แนวทางสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ ก่อนขายแฟรนไชส์

ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทย กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งเจ้าของธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ และทั้งประชาชนทั่วไปอยากซื้อแฟรนไชส์ โดยเฉพาะกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

พยายามที่จะเร่งผลักดัน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความสามารถต่อยอดธุรกิจ พัฒนาระบบแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน และสามารถแข่งขันกับแบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติได้อย่างแข็งแกร่ง

แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยเอง ก็ต้องเร่งปรับปรุงและสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองด้วย รวมถึงมีแผนการดำเนินการที่ดีเพื่อให้ธุรกิจสามารถรุกและรับกับแบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติได้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มี แนวทางสร้าง มาตรฐานให้แก่ธุรกิจแฟรนไชส์ ก่อนขายแฟรนไชส์ เพื่อเป็นเกราะคุ้มกันปกป้องแฟรนไชส์ซี และป้องกันความล้มเหลวให้กับแฟรนไชส์ซอร์ มาฝากท่านผู้ประกอบการที่สนใจทำแฟรนไชส์ครับ

1.สร้างแบรนด์และวางระบบจัดการร้านสาขาให้มีมาตรฐาน

แนวทางสร้าง

ก่อนที่คุณจะเริ่มเข้าสู่ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ แน่นอนว่าธุรกิจที่คุณทำอยู่นั้นต้องเป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก จนมีผู้คนพูดถึงแบรนด์และหาสถานที่ซื้อสินค้าและบริการของคุณ ซึ่งจากตรงนี้เชื่อว่าแบรนด์สินค้าของคุณน่าจะเป็นที่รู้จักของผู้คนไม่มากก็น้อย เหลือเพียงแต่ว่าคุณอาจจะทำการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักเพิ่มขึ้นหรือไม่เท่านั้น

เมื่อลูกค้ามายืนต่อคิวเป็นแถวๆ นั่นก็แสดงให้เห็นอีกว่าสินค้าคุณมีมาตรฐาน คุณเอาใส่ ทำให้รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นถ้าคุณขยายสาขาเพิ่ม รักษามาตรฐานสินค้า

อาจต้องสร้างระบบการจัดการร้านให้มีมาตรฐานขึ้นอีก เพื่อใช้เป็นต้นแบบให้กับร้านสาขาที่จะขยายต่อไปในอนาคต ทั้งระบบการวางสินค้า ระบบการผลิตสินค้า จัดตกแต่งร้าน สร้างบรรยากาศในร้าน ระบบบัญชี สต็อกสินค้า ระบบการจัดซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น

2.ศึกษาทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ให้ถ่องแท้

i2

หลังจากที่คุณมีสาขาธุรกิจมากพอสมควรแล้ว มีระบบการบริหารจัดการสาขาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ลูกค้าเข้าร้านไหนจะได้สินค้าและบริการรูปแบบเดียวกันหมด จนมีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จากคุณ ถ้าคุณยังไม่รู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ก็อย่ารีบร้อนด่วนสรุปขายแฟรนไชส์ไป ต้องศึกษาทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ให้รู้อย่างลึกซึ้งเสียก่อน

มิเช่นนั้นอาจเจ๊งทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ เพราะจริงๆ แล้วเรื่องของมาตรฐานแฟรนไชส์เกิดขึ้นจากตัวแฟรนไชส์ซอร์เอง ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ไม่รู้เรื่องระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง ก็ไม่สามารถที่จะทำแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐานได้

3.แฟรนไชส์ซอร์ต้องรักในแบรนด์ตัวเอง

i4

ถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย หากคุณคิดจะทำแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน เพราะหากคุณรักในแบรนด์สินค้าและบริการที่ตัวเองสร้างขึ้นมาแล้ว จะทำให้สามารถคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีมาตรฐานเข้ามาสู่ระบบแฟรนไชส์ของคุณได้อย่างมีคุณภาพ

แฟรนไชส์ซีก็จะรักและหวงแหนในแบรนด์คุณด้วย หรือถ้าหากคุณไม่สนใจแบรนด์คุณเลยว่า เขาจะนำไปทำอะไรบ้าง แฟรนไชส์ซีที่คุณคัดเลือกเข้ามา เชื่อเลยว่าไม่มีมาตรฐานแน่นอน เพราะคุณหวังเงินค่าแฟรนไชส์อย่างเดียว

4.มีกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี

i3

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เหมือนกับการลงทุนในหุ้นทั่วๆ ไป ที่เอาเงินมาซื้อก็จบกันไป แฟรนไชส์ซีนอกจากจะลงทุนด้วยเงินแล้ว ยังต้องลงทุนด้วยแรงกาย แรงใจ และความทุ่มเทในการบริหารจัดการร้านให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้ความเข้าใจระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องไว้วางใจแฟรไชส์ซอร์ด้วย

ดังนั้น แฟรนไชส์ซีที่คุณเลือกเข้ามาต้องมีมาตรฐานด้วย อย่าเลือกเอาคนที่มีเงินลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ ถ้าคุณคัดเลือกเอาแฟรนไชส์ซีเพียงเพราะเงินอย่างเดียว รับรองหายนะจะมาเยือนคุณทันที เพราะฉะนั้นระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีมาตรฐานทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีด้วย

5.สร้างมาตรฐานให้แฟรนไชส์ซี

i6

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว มาตรฐานแฟรนไชส์ที่จะเกิดขึ้นไม่ได้อยู่ที่เจ้าของแฟรนไชส์อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์จากคุณไปด้วย หลังจากที่คุณตัดสินใจขายแฟรนไชส์ไปแล้ว

คุณจะต้องมีระบบการอบรม การบริหารจัดการร้าน การทำบัญชี การสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ การให้บริการ รวมถึงระบบการปฏิบัติการต่างๆ ตามแบบร้านต้นแบบให้กับแฟรนไชส์ซีด้วย เพื่อสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ให้เป็นไปในทิศทางและรูปแบบเดียวกัน

6.การรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

i7

เมื่อกระบวนการแฟรนไชส์ทุกอย่างที่คุณสร้างขึ้นมาได้มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันแล้ว คุณอาจจะต้องยื่นเรื่องต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ส่งเจ้าหน้าที่ทำการประเมินระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ

เพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณมีความน่าเชื่อมากขึ้น อาจจะนำไปสู่การขยายสาขาไปต่างประเทศก็ได้ แต่ทั้งนี้ จริงๆ แล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะมีมาตรฐานหรือไม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่ตราอย่างเดียว แต่อยู่ที่ตัวคุณเองด้วยมีมาตรฐานหรือไม่

เห็นได้ว่ามาตรฐานระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะเกิดขึ้นได้ กระบวนการแรกอยู่ที่แฟรนไชส์ซอร์ หรือเจ้าของธุรกิจเอง ที่ต้องทำให้ธุรกิจของตัวเองมีมาตรฐานให้ได้ ก่อนที่จะขยายสาขาและขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

โดยคุณต้องมีความตั้งใจ เอาใจใส่ รักในแบรนด์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณมีมาตรฐานเอง ก่อนที่จะขอการรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับแฟรนไชส์คุณ

สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณทำอยู่นั้น ได้มาตรฐานหรือไม่ เชิญมาลองทดสอบทำแบบประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์ได้ที่ แบบประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์ https://goo.gl/UFfZZ3


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/tPpRTh
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน goo.gl/Am7YQW

Franchise Tips

  1. สร้างแบรนด์และวางระบบจัดการร้านสาขาให้มีมาตรฐาน
  2. ศึกษาทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ให้ถ่องแท้
  3. แฟรนไชส์ซอร์ต้องรักในแบรนด์ตัวเอง
  4. มีกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี
  5. สร้างมาตรฐานให้แฟรนไชส์ซี
  6. การรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2UeF0eU

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช