โอ้โห! เมื่อเหล่าสัตว์เลี้ยงสร้างเงินและมีอิทธิพลมากกว่าที่คิด

หากพูดถึง สัตว์เลี้ยง หลายคนอาจนึกถึงภาพเหล่าสัตว์ตัวป่วนที่มาอยู่ร่วมกับมนุษย์เพื่อเพิ่มสีสันในชีวิต เพื่อเฝ้าบ้าน หรือเพื่อเป็นเพื่อนรักในทุกสถานการณ์ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีสัตว์เลี้ยงไว้ในครอบครอง

มันก็เป็นธรรมดาที่เหล่าเจ้าของสัตว์จะรักสัตว์เลี้ยงของตน และเมื่อมีสัตว์เลี้ยง ก็ย่อมต้องมีการซื้ออาหาร , ข้าวของเครื่องใช้ ของเล่น หรือในยามที่สัตว์เลี้ยงแสนรักนั้นเจ็บป่วยก็ต้องพาไปหาสัตวแพทย์ และทั้งหมดนี้ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงจึงมีขอบข่ายที่ค่อนข้างกว้างและมีเงินสะพัดอยู่ไม่น้อยเลย

สัตว์เลี้ยง

ภาพจาก bit.ly/2NlCtbt

ในตอนนี้ ทัศนคติของผู้คนเกี่ยวกับการมีสัตว์เลี้ยงนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นไปในทางบวกมากขึ้น อาจเป็นเพราะสภาพทางสังคมที่ผู้คนเริ่มคิดถึงเรื่องการมีครอบครัวน้อยลง สถาบันครอบครัวเริ่มเล็กลงจากเดิมที่มีครอบครัวขยายก็เริ่มมีครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น บางคนไม่คิดที่จะมีครอบครัวก็มี

และสิ่งหนึ่งที่คนเหล่านั้นหันมาให้ความสนใจก็คือการมีสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นเพื่อนคู่ใจ เพราะการมีสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นเพื่อนอาจมีเรื่องให้ทุกข์ใจน้อยกว่าการอยู่กับคน อีกทั้งยังสามารถคลายเหงาและคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี

และนอกจากทัศนคติในการสร้างครอบครัวจะเปลี่ยนไปแล้ว พฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ในหมู่คนรักสัตว์ก็ยังเปลี่ยนไปด้วยจากเดิมคนส่วนมากที่เลี้ยงสัตว์แล้วจะมองว่ามันเป็นแค่สัตว์เลี้ยง ตอนนี้กลายเป็นว่าคนเหล่านั้นมองสัตว์เลี้ยงของตัวเองเป็นเหมือนสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวที่มีความสำคัญไม่แพ้สมาชิกที่เป็นมนุษย์เลย

11

ภาพจาก bit.ly/32XnZW2

นอกจากนี้แล้วจำนวนของสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงพื้นฐานอย่างหมาแมวยังมีมากขึ้นอีกด้วย โดยจำนวนแมวเลี้ยงในไทยปัจจุบันมีอยู่กว่า 4 ล้านตัว โตเกือบ 2 เท่าจากเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ขณะที่จำนวนสุนัขเลี้ยงมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 10% ต่อปี

โดยปัจจุบันคนไทยสนใจเลี้ยงสุนัขพันธุ์เล็กมากกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ ส่วนในเรื่องของค่าใช้จ่ายนั้น คนไทยที่เลี้ยงสัตว์มีอัตราค่าใช้จ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยงอยู่ที่ 3-5% ของรายได้ครัวเรือน ยิ่งไม่มีเด็กแล้ว ก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายของสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นจนอาจมากกว่าอัตราดังกล่าวนี้เลยด้วยซ้ำ

10

ภาพจาก tlcpetclinic.com

ดังนั้นแล้วจึงไม่แปลกใจหากเศรษฐกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงจะค่อนข้างมาแรง และมีธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงอย่างมากมาย เช่น คลินิกรักษาสัตว์ สถานที่เพาะพันธุ์สัตว์ โรงพยาบาล อาหารสัตว์ รับตัดแต่งขน ของใช้กระจุกกระจิก รวมไปถึงธุรกิจแปลกๆ เช่น รับออกแบบบ้านให้น้องหมา ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมีมูลค่าตลาดใหญ่มาก

ซึ่งในปี 2562 นี้มูลค่าเงินสะพัดในแวดวงธุรกิจสัตว์เลี้ยงที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และมีอัตราการเติบโต 10% ในทุกปี โดยธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงกินส่วนแบ่งตลาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือธุรกิจบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (โรงพยาบาล/คลินิก ร้านกรูมมิ่ง โรงเรียนฝึกสุนัข หรือบริการอื่นๆ) และธุรกิจผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง (อาทิ เสื้อผ้า ของเล่น เครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น)

9

ภาพจาก bit.ly/2oqwTfD

และนอกจากธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการสัตว์เลี้ยงจะมีการเติบโตแล้ว สัตว์เลี้ยงยังมีอิทธิต่อธุรกิจอื่นๆ อีกเช่นกัน เช่น ในส่วนของการท่องเที่ยวนั้นที่จะเห็นได้ว่าแหล่งท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่พักหลายแห่งเริ่มอนุญาตให้ลูกค้านำสัตว์เลี้ยงไปเที่ยว

หรือไปพักได้โดยอาจมีการคิดราคาเพิ่ม ซึ่งนั่นก็ถือเป็นการปรับตัวเพื่อรองรับ Lifestyle ของคนในยุคนี้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์และมักจะพาไปเที่ยวด้วย (แต่ทั้งนี้เจ้าของสัตว์เลี้ยงก็ต้องมีการดูแลสัตว์เลี้ยงของตนและดูเงื่อนไขของที่พักหรือแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ให้ดีๆ ด้วย)

8

ภาพจาก bit.ly/2PqP2oH

และนอกจากในแวดวงธุรกิจการท่องเที่ยวแล้ว สัตว์เลี้ยงยังมีอิทธิพลในแวดวงร้านอาหารหรือคาเฟ่ต์ด้วย! โดยปัจจุบันนี้มีร้านอาหารอยู่หลายแห่งอีกเช่นกันที่เปิดในรูปแบบของคาเฟ่ต์สัตว์เลี้ยงที่จะมีสัตว์เลี้ยง

เช่น หมา แมว หรือกระต่ายอยู่ในร้านเพื่อให้ลูกค้าสามารถเล่นกับสัตว์เหล่านั้นได้ จุดประสงค์หลักๆ ของธุรกิจดังกล่าวนี้ก็เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่รักสัตว์ แต่ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ด้วยว่าที่อยู่อาศัยไม่เอื้ออำนวยหรือไม่มีเวลาดูแลสัตว์เลี้ยง

7

ภาพจาก Smile Dog Cafe

ดังนั้นแล้ว ในเมื่อสัตว์เลี้ยงมีอิทธิพลต่อจิตใจและการใช้ชีวิตของมนุษย์ท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงสามารถสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มากมายขนาดนี้ หากใครที่เคยคิดว่าสัตว์เลี้ยงเป็นแค่สัตว์หน้าขนที่ไม่รู้เรื่องราวอะไรและมีคุณค่าน้อยกว่ามนุษย์ เห็นทีก็คงจะต้องคิดใหม่ซะแล้ว


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9

แหล่งที่มา