แหล่งเงินทุน สำหรับ Startup อยากหาเงินทุนสักก้อน ต้องอ่าน!

“ Startup ” หมายถึงการเริ่มต้นอาชีพหา แหล่งเงินทุน ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่การเริ่มต้นที่ง่ายดายก็อาจล้มเหลวได้ไม่เป็นท่า คำว่าแจ้งเกิดหรือล้มเหลวจึงมีแค่เส้นบางๆ ที่กั้นไว้ตรงกลางเท่านั้น ความยิ่งใหญ่ของธุรกิจระดับโลกเช่น Facebookหรือ Alibaba จึงอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เหล่า Startup เมืองไทยอยากก้าวขึ้นไปให้ถึงจุดนั้นบ้าง

แต่ในโลกของธุรกิจเงินทุนยังเป็นปัจจัยที่สำคัญความฝันหลายอย่างถูกบังคับให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขนี้ ดังนั้นสิ่งที่ Startup ต้องทำเป็นอย่างแรกนอกจากแผนไอเดียธุรกิจแบบสุดเจ๋งแล้ว การหาเงินทุนมารองรับก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่กันไป

www.ThaiSMEsCenter.com เองก็มองเห็นถึงความสำคัญอย่างที่สุดของคำว่าแหล่งเงินทุนจึงสรรหาข้อมูลเพื่อบอกต่อสำหรับ Startup เพื่อให้การเริ่มต้นธุรกิจเป็นไปได้ง่ายขึ้นในที่นี้เราจำแนกออกมาให้ทราบกันทั้ง 2 แนวทางคือการเลือกใช้วิธีระดมทุนกับเงินกู้เพื่อเหล่า Startup ของธนาคารต่างๆในประเทศไทย

แหล่งเงินทุน

ภาพจาก https://goo.gl/6epDck

Startup ไทยแม้จะเริ่มต้นช้าแต่ก็มาแบบก้าวกระโดด

ประเทศไทยเริ่มเห็นเทรนด์การสร้าง Startup มาตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งถือว่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ มาเลเซียกว่า 10 ปี แต่ในความช้าที่ว่านี้ก็มีความแข็งแกร่งจนนักลงทุนต่างชาติเองก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ถ้าพูดถึงการระดมทุนนั้นมีด้วยกัน 2 แบบคือการระดมทุนแบบร่วมลงทุน (Venture Capital) และ การระดมทุนมวลชน (Crowdfunding)

จากข้อมูลทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2557 – 2558 พบว่าในปี 2557 Startup ไทยสามารถระดมทุนรวมกันได้ทั้งปีอยู่ที่มูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังไม่นับรวมที่ขายไป แต่ในปี 2558 ผ่านไปเพียงครึ่งปีกลับสามารถระดมทุนไปแล้ว 25 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับตลาด Startup เมืองไทยนั้นมีอัตราการเติบโต 2 เท่าในทุกปี ซึ่งการระดมทุนเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของธุรกิจนี้เรามาจำแนกให้เห็นภาพชัดเจนได้ดังนี้

w2

ภาพจาก http://goo.gl/5ZPHtd

1.ระดมทุนแบบร่วมลงทุน (Venture Capital)

Venture Capital (VC) คือ หนึ่งในแหล่งทุนของ Startup มีทั้งกลุ่มองค์กร หรือกองทุนร่วมลงทุนที่ต้องการนำเงินที่มีอยู่มาร่วมลงทุนกับ Startup ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยแลกกับสัดส่วนของหุ้น รวมถึงอำนาจในการตัดสินใจต่าง ๆ ระยะเวลาการลงทุนมักจะอยู่ที่ 3-5 ปี

แต่การจะได้เงินมา Startup ก็ต้องมีโปรดักส์ให้เห็น หรืออย่างน้อยมี Prototype พร้อมกับจำนวนผู้ใช้มากพอในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ยังต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน Business Model ที่เป็นไปได้ Financial Projection ที่สมเหตุสมผล ถึงจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและดึงดูดเงินทุนให้เข้ามาได้

ซึ่งบริษัท Startup ใหญ่ ๆ ในต่างประเทศล้วนแล้วเคยผ่านการเติบโตจากเงินทุนของ VC ทั้งนั้น เช่น Google, Facebook สำหรับ Startup ไทยหลายรายก็สามารถระดมทุนได้สำเร็จจาก VC ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

  • เช่น aCommerce ผู้ให้บริการทางด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร ซึ่งการระดมทุนส่วนนี้ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าเพื่ออะไรในกรณีของ aCommerce คือการเพิ่มขนาดแวร์เฮ้าส์ พัฒนาแพลตฟอร์มให้แข็งแกร่ง และเพิ่มทีมงานอีกกว่า 300 ชีวิต

w6

ภาพจาก https://goo.gl/W80rhT

2.ระดมทุนมวลชน Crowdfunding

Crowdfunding หรือการระดมทุนจากมวลชน มีข้อดีคือขั้นตอนที่ง่ายและใช้เวลาสั้นกว่าการระดมทุนด้วยวิธี Venture Capital และการขอกู้จากธนาคาร แต่ข้อเสียคือเงินทุนที่ได้จากวิธีนี้จะต่ำกว่าแบบแรกพอสมควรในปี 2557 ตลาดทุน Crowdfunding ทั่วโลกมีมูลค่าสูงกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีการเติบโตสูงถึง 1,000% โดยเว็บไซต์ที่โด่งดังและใหญ่ที่สุดในโลกด้าน Crowdfunding คือ Kickstarter

ความจริง Crowdfunding นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ของStartupเมืองไทย เพียงแต่ Crowdfunding Plattorm สัญชาติไทยส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปแบบการให้คืนเป็นรางวัล (Rewards) และการบริจาค (Donation)

  • เช่น Afterword เปิดโอกาสให้นักเขียนระดมทุนผลิตหนังสือจากคนอ่านโดยตรง โดยเปิดระดมทุนครั้งแรกกลางปี 2557 สามารถระดมทุนได้ 1.2 ล้านบาท ภายในเวลา 9 เดือน มีการผลิตหนังสือแล้ว 8 เล่ม
  • หรือ Taejai.com จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดี ๆ เพื่อสังคม ปัจจุบันมีสมาชิก 8,000 คน มีสมาชิกสนับสนุนโครงการต่าง ๆ 2,400 คน เป็นเงิน 6.7 ล้านบาท ให้กับโครงการสร้างสรรค์กว่า 80 โครงการเป็นต้น

w7

ภาพจาก https://goo.gl/4NGlyv

และนอกจากวิธีการระดมทุนใน 2 รูปแบบที่กล่าวไปแล้วอีกวิธีหนึ่งที่ดูจะคุ้นเคยกับคนไทยมากที่สุดก็คงเป็นการขอกู้เงินจากธนาคารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันแทบทุกธนาคารจะมีสินเชื่อเพื่อ SMEs Startup

โดยเฉพาะ ผู้ที่จะใช้เงินทุนในลักษณะนี้จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของธนาคารที่จะขอเงินกู้ทั้งในเรื่องคุณสมบัติผู้กู้,อัตราดอกเบี้ย,เงื่อนไขการชำระคืน นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือ “ความสามารถในการจ่ายคืน” นั้นหมายถึงพื้นฐานของธุรกิจที่ต้องเข้มแข็งและมีการตลาดที่ดีมากพอ ซึ่งธนาคารเองก่อนที่จะปล่อยกู้ได้นั้นก็ต้องมาวิเคราะห์มองศักยภาพของผู้กู้เช่นกัน

ตารางเปรียบเทียบสินเชื่อธุรกิจSMEs ของแต่ละธนาคาร

    ธนาคาร               ชื่อสินเชื่อ        วงเงิน (บาท)       อัตราดอกเบี้ย        เวลาผ่อนชำระ
SME Bank Small SMEs 1,000,000 MRR+1% (เกิน 3 ปี)MRR+2%(ไม่เกิน3 ปี) สูงสุดไม่เกิน 7 ปี
กสิกรไทย K SME Start-Up Solution 100,000-500,000 MRR + 9% ต่อปี 36 เดือน (3 ปี)
กรุงศรีอยุธยา สินเชื่อเกินร้อยวงเงินสูงผ่อนนาน 200,000 – 12,000,000 MRR + 2.0% สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
กรุงไทย สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่ สูงสุด 2,000,000 MRR + 2.5% สูงสุดไม่เกิน 7 ปี
ไทยพาณิชย์ สินเชื่อธุรกิจรายย่อย กล้าคิดก็กล้าให้ สูงสุด 5,000,000 ร้อยละ 11.870 ต่อปี (ลูกค้าสินเชื่อทั่วไป) สูงสุดไม่เกิน  10 ปี
กรุงเทพ บัวหลวงทันใจ สูงสุด 10,000,000 ขั้นต่ำ MRR + 2% ตามการพิจารณาของธนาคาร
ออมสิน เพื่อผู้ประกอบการรายใหม่ ไม่เกิน 200,000 บาท MLR + 2% สูงสุดไม่เกิน 60 เดือน

หลักการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อให้ผ่านการพิจารณาจากธนาคารนั้นสิ่งที่ต้องประกอบกันมีหลายอย่างซึ่งทางธนาคารเองก็แนะนำว่า สิ่งสำคัญสำหรับการขอสินเชื่อทุกประเภทประวัติทางการเงินของตัวเองต้องดี

ต้องมีรายได้เข้าบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เครดิตทางการเงินต้องไม่ขึ้นบัญชีดำนอกจากนี้การเตรียมเอกสารทุกอย่างต้องพร้อมเพราะถ้าพลาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปอาจต้องไปตั้งต้นเริ่มใหม่ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการได้สินเชื่อมากยิ่งขึ้น

w3

ภาพจาก http://goo.gl/AW7xX2

อย่างไรก็ดีเทคนิคในการขอสินเชื่อจากธนาคารก็ควรเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองเป็นสำคัญเช่นกลุ่ม Startup ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากพอเพียงแต่มีแนวคิดน่าสนใจธนาคารที่เปิดสินเชื่อกลุ่มนี้แนะนำธนาคารออมสินกับธนาคารไทยพาณิชย์

ส่วนถ้าเป็นธุรกิจที่เริ่มได้ระยะหนึ่งมีประสบการณ์ระดับหนึ่งสินเชื่อที่น่าสนใจคือธนาคารกสิกรไทยกับ SME Bank แต่ถ้ามองการณ์ไกลอยากขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดดและมั่นใจในศักยภาพมากพอรวมถึงต้องการวงเงินสูงๆธนาคารกรุงเทพและธนาคารกรุงศรีอยุธยาน่าจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด

สำหรับ Startup ท่านใดที่สนใจเรื่องการขอสินเชื่อจากธนาคารเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.thaifranchisecenter.com/loan/

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด