แปลงโฉม “ร้านของชำ” สู่ร้านแฟรนไชส์สะดวกซื้อขายดีใน Tmall จีน

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่กำลังคิดว่า “อีคอมเมิร์ซ” เข้ามาทำลาย “ธุรกิจค้าปลีก” แต่จริงๆ แล้วอีคอมเมิร์ซเข้ามาเป็นพันธมิตร และมีส่วนช่วยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกต่างๆ ให้มีมาตรฐาน เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น เพิ่มยอดขาย และอยู่รอด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

อีคอมเมิร์ซ ทุบค้าปลีกล้าสมัย

ร้านของชำ

ภาพจาก bit.ly/37SHrY1

จากกรณีข่าวที่ออกมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการปิดตัวของร้านค้าและห้างสรรพสินค้าจนร้างเป็นสุสานผี ทำให้หลายคนมองว่าธุรกิจค้าปลีกถึงคราวล่มสลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่าพึ่งไปเชื่อทั้งหมด เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือการเขย่าโมเดลธุรกิจค้าปลีกที่ล้าสมัย บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ ที่ควบคุมและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ ก็อยู่รอด และเจริญเติบโต

ยกตัวอย่างกรณี Tmall เป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก Taobao เป็นแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์แบบ B2C สำหรับธุรกิจในประเทศจีนและต่างประเทศ เพื่อขายสินค้าแบรนด์เนมให้กับผู้บริโภค โดยทั้ง Tmall และ Taobao เป็นธุรกิจในเครือของ Alibaba Group

Alibaba ดึงร้านชำ สู้ศึกค้าปลีกสมัยใหม่

โดย Alibaba Group ได้เข้ามาปฏิวัติผู้ค้าปลีกอิสระ เช่น ร้านโชว์ห่วย ร้านขายของชำ ร้านสะดวกซื้อ ด้วยระบบแฟรนไชส์ เพื่อปรับปรุงรูปแบบร้านค้าและจัดหาเทคโนโลยี ซัพพลายเออร์ และผลิตภัณฑ์ ให้มีมาตรฐานและทันสมัยมากขึ้น

อาลีบาบายังเป็นผู้จัดจำหน่ายให้ร้านสะดวกซื้อสำหรับคุณแม่และร้านป๊อป ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาลีบาบาและนำแบรนด์เทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของอาลีบาบาขยายไปทั่วเมืองใหญ่และเมืองเล็กของจีน จนกระทั่งมีร้านค้าอิสระกว่า 2,000 ร้านเข้าสู่แพลตฟอร์มของอาลีบาบา และสร้างคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซทั่วชนบทในระยะเวลาไม่กี่ปี

Weijun Grocery พันธมิตรร้านแรก Tmall

19

ภาพจาก bit.ly/3xXRdCG

ในเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง มีร้านขายของชำแห่งหนึ่งชื่อ Weijun Grocery ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Tmall โดยนอกจากหน้าร้านยังมีโลโก้ Tmall รวมถึงชื่อเดิมของร้าน Weijun Grocery โดยภายในร้านจะมีการปรับกรุง ตกแต่งใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้เข้ากับความทันสมัยและการเป็นหุ้นส่วนของอาลีบาบา

โดยเจ้าของร้านแห่งนี้มาจาก Wenzhou เมืองที่ไม่ไกลนัก และเปิดร้านสะดวกซื้อมาตั้งแต่ปี 2009 เนื่องจากร้านอยู่ใกล้กับวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ขายเครื่องดื่ม และขนมให้นักเรียน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ร้านสะดวกซื้อ

เช่น 7-Eleven และ FamilyMart ได้เปิดทุกที่ในหางโจว ดึงดูดคนจีนไปใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งขายออนไลน์ จึงทำให้กำไรของร้านขายของชำลดลงอย่างรวดเร็ว บางแห่งก็ตาย รวมถึงร้าน Weijun Grocery ก็อยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นกัน

แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส เมื่อ Tmall ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับทางร้าน Weijun Grocery ถือเป็นร้านสะดวกซื้อสำหรับคุณแม่และร้านป๊อปแห่งแรกร่วมเป็นพันธมิตรกับ Tmall หลังจากนั้นพบว่ายอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

18

ภาพจาก bit.ly/3g9m4pS

นอกจาก Tmall ช่วยปรับปรุงร้าน ติดโลโก้ Tmall และเพิ่มชั้นวางสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ Tmall อีก 2-3 ชั้น พัฒนาแอปฯ มือถือ Ling Shou Tong มีระบบวิเคราะห์ข้อมูล เหมือนร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ที่ได้ติดตั้งระบบดิจิตอลนี้

ระบบ Ling Shou Tong ในภาษาจีนคือ “Retail Integrated” โดยร้าน Weijun Grocery ต้องใช้ระบบนี้เพื่อบันทึกทุกการขาย (ระบบแคชเชียร์) และติดตามสินค้าคงคลัง ระบบนี้อ้างว่าใช้คลาวด์คอมพิวติ้งของอาลีบาบา เพื่อช่วยเจ้าของร้านค้าเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อผลิตภัณฑ์และเพิ่มยอดขาย

โดย แอปฯ ช่วยให้เจ้าของร้านรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในร้าน แม้ว่าจะเดินออกไปนอกร้าน เพียงแค่ตรวจสอบแอปฯ ในโทรศัพท์สมาร์ทเท่านั้น แต่เจ้าของร้านหลายคน ต่างก็มีความกังวลอยู่ลึกๆ ว่าอาลีบาบาจะมีข้อมูลการทำธุรกรรมทั้งหมดของร้านขายของชำมากเกินไป

หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2560 อาลีบาบาประกาศตั้งเป้านำร้านขายของชำกว่า 1 ล้านแห่งเข้าสู่ระบบค้าปลีกของ Tmall ภายในเดือนมีนาคม 2561 (ไม่มีข้อมูลที่เปิดเผยว่า พวกเขาบรรลุเป้าหมายหรือไม่)

นอกจากร้านขายของชำและโชว์ห่วยจะใช้เทคโนโลยีของบริษัทอีคอมเมิร์ซแล้ว ยังมี Mega-store หันมาใช้แอปฯ ของอาลีบาบาไปยังเครื่องจำหน่ายรถยนต์อัตโนมัติ โดยอาลีบาบาเปิดตัวเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติสำหรับรถยนต์กับ Ford Motor Company ให้ผู้ซื้อสามารถเลือกจาก 100 คันบนแอปฯ มือถือ TMall ของบริษัทและทดลองขับได้ทันที

Amazon พัฒนาสู่ร้านสะดวกซื้อ Amazon Go

17

ภาพจาก bit.ly/3jZ7u5w

นอกจากนี้ ยังมีการซื้อหุ่นยนต์ในประเทศโดยไม่ต้องชำระเงินของ Amazon และในสหรัฐอเมริกา Amazon ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้าปลีกเช่นกัน เพิ่งเข้าซื้อกิจการของ Whole Foods รวมถึงเพิ่งเปิดตัวร้านสะดวกซื้อ Amazon Go พร้อมรูปแบบการช็อปปิ้งแบบใหม่โดยไม่ต้องชำระเงินภายในร้าน (ไม่มีแคชเชียร์)

ประโยชน์ร้านค้าสมัครร่วมพันธมิตร Tmall

16

ภาพจาก https://about.tmall.com/

สำหรับร้านค้าปลีก รวมถึงร้านขายของชำ จะได้รับประโยชน์ในระยะสั้นและระยะยาวหลายประการจากร่วมเป็นพันธมิตรกับทาง Tmall ได้แก่

  1. การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการตกแต่งร้านใหม่
  2. มีแบรนด์ Tmall และแบรนด์ร้านเดิม
  3. ซื้อสินค้าบางส่วนในราคาต่ำจากซัพพลายเออร์
  4. บริหารจัดการร้านได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. ช่วยประหยัดค่าจ่ายได้นับล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นการการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ในการแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อรายใหญ่

อย่างไรก็ตาม ตามรายงานของ Reuters Ling Shou Tong ร้านค้าปลีกในจีนที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับทาง Tmall ต้องจ่าย 3,000 หยวน ($454.47) และค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มรายปี 3,000 หยวน เพื่อใช้งานแอปฯ Ling Shou Tong

15

ภาพจาก https://www.tmall.com/

โดยร้านค้าปลีกเครือข่าย (แฟรนไชส์) สามารถมีอำนาจต่อรองในการซื้อสินค้ากับซัพพลายเออร์และผู้ซื้ออื่นๆ ที่สำคัญ อาลีบาบาจะรวบรวมข้อมูลพันธมิตรกับร้านสะดวกซื้อต่างๆ และร้านค้าปลีกอื่นๆ

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผ่าน Tmall และ Taobao อาลีบาบามีข้อมูลการซื้อออนไลน์จำนวนมาก และผ่าน Ling Shou Tong อาลีบาบาจะมีข้อมูลออฟไลน์ของร้านค้าหลายล้านแห่ง และในประเทศจีน 85% ของยอดขายปลีกยังคงทำแบบออฟไลน์

ร้านค้าในเมืองไทยเข้าร่วมพันธมิตร Tmall ได้หรือไม่

14

ภาพจาก https://bit.ly/3spUbif

ตามรายงานข้อบนเว็บไซต์ https://chinafastway.com/3613/how-to-apply-tmall-global/ ระบุว่าผู้ประกอบการร้านค้าในต่างประเทศสามารถสมัครเป็นพันธมิตรกับทาง Tmall ได้ ดังต่อไปนี้

Tmall Global รับร้านค้า 6 ประเภท ได้แก่ Supermaket, Industry, Brand flagship stores, ร้านค้าพิเศษ, ร้านแฟรนไชส์, ร้านแฟรนไชส์กาแล็กซี่ ทั้งนี้ร้านประเภท Supermaket และ Industry นั้นจำกัดเฉพาะผู้ที่ได้รับเชิญเท่านั้น

เงื่อนไขและคุณสมบัติการสมัคร

  • เป็นเจ้าของนิติบุคคลในต่างประเทศ
  • เป็นเจ้าของ หรือมีอำนาจใช้แบรนด์สินค้านั้นๆ
  • ต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศมานานกว่า 1 ปี และแบรนด์มีการขายปลีกในต่างประเทศ
  • หากบริษัทที่สมัครเป็นตัวเเทนแบรนด์ บริษัทจะต้องได้รับมอบอำนาจ ที่ออกโดยเจ้าของเครื่องหมายการค้า ณ ประเทศที่นำพักอาศัย

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • เอกสารรับรองเครื่องหมายการค้าไทย
  • เอกสารรับรองเครื่องหมายการค้าจีน
  • หนังสือรับรองบริษัท พร้อมแปลให้เรียบร้อย
  • บอจ.5
  • บัญชีธนาคาร
  • หนังสือเดินทาง
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • หนังสือรับรองการผลิตสินค้าจากโรงงาน
  • แผนการตลาด
  • เอกสารข้างต้นต้องแปลให้เรียบร้อย พร้อมรับรองเอกสารทุกฉบับ

ผู้ประกอบการท่านใดสนใจสมัคร คลิก https://openshop.tmall.hk

13

ภาพจาก bit.ly/3mb5Ujp

#เลือกประเภทร้านค้าที่ต้องการ, กรอกข้อมูล, อัพโหลดเอกสาร และ submit จากนั้นก็รอร้านค้าอนุมัติปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 40 วัน ระบบจะแจ้งว่าเราอยู่ในขั้นตอนไหน และเหลืออีกกี่ขั้นตอน

#เมื่อร้านได้รับการอนุมัติ จากนั้นต้องจ่ายค่ามัดจำ ซึ่งสินค้าแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน เริ่มต้น 30,000 หยวน สูงสุด 800,000 หยวน

#นอกจากค่ามัดจำร้านค้าแล้ว ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าบริการใช้แพลตฟอร์มรายปีประมาณ 60,000 หยวน หรือ 300,000 บาท แต่ถ้ามียอดขายเกิดขึ้น ทาง Tmall จะหักค่า GP ไม่เกิน 5%

จากนั้นก็ทำการตกแต่งร้านค้า เพื่อเตรียมค้าขายได้ และ Tmall Global จะมีการถอนเงินอัตโนมัติ เมื่อยอดขายครบ 5,000 USD เข้าบัญชีที่ผูกไว้ในขั้นตอนการสมัคร และเราสามารถเลือกสกุลเงินอื่นๆ ได้เช่นกัน

เมืองไทยมี “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน”

12

ภาพจาก bit.ly/3AMA9kX

ได้เห็นธุรกิจยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง อาลีบาบา ในประเทศจีน แปลงโฉมร้านค้าปลีกรายย่อย เช่น ร้านขายของชำ ร้านโชว์ห่วย พัฒนาระบบการขายแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อสมัยใหญ่ 7-Eleven และ FamilyMart ไปแล้ว

11

ภาพจาก bit.ly/3AMA9kX

กลับมาในเมืองไทยก็มีเช่นกัน หากจำกันได้ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ของ คาราบาวกรุ๊ป นำโดย “คุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์” ได้เปิดตัวแบรนด์ “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” เพื่อเป็นการยกระดับโชว์ห่วยของไทย สู่ร้านสะดวกซื้อที่ทันสมัย ปรับหน้าร้าน พัฒนาระบบการจัดการหน้าร้านและหลังร้านที่ดี ถือว่าประสบความสำเร็จมาแล้วที่นครปฐม ก่อนจะขยายไปขอนแก่น และพิษณุโลก ตามมาด้วยแรงกระเพื่อม ในวงการโชว์ห่วยตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ

ที่ผ่านมามีร้านค้าสนใจติดต่อขอเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์จำนวนมาก และมีการปรับโชว์ห่วยของชาวบ้านให้เป็นร้านถูกดีแล้วกว่า 200 สาขา โดยในปี 2564 ตั้งเป้าขยายเป็น 5,000 สาขา และไปให้ถึง 30,000 สาขาในอีก 5 ปีข้างหน้า

10

ภาพจาก bit.ly/3AMA9kX

โดยบริษัทฯ เข้าไปช่วยลงทุนเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งการจัดการสต็อกสินค้า และระบบบัญชี คิดเป็นงบลงทุนกว่า 1 ล้านบาทต่อร้าน ขณะที่เจ้าของร้านจะลงทุนในการปรับปรุงโครงสร้างอื่นๆ ของร้าน เฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 แสนบาท สำหรับรายได้ของธุรกิจ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือให้ร้านค้า 85% และบริษัท 15% เราต้องการให้ร้านค้าอยู่ได้ เมื่อร้านค้าอยู่ได้ บริษัทก็อยู่ได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3ANqhav , https://bit.ly/3AMrI97 , https://bit.ly/3spUUQg

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3CW4C1R

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช