โอกาสธุรกิจไทยในประเทศ เวียดนาม ปี 2559 – 2560

ปัจจุบันการบริโภคสินค้าของชาว เวียดนาม ได้เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของประเทศ ทำให้ชาวเวียดนามมีความต้องการบริโภคสินค้าสูงขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของชาวเวียดนามได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 ในช่วง 10 ที่ผ่านมา จากเดิมที่ชาวเวียดนามมักเลือกซื้อสินค้าราคาถูก โดยเฉพาะสินค้าที่มาจากเมืองจีน

เวียดนาม

แต่ปัจจุบันพฤติกรรมเหล่านั้นของชาวเวียดนามได้เปลี่ยนไปแล้ว คนวัยหนุ่มสาวที่มีมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนประชากร หันมาบริโภคสินค้าระดับกลางถึงระดับบน รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น เพราะชาวเวียดนามได้คำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการเป็นสำคัญ แม้ว่าต้องควักกระเป๋าจ่ายในราคาแพงขึ้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ธุรกิจไทยที่น่าจะมีโอกาสเติบโตในเวียดนาม และโดนใจชาวเวียดนาม มาฝากท่านผู้ประกอบการ และนักธุรกิจที่กำลังมองหาลู่ทางในการออกไปเจาะตลาดต่างประเทศครับ

1.ธุรกิจค้าปลีกกำลังมาแรง

bb13

นับตั้งแต่รัฐบาลเวียดนามได้อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีกมาตั้งแต่ปี 2552 ก็ทำให้บริษัทต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมถึงไทย ต่างทยอยเข้าไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายตัวในระยะยาว

โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญ จำนวนประชากรของเวียดนามที่มีมากกว่า 90 ล้านคน ถือเป็นตลาดใหญ่ อีกทั้งประชากรกว่าร้อยละ 60 อยู่ในวัยหนุ่มสาว จึงนับว่าเป็นตลาดกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ รวมทั้งกำลังซื้อของชาวเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลเวียดนามคาดการณ์ว่าในปี 2563 ชาวเวียดนามจะมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีที่ 3,400 ดอลลาร์สหรัฐ

โดยปัจจุบันประเภทธุรกิจค้าปลีกที่ชาวเวียดนามนิยมใช้บริการ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ในเวียดนาม ชาวต่างชาติสามารถลงทุนในสัดส่วน 100% ได้เลย นับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเปิดตลาดต่างประเทศอย่างเวียดนาม

2.ธุรกิจแปรรูปพืชผลทางการเกษตร

bb14

เป็นที่ทราบกันดีว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการเพาะปลูกพืชผลการเกษตร (คู่แข่งไทย) เช่น ข้าว ชา กาแฟ พริกไทย และพืชที่ใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ แม้โดยพื้นฐานของประเทศไทยและเวียดนามจะมีสินค้าที่คล้ายคลึงกัน

รวมถึงยังเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ แต่ทั้งสองประเทศยังสามารถร่วมมือกันได้ในหลายด้าน โดยอาศัยความสมบูรณ์ของทรัพยากรและแรงงานของเวียดนาม ประกอบกับความสามารถด้านการแปรรูป เทคโนโลยี และการจัดการตลาดของไทย

3.ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล

bb15

ปัจจุบันเกษตรกรเวียดนามนิยมเลี้ยงปลามากกว่าเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากการเลี้ยงปลาให้ผลผลิตดีและรายได้โดยรวมสูง ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ตลาดปลากระป๋องยังเปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยสหรัฐฯ และยุโรปนิยมปลาทูนา

ส่วนเอเชียนิยมปลาซาร์ดีน ปัญหาคือ เวียดนามมีวัตถุดิบไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ประกอบการต้องแย่งซื้อปลาที่หน้าแพปลา แม้ราคาจะสูงแต่ไม่สามารถต่อรองราคาได้ เนื่องจากความต้องการมีสูงกว่าการผลิต ผู้ประกอบการไทยด้านอาหารแปรรูปสามารถเข้าไปเปิดตลาดอาหารปลากระป๋องในเวียดนามได้ไม่ยาก

4.ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับรถจักรยานยนต์

bb16

รถจักรยานยนต์ถือเป็นตัวบ่งบอกฐานะทางสังคมของชาวเวียดนามได้เป็นอย่างดี เวียดนามมีรถจักรยานยนต์มากกว่า 20 ล้านคัน และเพิ่มขึ้น 1-2 ล้านคันทุกปี ธุรกิจที่น่าสนใจลงทุน เช่น ยางรถจักรยานยนต์ อะไหล่ชิ้นส่วน หมวกกันน็อค เป็นต้น

โดยเฉพาะหมวกกันน็อค ปัจจุบันเวียดนามมีกฎหมายบังคับให้สวมหมวกกันน็อคเมื่อขับขี่บนทางหลวงแล้ว และนับตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2550 บังคับใช้กับการขับขี่ในเมืองด้วย ความต้องการหมวกกันน็อค คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านใบ และหลายระดับราคา หมวกกันน็อคส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในตลาดเวียดนามยังไม่ได้มาตรฐาน

5.ธุรกิจสินค้าแฟชั่นเครื่องแต่งกาย

bb17

ยอมรับว่ากำลังเป็นกลุ่มสินค้าที่อยู่ในกระแสความนิยมของชาวเวียดนาม เป็นสินค้าระดับกลางถึงระดับบน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่มีฝีมือ

เพราะปัจจุบันชาวเวียดนามโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวได้รับอิทธิพลการแต่งกายมาจากชาติตะวันตก ทำให้ต้องแต่งตัวให้มีความทันสมัยมากขึ้น ส่งผลให้สินค้าแฟชั่นเครื่องแต่งกายเป็นที่ต้องการของตลาด มีแบรนด์ท้องถิ่นและต่างชาติเข้าไปเปิดร้านอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะในกรุงฮานอย และนครโฮจิมินห์ โดยชาวเวียดนามมีการใช้จ่ายในสินค้าแฟชั่นราว 95 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อคนต่อปี ดังนั้นผู้ประกอบการไทยอาจจะต้องสร้างแบรนด์ไทยให้โดนใจ เพื่อสร้างมูลค่า และหาช่องทางการขายในห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ต

6.ธุรกิจกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์

bb18

ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเทคโนโลยี ไอที เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน กำลังเป็นที่ต้องการของชาวเวียดนาม โดยเฉพาะโทรศัพท์และสมาร์ทโฟนถือเป็นตัวบ่งบอกฐานะทางสังคมของชาวเวียดนาม นอกเหนือจากรถจักรยานยนต์

ดังนั้น ตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเวียดนามจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทย ที่ต้องการเข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตสมาร์ทโฟนของเวียดนาม โดยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ในเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กลางน้ำ อาทิ วงจรพิมพ์ วงจรรวม และไมโครแอสเซมบลี

7.ธุรกิจสุขภาพและความงาม

bb19

ชาวเวียดนามยุคใหม่ได้หันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพและความงามมากขึ้น รวมถึงกระแสการออกกำลังกายที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้สินค้าและบริการในกลุ่มนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเวียดนาม โดยชาวเวียดนามที่มีรายสูงมักเลือกซื้อสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพและความงามที่มีราคาสูง และมีคุณภาพมาตรฐาน

ดังนั้น จึงเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพและความงามของไทย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจสปา ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อุปกรณ์กีฬา รวมถึงธุรกิจกลุ่มเครื่องสำอาง ที่จะเข้าไปทำเปิดตลาดในเวียดนาม

8.ธุรกิจแฟรนไชส์

bb20

เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจะมีโอกาสเติบโตในประเทศเวียดนาม จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม รวมถึงการมีรายได้เพิ่มขึ้นของชาวเวียดนาม จึงทำให้ชาวเวียดนามมีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยมากขึ้น

อีกทั้งรัฐบาลเวียดนามได้ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์จากต่างประเทศให้เข้าไปลงทุนในเวียดนาม เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามให้มีการเติบโตมากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในการเจาะตลาดและขยายสาขาในเวียดนาม

bb21

โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความสนใจจากชาวเวียดนาม อาทิ แฟรนไชส์ค้าปลีก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม บริการดูแลรถยนต์ ดูแลเด็ก ทำความสะอาด สุขอนามัย บริการจ้างงาน ท่องเที่ยว โรงแรม เครื่องเรือนตกแต่งบ้าน สินค้าและบริการด้านการศึกษา ร้านสะดวกซื้อ เครื่องสำอาง ดูแลความงาม เป็นต้น

uu80

ผู้ประกอบการท่านใดที่ยังไม่มั่นใจในการลงทุนต่างประเทศ อาจเริ่มต้นธุรกิจด้วยการส่งสินค้าเข้าไปทดลองตลาดก่อนตัดสินใจลงทุน ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพความต้องการของตลาด และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งมองเห็นปัญหาที่อาจต้องทำการปรับเปลี่ยนตัวสินค้า หรือกลยุทธ์การเข้าตลาดก่อนลงทุนใหม่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและระยะเวลาในการทำตลาดหลังจากลงทุนจริงได้ครับ

ii7

สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการท่านใด ที่สนใจเข้าไปลงทุนและขยายธุรกิจในเวียดนาม แต่อยากจะสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนามก่อน สามารถติดต่อสอบถาม และดูรายละเอียดงานแสดงสินค้าแฟรนไชส์และค้าปลีกในเวียดนามเพิ่มได้ที่ Vietnam Int’l Retail + Franchise Show 2016 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช