำว่า “พยอนิ” หมายถึงสบาย ส่วน “จอม” แปลว่าร้าน จากข้อมูลเบื้องต้นที่สำรวจตรวจสอบกันมา ร้านสะดวกซื้อในเกาหลีมีไม่ต่ำกว่า 25,000 ร้าน มากกว่าร้านสะดวกซื้อที่เมืองไทยเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าตลาดร้านค้าสะดวกซื้อของเกาหลีมีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจมาก สินค้าหลายอย่างคนไทยเองก็ให้ความนิยมรวมถึงแบรนด์ของร้านสะดวกซื้อที่มีให้เลือกมากกว่าหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ถ้าใครคิดจะไปเกาหลีหรืออยากรู้ว่าร้านสะดวกซื้อของเกาหลีใต้เปรียบเทียบกับประเทศไทยมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร งานนี้เรามีคำตอบให้ครับ

ร้านสะดวกซื้อยอดนิยมของคนเกาหลี

ร้านสะดวกซื้อ

ภาพจาก : https://goo.gl/J4cyzT

1.CU หรือ Family Mart

บริหารงานโดยกลุ่มบริษัท BGF Retail ซึ่งได้ใบอนุญาติ มาจาก Family Mart ที่ญี่ปุ่น และนำมารีแบรนด์ใหม่จาก Family Mart ใหม่เป็น CU ซึ่งย่อมาจาก ‘Convenience for You’

สาเหตุหลักที่ต้องรีแบรนด์ใหม่เพราะต้องการให้ แบรนด์ในเกาหลีหลุดจากภาพ Family Mart เดิมๆของญี่ปุ่น แม้ว่าปัจจุบัน BGF Retail จะยังต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับ Family Mart ที่ญี่ปุ่นแต่ก็มีแผนจะโปรโมทร้าน CU ในต่างประเทศด้วยเช่นกันจำนวนร้านของ CU มีสาขาทั่วเกาหลีไม่ต่ำกว่า 8,000 แห่ง

r2

ภาพจาก : https://goo.gl/WYVbYD

2. GS25

ร้าน GS25 มีชื่อเดิมคือ LG25เป็นร้านสะดวกซื้อสัญชาติเกาหลีแท้ๆ เดิมเป็นของบริษัท LG ภายใต้ทีมงาน LG Distribution ต่อมาได้แยกตัวออกมาเป็นบริษัทใหม่ชื่อ GS Retail และเปลี่ยนชื่ิอแบรนด์จาก LG25 เป็น GS25

ที่มาของชื่อ LG25 หรือ GS25 ก็คือเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่ได้เปิดแค่ 24 แต่เพิ่มไปอีกหนึ่งเป็น 25 (หมายถึงเปิดตลอดไม่มีปิด) นอกจากนี้เลข 2+5 ยังเท่ากับ 7 ซึ่งถือว่าเป็นเลขแห่งความโชคดีสำหรับคนเกาหลีอีกด้วย จำนวนร้านของ GS25 มีสาขาทั่วเกาหลีไม่ต่ำกว่า 7,600 แห่ง

r3

ภาพจาก : https://goo.gl/uG0hKd

3. เซเว่น-อีเลฟเว่น

เป็นร้านสะดวกแห่งแรกในเกาหลี เปิดตัวครั้งแรกในปี 1989 ที่ Olympic Apartment shopping center,Seoul หลังจากนั้นในปี 1994 บริษัทล๊อตเต้กรุ๊ปได้ซื้อ เซเว่น-อีเลฟเว่น

และต่อมาได้ควบรวมร้าน Lawson เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ และล่าสุดคือการควบรวมร้าน Buy The Way เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ เซเว่น-อีเลฟเว่น ปัจจุบันเซเว่น-อีเลฟเว่นมีสาขาทั่วเกาหลีไม่ต่ำกว่า 7,500 แห่ง

r4

ภาพจาก : https://goo.gl/ZpPtHw

4. Mini Stop

แม้ว่า Mini Stop มีสาขาไม่มากเท่า 3 บริษัทข้างต้น แต่ก็มีสาขามากเป็นอันดับที่ 4 ของเกาหลี แบรนด์ Mini Stop ดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นของกลุ่มบริษัท AEon Group

เมื่อนำมาพัฒนาสู่การค้าร้านสะดวกซื้อแบบเกาหลีได้รับความนิยมที่ดีอย่างต่อเนื่องเป็นทางเลือกที่คนเกาหลีให้ความนิยมและมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี

สินค้าน่าสนใจตามสไตล์ “เกาหลี” แท้ๆ

r6

ภาพจาก : https://goo.gl/NAhr2v

สินค้าที่ขายในร้านสะดวกซื้อมีหลากหลายคล้ายๆกับ เซเว่น-อีเลฟเว่นในเมืองไทย ที่น่าตื่นตาตื่นใจหน่อยสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยน่าจะเป็นกลุ่มอาหารสำเร็จรูปสไตล์เกาหลีเช่นข้าวกล่องเกาหลี ที่เรียกว่า “โทชิรัก” หรือ “คิมปับ” มีทั้งแบบเป็นแท่งยาวๆและแบบสามเหลี่ยมหรือไม่ก็เป็นข้าวห่อสาหร่าย

หากเป็นอาหารที่ต้องอุ่นร้อนก็มีไมโครเวฟให้อุ่นด้วยแต่ต้องบริการตัวเอง บางร้านจะมีที่นั่งให้นั่งทานอาหารด้วย บางร้านจะมีเตาอบแล้วอบขนมปังหรือเบเกอร์รี่ต่างๆด้วย สำหรับใครที่ต้องการซื้อบัตรโดยสารสาธารณะ (T-Money) ก็สามารถซื้อ (หรือเติมเงินในบัตร) ได้ที่ร้านสะดวกซื้อ

r7

ภาพจาก : https://goo.gl/NLJVrI

นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆเช่น จ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ บริการส่งพัสดุด่วนระบบเกาหลี บางแห่งมีบริการถ่ายเอกสารซึ่งรูปแบบทั้งหมดนี้ดูไปก็คล้ายกับที่ญี่ปุ่นซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะพื้นฐานของแฟรนไชส์ส่วนมากก็ซื้อต่อมาจากญี่ปุ่นนั่นเอง

ในกลุ่มของฝากติดไม้ติดมือ “นมรสกล้วย” เป็นสินค้าขายดีที่สุดของทุกร้านสะดวกซื้อ รวมถึงติดอันดับ 1ใน3 ที่มียอดขายมากที่สุดของทุกร้านเช่นกันเพราะนมรสกล้วยถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเครื่องดื่มจากเกาหลี ซึ่งนอกจากนี้ก็มี “โซจู” ที่ถือเป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกฮอลล์ที่คนเกาหลีนิยมดื่มแก้หนาว และมียอดขายเป็นของฝากอยู่ในลำดับต้นๆของร้านสะดวกซื้อทุกแห่งเช่นกัน

มองหาโปรโมชั่นกันสักนิด เพื่อสีสันในการช็อปปิ้งที่เพิ่มขึ้น

r9

ภาพจาก : https://goo.gl/HEquSp

ขอแนะนำว่าใครมาเที่ยวเกาหลีแล้วจะไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อ แนะนำให้มองหาสัญลักษณ์โปรโมชั่น 1+1 หรือ 2+1 ซึ่งคนเกาหลีเรียกทับศัพท์ว่า ‘one plus one’ หรือ ‘two plus one’

ปกติโปรโมชั่นแบบนี้จะมีตลอดหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนสินค้าไปเรื่อยๆ หรือไม่ก็เป็นโปรโมชั่นขายสินค้าคนละชนิดคู่กันในราคาถูกลง หรือไม่ก็แถมสินค้าอื่น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการขายเหมือนที่เซเว่น-อีเลฟเว่นในเมืองไทยแจกสติ๊กเกอร์ไว้สะสมแลกของPremium

r10

ภาพจาก : https://goo.gl/TOaLmj

นอกจากนี้ถ้าลองสำรวจกันดีๆจะพบว่าในร้านสะดวกซื้อของเกาหลีมีสินค้าน่าสนใจและแสดงถึงความเป็นเกาหลีอยู่อีกไม่น้อย และนี่ก็เหมือนเป็นยุทธศาสตร์อย่างหนึ่งที่ทำให้ชื่อของเกาหลีโด่งดังไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วจากการซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับไป

ถ้าประเทศไทยจะลองหันมาใช้วิธีนี้ดูบ้างกับการเอาสินค้าแบบไทยๆมาวางขายในร้านสะดวกซื้อเพื่อให้คนทั้งโลกจดจำได้ง่ายขึ้นก็ดูจะเข้าท่าและน่าสนใจมากทีเดียว

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด