ไขข้อข้องใจ! ทำไมซื้อแฟรนไชส์ Cafe Amazon ถึงใช้เวลานาน

ทุกคนทราบดีว่า แฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon ถือเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ถือเป็นแบรนด์กาแฟอันดับ 2 รองจากสตาร์บัคส์ ที่สำคัญเป็นแบรนด์ที่มีโอกาสเติบโต สร้างรายได้มั่นคงให้แก่ผู้ลงทุนแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาไขข้อข้องใจว่า ทำไมปัจจุบันการซื้อแฟรนไชส์ Cafe Amazon ถึงได้ใช้เวลานาน มิหนำซ้ำหลายๆ คนที่สมัครซื้อแฟรนไชส์เข้าไป ไม่ได้รับการอนุมัติ หรือไม่ผ่าน เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน

แฟรนไชส์ร้านกาแฟ

เราอาจจะไม่แปลกใจเท่าไหร่นัก ที่จะมีนักลงทุน และผู้สนใจเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon จำนวนมาก เพราะแบรนด์เป็นที่นิยมในตลาด หากใครสนใจซื้อแฟรนไชส์จริงๆ ต้องรีบหน่อย เพราะปัจจุบันมีผู้สนใจจำนวนมาก

โดยผู้บริหาร Cafe Amazon เคยบอกว่ามีผู้สมัครแฟรนไชส์ซีเข้าไปกว่า 400 ใบสมัครต่อเดือน ( พาณิชย์ เปิดตัวโครงการยกระดับมาตรฐานแฟรนไชส์ ปี 2562 ) จึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทำให้ผู้สมัครแฟรนไชส์ซีเข้าไปอาจต้องรอคิวนาน หรือบางรายก็ไม่ผ่านคุณสมบัติในการพิจารณา

ที่สำคัญผู้สมัครแฟรนไชส์หลายๆ ราย อาจไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ดีพอ มีเงินทุน ใช่ว่าจะซื้อแฟรนไชส์ Cafe Amazon ต้องมีคุณสมบัติหลายๆ อย่างประกอบการพิจารณา เพราะบริษัท ปตท.จะต้องคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีคุณภาพมากที่สุด https://pantip.com/topic/38606688

52

ข้อควรรู้ก่อนสมัครซื้อแฟรนไชส์ Cafe Amazon

53

ขั้นตอนแรกต้องศึกษาหาความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ให้เข้าใจ รวมถึงเรียนรู้วิธีการซื้อแฟรนไชส์ Cafe Amazon หลังจากนั้นควรจัดตั้งบริษัทให้เป็นนิติบุคคล (บริษัท จำกัด) เพื่อเป็นตัวแทนในการซื้อแฟรนไชส์ เพราะคุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ ต้องมีสถานะเป็นนิติบุคคลเท่านั้น มีความพร้อมด้านการลงทุน เงินทุนหมุนเวียน และบุคลากรประจำร้านกาแฟ

หลังจากจัดตั้งบริษัทฯ เสร็จแล้ว จะต้องหาทำเลในการเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon ซึ่งถือว่าสำคัญอย่างมาก โดยถ้าเป็นรูปแบบนอกสถานี (Stand Alone) ร้านจะมีลักษณะเป็นอาคารเดี่ยว ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีศักยภาพเพียงพอและมีความเหมาะสมต่อการเปิดธุรกิจร้านกาแฟ Cafe Amazon

ขนาดพื้นที่ 100-200 ตร.ม. ขึ้นไป (รวมสวนหย่อม), พื้นที่ตั้งสามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย, พื้นที่จัดตั้งร้าน ต้องไม่ขัดต่อกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของหน่อยงานราชการ รวมถึงพื้นที่จัดตั้งร้าน ต้องไม่อยู่ภายในพื้นที่ระยะถอยร่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร และ/หรือข้อบัญญัติท้องถิ่น

54

ส่วนรูปแบบในอาคาร (Shop) พื้นที่ตั้งอยู่ภายในอาคาร เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ฯลฯ ขนาดพื้นที่ต้อง 40 ตร.ม.ขึ้นไป และพื้นที่ขอจัดตั้งร้านต้องอยู่ในบริเวณ ที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน แค่นี้ก็ถือว่ายุ่งยากซับซ้อน แลละทำให้หลายๆ คนที่ต้องการเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon เสียเวลาแล้ว

เมื่อคุณได้ทำเลที่คิดว่าเหมาะสมแล้ว คุณต้องสมัครขอรับสิทธิ์เป็นแฟรนไชส์ซีผ่านทาง เว็บไซต์ http://www.cafe-amazon.com/index.aspx แล้วกรอกข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วน เพื่อให้ได้รับการพิจารณาโดยเร็วที่สุด

หลังจากนั้นอาจจะ 1 เดือน หรือ 45 วันขึ้นไป ถ้าหากคุณส่งเอกสารครบสมบูรณ์ และผ่านการพิจารณาแล้ว ทางบริษัทปตท.ก็ได้ส่งทีมงานและทีมการตลาดของแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon มาดูทำเลที่คุณเลือกไว้ สำหรับการเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon ที่คุณได้แจ้งเข้าไปในใบสมัครแฟรนไชส์ก่อนหน้า

ในช่วงแรกๆ ที่ปตท.เปิดรับสมัครแฟรนไชส์ใหม่ๆ ขั้นตอนการขอซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon อาจใช้เวลาไม่นาน เมื่อเทียบกับในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันมีผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ Cafe Amazon เป็นจำนวนมาก (เข้าคิวราวๆ Waiting List หลายร้อยราย ) และในการเปิดร้านกาแฟเรื่องของทำเลที่ตั้ง เป็นเรื่องสำคัญมาก ทำให้ขั้นตอนการพิจารณายากขึ้นมากกว่าเดิม

ขั้นตอนการเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon จาก ปตท.

55

1.ผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์เป็นผู้เสนอพื้นที่มาให้ ปตท.พิจารณา ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้สนใจลงทุนเข้าทำสัญญาจอง หรือสัญญาเช่าพื้นที่กับเจ้าของพื้นที่ ก่อนที่ ปตท.จะอนุมัติให้สิทธิแฟรนไชส์แก่ผู้สนใจลงทุน หากเกิดความเสียหายใดๆ ปตท. จะไม่รับผิดชอบค่าเสียหายใดๆ จากการนั้น

2.ดำเนินการกรอกข้อมูล เข้าร่วมธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Cafe Amazon นอกสถานีบริการ ใน E-Form ได้ที่ www.cafe-Amazon.com หมวดแฟรนไชส์

3.ขั้นตอนการพิจารณาจะใช้เวลาประมาณ 45 วัน นับตั้งแต่ ปตท.ได้รับเอกสารครบถ้วน จากผู้สนใจลงทุนหลังจากนั้น ปตท. จะนัดสัมภาษณ์และหากผลการสัมภาษณ์ผ่าน ปตท.จะแจ้งรายละเอียดของเอกสาร / หลักฐาน ที่จะต้องจัดเตรียมเพื่อใช้ในการทำสัญญาแฟรนไชส์ให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิฯทราบ

56

4.ผู้ที่ได้รับสิทธิแฟรนไชส์จะต้องเข้าทำสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติสิทธิแฟรนไชส์หากไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ปตท.จะถือว่าสละสิทธิ ทั้งนี้ ปตท ขอแจ้งให้ทราบว่า สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนให้กับผู้อื่นได้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก ปตท. เป็นลายลักษณ์อักษรก่อน

5.ผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์จะต้องเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง ตกแต่งอาคาร และชำระเงินค่าวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ภายในร้านตามรายการที่ ปตท.กำหนด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายตามที่ ปตท. เรียกเก็บ ให้ครบถ้วนก่อนดำเนินการเปิดร้าน

57

6.ผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ และผู้จัดการร้าน ต้องเข้ารับการอบรมล่วงหน้าก่อนดำเนินการเปิดร้าน 1 เดือน และต้องผ่านการทดสอบทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ จึงจะได้รับอนุมัติให้เปิดดำเนินการ

7.ร้านกาแฟ Cafe Amazon บริหารงานภายใต้ระบบแฟรนไชส์ ดังนั้น ผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ Cafe Amazon ต้องให้ความร่วมมือ ปตท. และปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด

58

สำหรับนักลงทุนหรือผู้สนใจเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon สามารถ Download แบบฟอร์มใบแจ้งความจำนง ขอเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon ได้ที่ www.cafe-amazon.com และยื่นแบบฟอร์ม

พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณาตามที่ระบุ ส่งมาที่ e-mail: franchiseamazon@pttplc.com หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ Cafe Amazon โทร. 0-2537-2391 หรือ e-mail: franchiseamazon@pttplc.com

หมายเหตุ: บริษัทจะคัดเลือกผู้สมัครเบื้องต้น เพื่อออกสำรวจทำเลที่ตั้ง จากคุณสมบัติ และทำเลที่ตั้งที่ผู้สมัครได้กรอกในใบแบบฟอร์ม หากผู้สมัครท่านใดผ่านหลักเกณฑ์ตามที่บริษัทฯ กำหนด บริษัทฯ จะติดต่อกลับ เพื่อนัดหมายวันและเวลาในการสำรวจพื้นที่อีกครั้ง

อาจกล่าวได้ว่า ของดี ของมีคุณภาพอย่างแฟรนไชส์กาแฟ Cafe Amazon ใช่ว่าใครจะได้มาง่ายๆ ยิ่งมีนักลงทุนและผู้สนใจเปิดร้านกาแฟ Cafe Amazon จำนวนมาก เรียกว่า 400 ใบสมัครต่อเดือน ยิ่งต้องทำใจ ต้องใช้เวลานานแน่นอน แต่ถ้าคุณมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่แนบในใบสมัครแฟรนไชส์ เชื่อว่าคุณจะได้เป็นเจ้าร้านแฟรนไชส์ Cafe Amazon อย่างแน่นอนครับ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://goo.gl/zNJbJV
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน https://goo.gl/KNYWfx

ขอบคุณรูปภาพจาก www.facebook.com/cafeamazonofficial

คลิ๊กดูข้อมูลแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอน

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hdNBWZ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช