แนะนำผู้ซื้อแฟรนไชส์ ผู้ขายแฟรนไชส์ ช่วง COVID-19

เชื่อหรือไม่ว่า ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ แม้ในช่วงการะบาดของไวรัสโควิด-19 ที่สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ ธุรกิจต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ นักลงทุน ไม่กล้าที่จะควักเงินออกจากกระเป๋าแม้แต่แดงเดียว

เพียงแค่ประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดและก้าวพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้เท่านั้น แต่อย่าลืมว่ายังมีธุรกิจอีกหลายๆ อย่างที่ได้รับประโยชน์จากวิกฤตโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ที่บริการเดลิเวอรี่ ร้านสะดวกซื้อ จัดส่งพัสดุ-ไปรษณีย์ ออนไลน์ เป็นต้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อแนะนำให้กับผู้ที่อยากทำธุรกิจในช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ทั้งผู้ซื้อแฟรนไชส์ และผู้ขายแฟรนไชส์ เกี่ยวกับการปฏิบัติหากต้องการอยากซื้อแฟรนไชส์ และขายแฟรนไชส์

ผู้ซื้อแฟรนไชส์

1.เลือกแฟรนไชส์ผลกระทบน้อย

33

หากต้องการซื้อแฟรนไชส์ในช่วงโควิด-19 อย่างแรกต้องเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดน้อยที่สุด หรือไม่ได้รับผลกระทบเลย เป็นธุรกิจที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในช่วงวิกฤตได้ดีด้วย เป็นธุรกิจที่เหมาะกับสถานการณ์ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ที่บริการเดลิเวอรี่ ร้านสะดวกซื้อ จัดส่งพัสดุ-ไปรษณีย์ ออนไลน์ เป็นต้น

2.สินค้าหรือบริการตอบโจทย์

32

นอกจากเลือกธุรกิจที่ได้รับปลกระทบน้อยแล้ว ต้องซื้อแฟรนไชส์ที่มีสินค้าและบริการตอบโจทย์ลูกค้าในช่วงวิกฤตด้วย เช่น คนก็ยังต้องกินข้าว กินน้ำ อยากซื้อของ อยากต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ส่งสินค้าให้กัน อยากสะดวกสบาย อยากค้าขาย ซึ่งต้องดูว่ามีแฟรนไชส์อะไรบ้าง ที่มาตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าเหล่านี้ได้

3.ใช้งบการลงทุนไม่สูงมาก

31

ในช่วงวิกฤตที่หลายคนคิดว่าจะไม่จบง่ายๆ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำธุรกิจมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะอย่าลืมว่าเมื่อเปิดร้านแล้ว คุณอาจจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อย 3-4 เดือนเป็นอย่างน้อย ต้องมีการซื้อสินค้าวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน ดังนั้น หากจะลงทุนแฟรนไชส์ในช่วงนี้ต้องเลือกแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก และมีโอกาสสร้างรายได้ในวิกฤต

4.บริษัทมีนโยบายสนับสนุน

30

ช่วงวิกฤตโควิด-19 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำ การช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เพราะอย่าลืมว่าการทำธุรกิจในช่วงวิกฤตย่อมมีปัญหาและอุปสรรคมากมาย ผู้ซื้อแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีผู้ช่วยแนะนำการขาย ดังนั้น ต้องดูว่าบริษัทแฟรนไชส์ไหนบ้างที่จะให้การช่วยเหลือ และพาก้าวพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้

5.แฟรนไชส์เปิดได้ในทุกทำเล

29

ถ้าหากคุณเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่เปิดได้บางเฉพาะทำเลนั้นทำเลนี้ เช่น เปิดได้เฉพาะห้างสรรพสินค้า แหล่งท่องเที่ยว โรงเรียน ถ้าเปิดได้เฉพาะทำเลแบบนี้ รับลองว่าเจ๊งตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เพราะทำเลเหล่านี้ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงโควิด-19 ดังนั้น ต้องเลือกแฟรนไชส์ที่สามารถเปิดขายได้ทุกทำเล ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย

6.แฟรนไชส์ปรับรูปแบบการขายได้

28

แฟรนไชส์ที่ขายได้เฉพาะแบบหน้าร้าน จะไม่เหมาะในการลงทุนในช่วงโควิด-19 เพราะผู้บริโภคจะไม่อยากออกมา เพราะกลัวติดเชื้อโรค ไม่อยากอยู่ในกลุ่มคนมากๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ร้านก็ขายไม่ได้ ดังนั้น แฟรนไชส์จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบในการขายได้ เช่น ขายได้ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ เดลิเวอรี่ และซื้อกลับทานบ้าน

ผู้ขายแฟรนไชส์

1.ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก

27

ผู้ขายแฟรนไชส์หลายๆ คนมักจะตื่นตระหนกเมื่อเกิดวิกฤต คิดไปก่อนว่าธุรกิจของตัวเองจะแย่ตามไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ธุรกิจรอวันเจ๊งตามวิกฤตได้เลย ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์ต้องตั้งสติให้มั่น ให้คิดว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นเดี๋ยวก็ผ่านไป เตรียมตัวหาวิธีการสู้กับวิกฤตที่เกิดขึ้นให้ได้ เช่น หาวิธีการขายแฟรนไชส์ใหม่ๆ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าร้านให้สอดรับกับวิกฤต

2.สร้างแบรนด์ต่อเนื่อง

21

แม้ว่าการเกิดวิกฤต อาจจะทำให้นักลงทุนมาซื้อแฟรนไชส์ได้ยาก แต่อย่าลืมว่าคุณยังต้องขายแฟรนไชส์ และยังต้องสร้างแบรนด์ควบคู่ไปด้วย เพราะเมื่อวิกฤตจบเร็วเมื่อไหร่ แบรนด์แฟรนไชส์ที่แข็งแกร่ง ยืนหยัดอยู่รอดได้ ก็จะยิ่งมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ในช่วงหลังจบวิกฤต ขณะเดียวกันเจ้าของแฟรนไชส์ต้องวางแผนธุรกิจหลังจบวิกฤตด้วย

3.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน

26

เจ้าของแฟรนไชส์ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และนักลงทุน ในเรื่องของความปลอดภัยจากโรค เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการบริการภายในร้าน ไม่ว่าจะเป็น บริการเจลล้างมือก่อนเข้าร้าน ที่นั่งเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากาก การใส่ถุงมือพนักงาน รวมถึงมาตรการรักษาความสะอาดภายในร้านอย่างเข้มข้น โดยต้องสื่อสารออกไปให้ลูกค้าได้ทราบ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

4.ดำเนินนโยบายสู้โควิด

25

นอกจากจะสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าและนักลงทุนแล้ว เจ้าของแฟรนไชส์ยังต้องดำเนินนโยบายสู้โควิด-19 ปรับรูปแบบการขายและดำเนินธุรกิจให้เข้ากับวิกฤติ เช่น ปรับรูปแบบการให้บริการลูกค้าเป็นเดลิเวอรี่ หรือให้ลูกค้าซื้อกลับไปทานบ้าน รวมถึงต้องศึกษาคู่แข่งในตลาดด้วยว่าเขาทำอะไรกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ เมนู และราคา เพื่อสร้างความได้เปรียบ

5.ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ

24

เป็นเรื่องสำคัญมากหากเจ้าของแฟรนไชส์ต้องการขายแฟรนไชส์ในช่วงโควิด-19 เพราะค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุนแต่ละครั้งเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์คิดแล้วคิดอีก เมื่อจะใช้เงินลงทุนมากก็คิดหนัก คิดนาน ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์ต้องลดงบประมาณลงทุนแฟรนไชส์ให้เข้ากับวิกฤต เช่น ค่าตกแต่งร้าน ค่าสิทธิ์ต่างๆ รวมถึงค่าเช่า ค่าสินค้า เป็นต้น

6.ปรับรูปแบบการขาย

23

เชื่อว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะขายแฟรนไชส์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ได้ยากมาก เพราะนักลงทุนกลัวว่าเปิดร้านไปแล้วจะขายไม่ได้ ไม่มีลูกค้า เปิดแล้วก็เจ๊ง ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีสิทธิเกิดขึ้นกับเจ้าของแฟรนไชส์ทุกคน ดังนั้น เมื่อผู้บริโภคอยู่แต่ในบ้าน ทำงานจากที่บ้าน หากจะขายแฟรนไชส์ได้ต้องตอบโจทย์นักลงทุน และผู้บริโภคได้ในเวลาเดียวกัน

อย่างกรณี “หมูปิ้งฮียอ้วน” ก็เปลี่ยนรูปแบบการขายแฟรนไชส์ในช่วงวิกฤตมาเป็นการขาย “ชุดเปิดร้านอยู่บ้าน” แล้วนำเดลิเวอรี่มาช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ขายได้ง่ายขึ้นด้วย ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ไม่อยากออกจากบ้าน ซึ่งจากเดิมขายแบบปิ้งข้างถนน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤติ “โควิด-19” แสดงให้เห็นถึงทฤษฎีวงจรธุรกิจว่ามีขึ้นมีลง อยากให้เจ้าของแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำธุรกิจต้องระมัดระวัง รู้จักมองวิกฤติให้เป็นโอกาส การมองวิกฤติให้เป็นโอกาส คือ การมองหาข้อดีในปัญหาที่เกิดขึ้น และใช้ข้อดีนั้นมาช่วยสร้างโอกาสของธุรกิจอีกครั้ง

เช่น ยอดขายลดลง ลูกค้าหายไป จะทำให้ค้นพบช่องทางการตลาดใหม่ๆ ที่จะเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น ถ้าคุณเป็นร้านอาหารที่อร่อย ลูกค้าติด คุณต้องมองว่าลูกค้าหายไปเพราะอะไร คุณอาจจะจัดส่งอาหารถึงมือลูกค้าเลยก็ได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

ผู้ขายแฟรนไชส์

  1. ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก
  2. สร้างแบรนด์ต่อเนื่อง
  3. สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน
  4. ดำเนินนโยบายสู้โควิด
  5. ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ
  6. ปรับรูปแบบการขาย

ผู้ซื้อแฟรนไชส์

  1. เลือกแฟรนไชส์ผลกระทบน้อย
  2. สินค้าหรือบริการตอบโจทย์ 
  3. ใช้งบการลงทุนไม่สูงมาก
  4. บริษัทมีนโยบายสนับสนุน
  5. แฟรนไชส์เปิดได้ในทุกทำเล
  6. แฟรนไชส์ปรับรูปแบบการขายได้

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/2JSoybs

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช