แฟรนไชส์ DAISO ทุกอย่างเริ่มต้น 60 บาท ทำเลบนห้าง ขายง่ายสบายๆ

ต้องยอมรับว่าธุรกิจร้านค้าราคาเดียวในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ทุกไลฟ์สไตล์ ทำให้ผู้บริโภคซื้อง่าย ผู้ขายขายคล่อง สินค้าทุกชิ้นได้พัฒนาและออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้สอย มีความคุ้มค่า ราคาดี สวยงามด้านดีไซน์และใช้งานได้จริง 

Daiso เป็นอีกหนึ่งร้านค้าราคาเดียว โดดเด่นด้วยความหลากหลายของสินค้าที่มากกว่า 50,000 รายการจากประเทศญี่ปุ่น ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 60 บาท ใครเข้าไปร้าน Daiso จะเห็นว่าสินค้ามากมาย ราคาไม่แพง คุณภาพก็สมราคา ที่แปลก คือ สินค้าบางอย่างไม่สามารถเทียบราคาได้เลย ว่าแพงหรือถูกเพราะสินค้าบางชนิดไม่มีที่ไหนขายกัน

ว่าไปแล้ว Daiso เป็นรูปแบบธุรกิจที่เหมือนกันกับร้าน MUJI และร้าน MINISO แต่อาจจะแตกต่างกันบ้างที่ราคาสินค้าและคุณภาพสินค้าบางชนิด ที่แต่ละร้านเลือกสรรมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยปัจจุบันร้าน Daiso สามารถขยายสาขาไปแล้วมากกว่า 2,800 สาขาที่ญี่ปุ่น และ 840 สาขา ใน 25 ประเทศ ซึ่งในไทยมีถึง 89 สาขาทั่วประเทศ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปเจาะลึกถึงจุดกำเนิดร้านค้าราคาเดียว Daiso กันว่าเจ้าของแบรนด์ร้านค้าแห่งนี้ ต้องทำงานกันอย่างหนักกว่าจะทำให้ Daiso ได้รับความนิยม รวมถึงวิธีการซื้อแฟรนไชส์ Daiso ด้วย

จุดเริ่มต้นกว่าจะมาเป็น Daiso

k10

ทีมงานของนำเสนอเรื่องราวที่น่าตกใจ และเกิดขึ้นกับ Daiso จากการรายงานของ “ไดโซ ซังเกียว (ประเทศไทย)” ในฐานะผู้บริหารและดูแลการขยายสาขาในเมืองไทย

โดย “ยาโน ฮิโรทาเคะ” ประธานบริษัท ไดโซ ซังเกียว ฯ เป็นผู้ก่อตั้ง “THE DAISO” คุณยาโน จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยชูโอ หลังจากแต่งงานได้กลับไป เพาะพันธุ์ปลาอามาจิ ที่บ้านเกิดของภรรยา แต่กลับล้มเหลว พร้อมกับต้อง แบกรับภาระหนี้สินมากมาย

หลังจากนั้นเขาต้องเปลี่ยนงาน ถึง 9 ครั้ง จนเขาคิดว่า ชีวิตของตนเอง หมดสิ้นแล้วทุกสิ่ง ทุกอย่าง กล่าวคือ เป็นจุดที่ตกต่ำที่สุดในชีวิต แต่ทว่าคุณยาโน ทำงานหนัก ทุกวัน โดยมีลูกและภรรยา ที่น่ารักเป็นกำลังใจ

ขณะทำงานนั้นเอง ก็บังเอิญเดินไป พบรถจักรยานจอด อยู่ 10 คัน จึงเดิน เข้าไปดูว่า มีอะไรอยู่ภายในอาคารนั้น แล้วเขาก็พบว่า เป็นรถสำหรับขายของเคลื่อนที่ ดังนั้น ยาโน จึงเข้าไปขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ศึกษาเรื่องการค้าขายในลักษณะนี้

ในขณะนั้น คุณยาโนอายุ 29 ปี ได้เปิดร้านเป็นของตัวเอง โดยจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด หม้อ เครื่องมือช่าง และตั้งชื่อร้านว่า “ร้านยาโน” และต่อมาภายหลังได้กลายเป็นบริษัท DAISO ซึ่งไม่ได้อยู่ในความคิดของคุณยาโนมาก่อนว่า จะกลายมาเป็นบริษัท DAISO จนถึงทุกวันนี้

กำเนิดร้าน 100 เยน

k3

หากย้อนกลับไป 2 สามีภรรยาช่วยกันค้าขายแบบเคลื่อนที่ โดยที่สินค้ามีราคาแตกต่างกันไป แต่ในช่วงเวลานั้น เขามีภาระที่จะต้องเลี้ยงดูลูกด้วย จึงเปลี่ยนวิธีการขายเพื่อให้สะดวกมากขึ้น โดยการติดราคาสินค้าให้เป็น 100 เยนทั้งร้าน

ในช่วงนั้น คุณยาโนได้สร้างกิจการร่วมกับภรรยาขึ้นมาหนึ่งสิ่ง โดยมีความตั้งใจ ว่าก่อนที่จะตายอยากมีบริษัทที่ขายอะไรก็ได้ และมียอดขายต่อปีตกปีละ 1 ร้อยล้านเยน โดยส่วนตัวคุณยาโนนั้น มีเครือญาติเป็นหมอ ดังนั้น อาชีพของเครือญาติจึงถูกขีดไว้ให้เป็นหมอ คุณยาโนจึงได้คิดถึงอนาคตของลูกขึ้นมา โดยตั้งใจว่าอยากจะให้มีกิจการเป็นของตัวเอง

คุณยาโนมีความอุตสาหะ ที่จะทำให้ร้านเจริญเติบโตมากกว่านี้ และด้วยแรงปรารถนาของเขา เขาจึงขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นและตั้งเป็นบริษัท DAISO SANGYO และเหตุที่ตั้งเป็นบริษัท DAISO SANGYO เป็นเพราะชื่อ SANGYO (Industry) หรือ SHOUJIBUSSAN (Commercial Product) กำลังเป็นที่นิยมในสมัยนั้น

พลังปากต่อปากทำให้ Daiso แจ้งเกิด

k2

การขายสินค้าทุกชิ้นในร้าน ราคา 100 เยน เป็นสิ่งที่ทำให้ร้านไดโซแตกต่างจากร้านอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ในขณะนั้นมีลูกค้าเข้ามาในร้านอยู่ประมาณ 4-5 คน และแต่ละคนก็เอาแต่เดินเลือกดูสินค้า แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ

ซึ่งเขาก็ไม่สามารถควบคุมจิตใจ ของลูกค้าได้ และในขณะที่คุณยาโน กำลังคิดอยู่นั้น ก็มีลูกค้าท่านหนึ่ง พูดขึ้นว่า “ที่นี่ขายของถูกขนาดนี้ ก็เหมือนกับเสียเงินไปเปล่า” จึงทำให้ลูกค้าท่านอื่นๆ ที่ได้ยินเดินทยอย ออกจากร้านกันไปจนหมด

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ลูกค้าแต่ละคนมีปฏิกิริยาที่เปลี่ยนไป เมื่อรับเงินจากลูกค้า ลูกค้าจะถามว่า “100 เยน จริงรึเปล่า” เพราะสินค้าที่ขาย 100 เยนนั้น กำไรต่อชิ้นอาจจะไม่ถึง 1 เยนด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุนี้จึงเป็น การกล่าวปากต่อปาก เสียงเหล่านี้ที่ทำให้ “ไดโซ” เป็นที่รู้จักขึ้นมาได้ ตอนนี้อาจกล่าวได้ว่า “ไดโซ” เปรียบเสมือนเรือ ที่ร่อนอยู่ท่ามกลางพายุ และถือเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทาง ที่มีเป้าหมายข้างหน้าอีกยาวไกล

ถึงทุกวันนี้ พนักงาน “ไดโซ” ยังต้องขับรถบรรทุกที่หนักถึง 4 ตัน เพื่อนำสินค้าไปขายหน้าซุปเปอร์ โดยต้องขนของ ตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อไปให้ถึงที่หมาย และในตอนขากลับก็ต้องเก็บของทั้งหมด รวมไปถึงชั้นที่ใช้จัดวางสินค้า กลับมาจนดึก โดยรูปแบบการทำงานจะเป็นอย่างนี้ทุกวัน

เริ่มขยายร้านสู่ห้างสรรพสินค้า

k4

คุณยาโนมองดูเหล่าพนักงานที่เหน็ดเหนื่อยเหล่านั้น และทำให้เห็นว่า ยิ่งขายดีมากเท่าไหร่ งานก็ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ในช่วงเวลานั้น ก็มีคนเข้ามาชักชวนให้ไปเปิดร้านขายบริเวณ ชั้น 4 ของซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างอยู่ อยากลองไปขายดูหรือเปล่า

คุณยาโนกลัวว่า ที่ที่จะไปขายของนั้นเป็นพื้นที่ที่ไม่มีลูกค้า แต่ภายในร้านสามารถวางสินค้าทิ้งไว้ได้ เมื่อเลิกงานพนักงาน ก็สามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่ต้องให้พนักงาน มาเตรียมของตั้งแต่เช้าตรู่ ซึ่งถือว่าเป็นการลดงาน ของพนักงานได้อีกด้วย

เมื่อได้แรงผลักดัน ให้ลองเปิดร้านดูแล้ว จากที่ชั้น 4 ไม่มีลูกค้า ก็กลับมีจำนวนลูกค้ามากขึ้น หัวหน้าสาขาก็ได้ลงไปตะโกนเรียกลูกค้า “ร้านเราเป็นร้าน 100 เยน เมื่อซื้อสินค้า 100 เยนที่ชั้นล่างแล้ว

อย่าลืมแวะขึ้นไปที่ชั้น 4 นะครับ” และในตอนนั้น สินค้าที่ขายดีก็จะถูกวางเรียงอย่างชัดเจน เมื่อลูกค้ามองสินค้าแล้วก็สามารถ เลือกซื้อได้ง่าย หลังจากนั้น คุณยาโน จึงมีความคิดที่ว่าอยากจะเปิดร้านเป็นของตัวเองขึ้นมา

ทางเดินไปสู่การขยายสาขาไปทั่วประเทศ 47 สาขา ซึ่งทั้ง 47 สาขานี้ ไม่ได้มาจากความทะเยอทะยาน แต่มันมาจากความรู้สึกที่ว่า อยากให้คนหลายๆ คนได้เห็นและได้ใช้สินค้าของ “ไดโซ”

k5

อีกทั้งต้องการสร้างความยำเกรงให้กับบริษัทคู่แข่ง เนื่องจากในโลกของการค้าขายในปัจจุบันนี้ มีอัตราการเสี่ยงสูง ถ้าสู้เขาไม่ได้ก็ล้มละลาย ถ้าเราเผลอเลอก็จะโดนคู่แข่งตีตลาด ปัจจุบันนี้ทางบริษัทฯ จึงมีการออกบูท 50-60 บูทต่อเดือน

ในขณะเดียวกัน การเปิดบูท ก็คือ ทางที่นำไปสู่การเปิดสาขาใหญ่ ซึ่งจากการออกบูทนี่เอง ทำให้ลูกค้าตกใจมาก ก็คือ ในสาขากิกะเดือนเมษายน ปี 2000 ที่มีพื้นที่การขายถึง 6,612 ตรม.รวมทั้งสิ้น 5 ชั้น โดยเปิดเป็นร้านค้า 100 เยนทั้งอาคาร

ตอนที่เปิดร้านนั้น พนักงานได้บอกว่า ลูกค้าได้เข้ามาพูด พร้อมกับร้องไห้ไปด้วยว่าขอบคุณมากๆ ที่เปิดร้านเช่นนี้ขึ้นมา ถ้าลองจินตนาการถึงร้าน “ไดโซ” ที่เปรียบเสมือนสิ่งๆ หนึ่งในการใช้ชีวิต เช่น ห้างสรรพสินค้า Supermarket ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น

ดูแล้ว ถ้าในโลกนี้ไม่มีร้านดังที่กล่าวมา อาจจะทำให้เราลำบาก แล้วเราจะนึกถึงสิ่งใดเป็นอย่างแรก “ไดโซ” ก็รวมอยู่ในนั้นด้วยมิใช่หรือ พวกเรา “ไดโซ” เองก็คิดที่จะสร้างร้าน ที่ทำให้เกิดความจำเป็นต่อโลกใบนี้ขึ้นมา

ขยายสาขาไปเติบโตต่างประเทศ

k6

ในปี 2002 ได้เริ่มขยายสาขาไปยังตลาดต่างประเทศ สินค้าของ “ไดโซ” ที่ใช้ได้กับในตลาดญี่ปุ่น จะสามารถใช้กับตลาดต่างประเทศได้หรือไม่ ทั้งความคาดหวังที่จะขายและความไม่มั่นใจ แต่ “ไดโซ” ก็ก้าวออกไปสู่ตลาดต่างประเทศแล้ว

การเปิดตลาด โดยเริ่มจากหนึ่ง ท่ามกลางความไม่รู้อะไรเลย ซึ่งจะต้องใช้ความเสี่ยง ก็ยังคงดำเนินมาถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันนี้พนักงานจำนวนหนึ่ง ที่อยู่มาก่อน ก็ได้เลื่อนขั้นไปเป็นหัวหน้าสาขาในต่างประเทศ

สำหรับบริษัท “ไดโซ” แล้ว สิ่งที่เป็นการท้าทายที่สุดคือ การเปิดตัวในตลาดต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ แคนาดา เป็นต้น “ไดโซ” ไม่คำนึงถึงเป้าหมาย บรรทัดฐาน รวมไปถึง เรื่องของงบประมาณ

ดังนั้น ความเสี่ยงนี่เอง ที่ทำให้เป็น “ไดโซ” ขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ และสิ่งที่เป็นแรงผลักดัน ให้ “ไดโซ” ก้าวมาถึงทุกวันนี้คือ ความท้าทายที่จะทำในสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน รวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มีราคาที่หลากหลายมากขึ้น

ในจำนวนลูกค้าเหล่านี้ อาจจะมีคนที่บอกว่าสินค้าราคา 150 เยน 200 เยนนั้นแพง แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีลูกค้า ที่บอกว่าสินค้าแบบนี้ ได้ราคาขนาดนี้ก็หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว คุณยาโนคิดว่า คำติชมจากลูกค้าหลายๆ แบบเป็นสิ่งที่ดี

ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ในการทำงาน ความคิดต่างๆ ความยากลำบากที่ต้องเผชิญ รวมไปถึงความสุข เหล่านี้เองที่ทำให้เป็น “ไดโซ” ขึ้นมาได้ และต่อจากนี้ไป เขาก็จะพยายามทำสิ่งที่ท้าท้าย และแปลกใหม่ต่อไป

ความน่าสนใจลงทุนแฟรนไชส์ Daiso

k7

จุดขายของแฟรนไชส์: Daiso เป็นแบรนด์ที่จากญี่ปุ่นที่คนส่วนมากรู้จักกันอยู่แล้ว ทำให้ลูกค้าสามารถเกิดความเชื่อถือในตัวผลิตภัณฑ์ได้เลย โดยที่ไม่ต้องอาศัยการโปรโมทแต่อย่างใด และเหมาะสำหรับผู้ต้องการลงทุนแบบที่ไม่ต้องเหนื่อยมากเพราะ Daiso มีการบริการจัดร้านและตกแต่งร้านทุกอย่างแล้ว

สำหรับความเสี่ยงของการลงทุนแฟรนไชส์ ด้วยเหตุที่แฟรนไชส์ Daiso นั้นเป็นแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงและมีมาตรฐานเป็นของตัวเองสูง ทำให้แฟรนไชส์นี้มีข้อจำกัดว่า สามารถเปิดได้ในศูนย์การค้าเท่านั้น รวมถึงต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์นี้เหมาะกับผู้ที่มีเงินทุนค่อนข้างพร้อม

จากความน่าสนใจข้างต้นแล้ว หากผู้ใดสนใจทำธุรกิจกับ Daiso ก็สามารถติดไปได้เลยที่ 02-13896113 และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.daisothailand.com ซึ่งทางร้านมีบริการออกแบบ ตกแต่งร้านและติดตั้งระบบแคชเชียร์ให้ด้วย โดยรูปแบบการลงทุน

แฟรนไชส์โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 4,400,000 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

k9

  • ค่าแฟรนไชส์ 450,000 บาท (อายุสัญญา 5 ปี)
  • ค่ามัดจำสินค้า 450,000 บาท
  • ค่าออกแบบ 150,000 บาท
  • ค่าตกแต่งร้าน 1,500,000 บาท
  • ค่าติดตั้งระบบแคชเชียร์ 100,000 บาท
  • ค่าสินค้า 1,720,000 บาท (สำหรับพื้นที่ 100 ตารางเมตร)
  • ราคาขายส่ง 43 บาท / ชิ้น
  • ราคาขายปลีก 60 บาท / ชิ้น
  • ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปี

หากใครสนใจลงทุนแฟรนไชส์ สามารถติดต่อสอบถามไปที่

  • บริษัท ไดโซ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด 1/7-9 โกดัง F, G, H ถ.พัฒนาชนบท 3 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
  • โทรศัพท์ : 0-2138-9611-3
  • แฟกซ์: 0-2138-9610
  • อีเมล์ : info@daisoeshop.com
  • เว็บไซต์: www.daisothailand.com

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/1J8pV4
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์อื่นๆ goo.gl/o0PyrK

ขอบคุณรูปภาพจาก www.facebook.com/daisothailand

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3fyt5iy

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช