แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ปี 2559 by กวิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไดเวอร์ซิไฟด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ใครเคยไปร่วมงานเหล่านี้บ้างคะ ไม่ว่าจะเป็นงาน Thai Franchise & SME Expo, งาน Thailand Coffee, Tea & Drinks, งานThailand Bakery & Ice Cream, งานท่องไทยท่องโลก, งานThailand Bike & Vehicle, งาน TFBO – Thailand Franchise & Business Opportunities และงาน TRAFS – Thailand Retail, Food & Hospitality Service 2016


งานใหญ่ ๆ ประจำปีต่าง ๆ เหล่านี้ มีผู้อยู่เบื้องหลังคนสำคัญอย่าง กวิน กิตติบุญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไดเวอร์ซิไฟด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด  ที่คอยดูแลอยู่นั่นเอง ทาง ThaiSMEsCenter.com ได้พูดคุยกับคุณกวินในเรื่อง แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ และงานแฟรนไชส์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2559 นี้ ซึ่งได้ข้อมูลน่าสนใจมากมายมาฝาก ไปอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณกวินกันเลยค่ะ

IMG_3723

ภาพรวมของธุรกิจและงานแฟรนไชส์ในปีที่ผ่านมา (2558)

แง่ของผู้ลงทุน

คุณกวินกล่าวว่า “ ถ้าพูดถึงภาพรวมคนไทยนั้นมีการตื่นตัวมากขึ้น รู้จักธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะเหตุผลที่ต่างกันไปของแต่ละคน จึงทำให้เกิดความสนใจในธุรกิจ และงานเกี่ยวกับแฟรนไชส์มากขึ้น”
ซึ่งคุณกวินได้แบ่งผู้ที่สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์ และมาเดินในงานแฟรนไชส์ออกเป็น 4 กลุ่ม

1. คนที่มีเงินออม
กลุ่มคนที่มีเงินออมนั้นสนใจธุรกิจแฟรนไชส์เนื่องจาก เป็นการมองหาทางเลือกของการลงทุน เหตุผลเพราะว่าดอกเบี้ยที่น้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้คนที่เคยได้ดอกเบี้ยสูง ๆ จากการนำเงินไปฝากธนาคารไว้เฉย ๆ เริ่มหันมามอง และพิจารณาในเรื่องของธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น นี่คือกลุ่มของคนที่มีเงินออม และยังต้องการหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่า

2. คนที่มีรายได้ปานกลาง
คือ กลุ่มคนที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่อยากที่จะเป็นลูกจ้างอีกต่อไปนั่นเอง เมื่อยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างไร คนกลุ่มนี้จึงมองธุรกิจแฟรนไชส์เป็นทางเลือก โดยการมาเดินหาจากงานแฟรนไชส์ที่จัดขึ้น เพื่อมองว่าธุรกิจใดบ้างที่พวกเขาสามารถทำได้ บางคนมาเรียนรู้ มาเดินในงาน แล้วไปลองทำธุรกิจเองก็มี

3. คนที่ครอบครัวมีฐานะ
คือครอบครัวที่มีพื้นฐานด้านการเงินดีที่อยู่แล้ว และอยากให้ลูกหลานที่เรียนจบมามีธุรกิจเป็นของตัวเอง บางครอบครัวจึงเริ่มจากการมองธุรกิจแฟรนไชส์ และมาเดินหาข้อมูลในงานแฟรนไชส์

4. กลุ่มคนว่างงาน
กลุ่มคนว่างงานที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็สนใจธุรกิจแฟรนไชส์ และมาเดินชมในงานแฟรนไชส์มากขึ้น เนื่องจากมาหาธุรกิจที่ตนเองสนใจ และสามารถทำได้ในงานนี้

 

ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด เช่น ธุรกิจร้านกาแฟ เมื่อก่อนคนที่นิยมดื่มกาแฟยังไม่มากเท่าสมัยนี้ เพราะผู้ใหญ่จะคอยบอกว่าเป็นเด็กอย่าดื่มกาแฟเลยมันไม่ดี แต่เดี๋ยวนี้ความคิดนั้นมันเปลี่ยนไป เด็กระดับมัธยมปลายดื่มกาแฟกันเยอะมาก ฐานธุรกิจกาแฟมันขยายจนกระทั่งมันเยอะมากในปัจจุบัน ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ก็คล้ายกันคือ คนค่อย ๆ สนใจ เรียนรู้เรื่องการลงทุน เห็นได้จากธุรกิจที่เติบโตคนซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น การได้รับการยอมรับมีเยอะขึ้น หลายแบรนด์แข็งแรง

 

4
ภาพจาก www.thailandcoffee.net/2016/

 

แง่ของการลงทุน

ในปีที่ผ่านมาคุณกวินเล่าว่า รู้สึกดีใจมากที่นักลงทุนมีความรู้ และความเข้าใจในธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้นทุกวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะการที่นักลงทุนมีความรู้ คามเข้าใจ จะทำให้ผู้ประกอบการทำงานง่าย

คุณกวิน กล่าวว่า “เรื่องตัดสินใจการลงทุนนั้นเป็นประเด็นรองลงมา ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยประกอบเช่น บรรยากาศของการลงทุน อารมณ์ที่อยากจะลงทุนด้วย เพราะธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ไม่ใช่ลงทุนวันนี้แล้วเห็นผลทันที แต่ผลตอบแทนการลงทุนมันยั่วยวน ถ้าเราฝากเงินธนาคาร ดอกเบี้ยดีที่สุดอยู่ที่ประมาณ 2% แต่ถ้าให้ไปลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนในการลงทุนมีมากกว่า 15% เป็นขั้นต่ำแน่นอน”

คุณกวินยังกล่าวอีกว่าในมุมมองของตนนั้นมองเป็นเรื่องของการลงทุนไว้ 2 ประเด็น คือ
1. คนไทย หรือนักลงทุนมีความเข้าใจในธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น
2. ฐานของคนที่สนใจมองหาธุรกิจแฟรนไชส์มีเยอะขึ้น

 

แง่ของการเติบโต

ในแง่ของการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในปีที่ผ่านมา (2558) คุณกล่าวถึง 2 ประเด็น ดังนี้

1. สำหรับคนที่เปิดธุรกิจแฟรนไชส์อยู่แล้ว ปี 2558 นี้อาจไม่โตมาก ในแง่ยอดขาย หลายคนโชคดียอดขายตามเป้าหมาย หลายคนโชคไม่ดียอดขายไม่ถึงเป้าหมาย แต่โดยเฉลี่ยยังอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ได้

2. สำหรับคนที่เปิดร้านใหม่ ๆ ในปี 2558 อาจจะดูช้า ๆ ไปนิดนึง เพราะเรื่องบรรยากาศของการลงทุน

คุณกวินกล่าวว่าภาพรวมของธุรกิจและงานแฟรนไชส์ในปี 2558 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นใน แง่ของผู้ลงทุน แง่ของการลงทุน และแง่ของการเติบโตนั้น

“ผมถือว่าตอนนี้มันโตขึ้นดีวันดีคืน ผมสังเกตจากสถิติจำนวนคนที่เข้ามาดูในงาน ซึ่งมีผู้คนที่เข้ามาดูงานแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งครั้งเยอะมาก เพราะหลายคนที่เคยมาแล้วประสบความสำเร็จก็กลับมาใหม่ มาซื้อเพิ่มก็มี”

อีกหนึ่งอย่างที่ทำให้คุณกวินแน่ใจว่าธุรกิจด้านแฟรนไชส์ และงานแฟรนไชส์ได้รับความสนใจมาก คือดูได้จากเว็บไซต์ของ www.thaifranchisecenter.com นั่นเอง คุณกวินทราบว่าจำนวนคนที่คลิกเข้าชม เพื่อหาข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ ในเว็บไซต์นั้นเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งแปลว่าคนเริ่มสนใจในธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้นเรื่อย ๆ

 

IMG_3728

แนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2559

คุณกวิน แบ่งแนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2559 เป็น 2 ส่วน คือ

1. แฟรนไชส์จากในประเทศ

เมื่อพูดถึงในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยมีแบรนด์แฟรนไชส์มากที่สุดกว่า 100 แบรนด์ ซึ่งถ้าคิดเป็นจำนวนสาขามีมากถึง 11,000 สาขา เนื่องจากเซเว่น-อีเลฟเว่น แบรนด์เดียวก็มีถึง 8,000 กว่าสาขา ซึ่งยังไม่นับแบรนด์ใหญ่อย่าง KFC, McDonalds, Pizza Hut, The Pizza Company, Swensens, Dairy Queen แบรนด์เหล่านี้ร่วมกันก็เป็นพันกว่าสาขา อีกทั้งยังไม่นับแบรนด์ใหญ่ ๆ ของคนไทย ซึ่งทุก ๆ แบรนด์มีการวางแผนขยายสาขาทั้งสิ้น

โดยเบื้องต้นถ้าคำนวณว่าจะมีสาขาของแบรนด์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 10% ของแฟรนไชส์ทั้งหมด แปลว่าในปี 2559 จะมีสาขาที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1,100 สาขา คือปกติแต่ละธุรกิจคงมีการวางแผนเป้าของการเปิดสาขาไว้

“ผมว่าไม่น้อยเลยทีเดียว ที่นี้ตัวแปลที่สำคัญเลยก็คือ ภาวะเศษรฐกิจ และกำลังซื้อ บรรยากาศในการลงทุน สถานการณ์การเมืองไม่ได้มีปัญหามาก เพราะการเมืองค่อนข้างนิ่งในช่วงปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 1,100 สาขาใหม่ ที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2559 นี้ ไม่นับต่างประเทศที่กำลังเข้ามาในเมืองไทยนะครับ”

 

2.แฟรนไชส์จากต่างประเทศ

 

“ผมเข้าใจว่ามีแฟรนไชส์จากต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเยอะมาก
เขามองว่าเมืองไทยน่าสนใจและน่าดึงดูดมาก ตอนนี้ที่เห็นเข้ามาหลัก ๆ เลยคือ
สหรัฐอเมริกาที่เราก็จะเห็นแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามา ยิ่ง ญี่ปุ่น ที่จะเห็นเข้ามาเยอะมาก”

 

คุณกวินยังกล่าวอีกว่า อัตราการเกิดแบรนด์ใหม่ ยิ่งเป็นแบรนด์ของญี่ปุ่นนั้นมีเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคนไทยชอบอาหารญี่ปุ่น ซึ่งประเทศในแทบเอเชียอย่างเกาหลีก็มีเข้ามาบ้าง ส่วนแบรนด์แฟรนไชส์จากกลุ่มอาเซียนไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์ เริ่มจะค่อย ๆ ได้รับการยอมรับมากขึ้น ตอนนี้ยังไม่มีสถิติที่แน่นอน แต่สามารถคาดเดาได้เลยว่าแต่ละปีแบรนด์แฟรนไชส์จากเมืองนอกที่เข้ามาเปิดในเมื่อไทยนั้นมีไม่ต่ำกว่า 10 แบรนด์แน่นอน

 

ปี 2559 ได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีการเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการจัดงานแฟรนไชส์

2 ประเด็นใหญ่ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอนในงานแฟรนไชส์ปี 2559 นี้ คือ

1. ประเทศที่จะเข้าร่วมงานเราเชื่อว่ามีมากขึ้น เพราะแบรนด์แฟรนไชส์ในกลุ่มอาเซียนเริ่มแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งทางผู้จัดงานเองก็ได้รับการติดต่อสอบถามจากต่างประเทศเข้ามามาก ทางด้านประเทศในกลุ่มอาเซียนมีหลายประเทศที่แบรนด์แฟรนไชส์เริ่มแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็น ตรงนี้เองถ้าเรามองกลับ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์ คือ 4 ประเทศหลัก ๆ ที่เริ่มมีเติบโตในธุรกิจแฟรนไชส์ อีกประเทศที่น่าสนใจคือ เวียดนาม ที่มีแบรนด์กาแฟใหญ่ ๆ อยู่ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรง และน่าสนใจของแบรนด์นั้นด้วยว่าจะมีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน

2. เรื่องของเนื้อหา ทางผู้จัดงานเองจะมีการจัดสัมมนาที่จะเป็นการร่วมกับสมาคมแฟรนไชส์จากต่างประเทศในกลุ่ม AEC มาให้ความรู้กับนักลงทุนในประเทศไทย ที่มองหาโอกาสว่าแบรนด์แฟรนไชส์ในแต่ละประเทศของเขาเองนั้นมีความสนใจมากน้อยแค่ไหนอย่างไร เพื่อจะเป็นองค์ความรู้ให้กับนักลงทุน เป็นโอกาสพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน

 

IMG_3719

สิ่งที่เจ้าของธุรกิจจะต้องปรับตัวเมื่ออยากขยายธุรกิจของคุณไปต่างประเทศ

คุณกวินกล่าวว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ “ความแข็งแรงของแบรนด์ เพราะแบรนด์ที่มีความสนใจอยากจะขยายธุรกิจไปต่างประเทศ ก็จะมีโอกาสง่ายขึ้นเพราะกำแพงต่าง ๆ จะถูกลดลง ในระดับหนึ่ง ซึ่งตัวแบรนด์เองจะต้องพยายามพัฒนาตัวเองสร้างระบบของตัวเองให้เข้มแข็ง และแข็งแรงเพื่อที่จะได้สามารถบริการตรงนี้ได้อย่างดีที่สุด”

 

คิดว่าแฟรนไชส์ประเภทใดที่ท่านเห็นว่า ยังมีโอกาสเติบโตได้สูงในอนาคตอันใกล้นี้

คุณกวินกล่าวว่า “ถ้านับจากศูนย์ยังไงธุรกิจด้านอาหารก็ยังมาเป็นเบอร์หนึ่งอยู่เสมอ เพียงแค่ว่าถ้านับเป็นจำนวนก็อาจจะสู้ธุรกิจด้านค้าปลีก พวกร้านสะดวกซื้อยังไม่ได้ สมมุติว่าร้านสะดวกซื้อบอกว่าเขามีอยู่ทั้งหมด 8,000 สาขา แล้วอยากขยายอีก 10% ก็จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 800 สาขา ซึ่งในตอนแรกผมบอกไปว่าโอกาสที่จะโตขึ้นของแฟรนไชส์ไทยอยู่ที่ 10% ของ 11,000 สาขาแฟรนไชส์ทั้งหมด ก็ประมาณ 1,100 สาขาในปีหน้า ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ด้านค้าปลีกก็เพิ่มขึ้น 800 สาขาแล้ว ที่เหลืออีก 300 สาขาคือธุรกิจด้านอื่น ๆ อย่างไรผมก็ยังเชื่อว่าแบรนด์ใหญ่ ๆ อินเตอร์เขามีการวางแผนชัดเจนว่าเขาจะขยายกี่สาขา เอาพวกนั้นมารวมกันก็เป็นร้อย ยังไม่นับแบรนด์ของคนไทย ผมว่า 1,100 สาขาในปีหน้าน่าจะเป็นขั้นต่ำนะครับ”

 

อยากเห็นอะไรในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ในอนาคต ในปี 2559 นี้

 

“ความสนับสนุนจากภาครัฐ”

 

คือคำตอบแรกที่คุณกวินให้สัมภาษณ์เมื่อได้ยินคำถามนี้ คุณกวินกล่าวว่า “ทั้งหมดในปัจจุบันที่เราโตมาได้ขนาดนี้เพราะเอกชนเป็นผู้สนับสนุน แต่ถ้ารัฐเข้าใจและให้การสนับสนุนแบบต่อเนื่อง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมาคือทำแล้วหยุด ทำแล้วหยุด เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความต่อเนื่อง”

คุณกวินยกตัวอย่างให้เห็นภาพจาก สหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีรายได้จากการส่งออกแฟรนไชส์ในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล ยกตัวอย่างแบรนด์ดังอย่าง McDonalds ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก รู้ไหมว่าบริษัทของคนไทยต้องจ่ายเงินให้กับแมคโดนัลด์นอกเหนือจากเงินครั้งแรกที่จ่ายตอนซื้อแล้ว ยังต้องจ่ายให้อีกร้อยละ 8 ของยอดขายด้วย สมมุติว่าเราลองคำนวณเล่น ๆ ว่า แมคโดนัลด์ในประเทศไทยมียอดขายประมาณหมื่นล้านต่อปี แล้วเราต้องจ่าย 8% ของยอดขาย ซึ่งเท่ากับว่าต้องจ่ายเงินจำนวนแปดร้อยล้านต่อปีให้กับทางแบรนด์ของสหรัฐอเมริกา นี่เป็นแค่ตัวอย่างของแบรนด์เดียวเท่านั้น

คุณกวินกล่าวว่า “แล้วถ้าคนไทยสามารถส่งออกแบรนด์แฟรนไชส์ไปต่างประเทศได้เยอะ ๆ จากการสนับสนุนของภาครัฐ เรามีเงินไหลเข้าแบบกินยาว ไม่ใช่ขายของแบบปีละครั้ง ถ้าเราขายแฟรนไชส์ไปประเทศหนึ่งได้ คนที่ซื้อจากเราไปมีหน้าที่จ่ายให้เรายาวตามอายุสัญญา สมมุติสัญญา 10 ปี แสดงว่าตลอด 10 ปี เขาจะต้องจ่ายค่าแฟรนไชส์ให้เรา ภาษาชาวบ้านเรียกว่าส่งส่วย ลองคิดดูว่าสหรัฐอเมริกามีแบรนด์แฟรนไชส์ที่ออกไปอยู่ต่างประเทศกว่าร้อยแบรนด์ เอาเฉพาะแมคโดนัลด์อย่างเดียวก็หนึ่งหมื่นสาขาทั่วโลก เป็นเงินที่ไหลกลับเข้าประเทศทั้งนั้น ”

ซึ่งประเทศไทยมีอยู่ 10 กว่าแบรนด์ที่เข้าไปอยู่ในต่างประเทศ นั้นคือสิ่งที่นี่ภาคเอกชนทำกันเองทั้งสิ้น ซึ่งถ้ารัฐมองเห็นประโยชน์ จะทรายว่าการลงทุนกับธุรกิจด้านแฟรนไชส์นั้นเป็นการลงทุนแบบระยะคล้าย ๆ กับงานท่องเที่ยว ลงทุนน้อยแต่ผลตอบแทนกลับมาสูง

“นี่คือสิ่งที่ผมอยากเห็นความสนับสนุน ความเข้าใจจากภาครัฐ และนี่คือประโยชน์ของระบบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่ยั่งยืน และเห็นผลในระยะยาว”

 

พูดถึงแนวโน้วและทิศทาง ของการจัดงานแฟรนไชส์ในปี 2559 จะมีงานใดที่เน้นเรื่องเป็นพิเศษหรือไม่

คุณกวินกล่าวว่า “งานแฟรนไชส์เป็นงานของธุรกิจระบบสำเร็จรูป ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนที่มีฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ มาเลือก มาพูดคุย มาหาว่ามีอะไรที่เหมาะกับเขาบ้าง ซึ่งการพูดคุยกันต่อหน้าเป็นโอกาสที่ดี และไม่ใช่เรื่องง่ายที่มีเจ้าของกิจการกว่า 100 แบรนด์ มาอยู่ในงานงานเดียว”

 

EXPO_7870

งาน ASEAN Retail 2016

ในส่วนของงานที่จะเกิดขึ้นใหม่ในปีนี้มีชื่อว่า งาน ASEAN Retail 2016 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2559 ในเดือนสิงหาคมนี้

คุณกวินกล่าวว่า “ จริง ๆ ก็ไม่ใช่งานใหม่อะไรมากมาย แต่เป็นการแยกออกมาจากงาน TRAFS (งาน Thailand Retail, Food & Hospitality Service 2016) ในกลุ่มของ Retail เพราะว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เราเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของธุรกิจค้าปลีกในภูมิภาคอาเซียน ถึงแม้ว่าประชากรเราจะน้อยกว่าอินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์ แต่ธุรกิจค้าปลีกของเราโตกว่าเขาเยอะมาก ดูได้จากที่เมืองไทยตอนนี้เป็นสวรรค์ของนักช้อปปิ้ง นักท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่มาซื้อของในเมืองไทย เพราะเรามีความหลากหลาย ทั้งแบรนด์ไทย แบรนด์อินเตอร์จากทั่วโลก แล้วจะสินค้าราคาถูกมากมาย”

งาน ASEAN Retail 2016 เข้าไปตอบโจทย์กับคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นก่อนจะเปิดร้านต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งก่อนจะเปิดร้านเขาจะต้องไปซื้อของ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเปิดร้าน เช่น พวกป้ายต่าง ๆ อุปกรณ์ซอฟต์แวร์ระบบ POS การเก็บเงิน อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ เครื่องทำครัว นี่ก็จะเป็นงานลักษณะเหมือน one stop shop สำหรับคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจค้าปลีกไม่ต้องไปเสียเวลามองหาแม้กระทั่งคนออกแบบผู้รับเหมาเราก็จะมีเตรียมไว้ทั้งหมดในงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้เขาสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลา นี่ก็คือคอนเซปต์ของงาน ASEAN Retail 2016

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณจะเปิดร้านขึ้นมาหนึ่งร้าน จะไปหาคนออกแบบ ผู้รับเหมาได้ที่ไหน หาซื้ออุปกรณ์การทำร้านได้ที่ไหน อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นป้ายหน้าร้าน ระบบ POS เฟอร์นิเจอร์ หุ่น ที่วางชั้น ที่แขวนเสื้อผ้า ขอบอกว่าในงานจะมีทั้งหมดเลยครับ

 

งานที่น่าสนใจในช่วงต้นปี 2559

bkucff

งานที่น่าสนใจก็จะมี งานแสดงกาแฟ เบเกอรี่ และไอศกรีม ปีที่ 10 เป็นงานแรกของปี จัดขึ้นในวันที่ 10 – 13 มีนาคม 2559 ในชื่องานอย่างเป็นทางการว่า Thailand Coffee, Tea & Drinks 2016, Thailand Bakery & Ice Cream 2016 ที่จัดขึ้นปีนี้เป็นปีที่ 10 แล้ว

คุณกวินเชิญชวนคนที่รักกาแฟ เบเกอรี่ และไอศกรีม ให้มางานนี้ให้ได้  “เมื่อเข้าไปในงานคุณจะได้ลอมชิมกาแฟ ที่เมล็ดกาแฟมาจากทั่วโลก แล้วยังมีเบเกอรี่ ไอศกรีม งานได้รับความนิยม เพราะธุรกิจด้านกาแฟ เบเกอรี่ และไอศกรีม กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง งานนี้เป็นงานที่ขาช้อปทุกคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจกาแฟ เบเกอรี่ และไอศกรีม ต้องมาให้ได้”

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ คำตอบเรื่องแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ปี 2559 จากคุณกวิน กิตติบุญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไดเวอร์ซิไฟด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด  เรียกได้ว่าเข้มข้นจนเห็นภาพเลยใช่ไหมล่ะคะ และถ้าคุณอยากรู้ว่าปี 2559 นี้คุณกวินอยู่เบื้องหลังงานใดบ้าง ก็ตามนี้เลยจ้า

 

event_11205_type50_p1_20151102163955

ซึ่งจัดพร้อม งาน Thailand Coffee, Tea & Drinks 2016 (ปีที่ 10) และงาน Thailand Bakery & Ice Cream 2016 (ปีที่ 10) ซึ่งเป็นงานแสดงอุปกรณ์ ของใช้ สำหรับธุรกิจ ร้านกาแฟ ชา เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ไอศกรีม และอื่น ๆ อย่างครบวงจร รวมไปถึงงานท่องไทย ท่องโลก ครั้งที่ 14 และงาน Thailand Bike & Vehicle 2016 (ปีที่ 4) ภายใต้ concept “ 5 in One” อีกด้วย

 

event_11204_type50_p2_20151126144438

20151130_3_1448846972_670815