เลือกเอา! สร้างหนี้อย่างไรให้รวย อยากรวยต้องเป็นหนี้

คำกล่าวติดตลก (แต่บางทีก็ไม่ตลก) เช่น “ คนจะรวยต้องเป็นหนี้ ” “นักธุรกิจเขาก็มีหนี้กันทุกคน” “เคยเห็นขอทานมีหนี้ไหมละ!” อะไรประมาณนี้ แต่สิ่งที่พูดไปนี้คือคำกล่าวแบบรวมๆ แท้ที่จริง “หนี้คนรวย” กับ “หนี้คนจน” มีผลต่อชีวิตต่างกัน

นักธุรกิจบางคนมีหนี้ก็จริงแต่เขาก็มีเงินใช้มากมายและทำท่าว่าจะรวย รวย และรวยยิ่งขึ้น ในขณะที่หนี้ของคนจน ก็คือ “หนี้” ที่ต้องชดใช้ ยิ่งใช้ ก็ยิ่งไม่มีเงินเก็บ ยิ่งใช้ หนี้ ก็ยิ่งจนไม่ลืมตาอ้าปากได้สักที

www.ThaiSMEsCenter.com รู้สึกถึงพลังของคำว่า “หนี้” มีผลต่อชีวิตคนไทยอย่างมาก ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในประเทศ พบว่าคนไทยเริ่มเป็นหนี้กันตั้งแต่อายุยังน้อย

เนื่องจากประชากรที่มีอายุ 30 ปี กลุ่มคนเหล่านี้ตกอยู่ในสถานภาพการเป็นลูกหนี้ถึง 50% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะที่คนกลุ่มอายุ 29 ปี 20% ของคนกลุ่มหนี้เป็นหนี้เสีย

สร้างหนี้อย่างไรให้รวย

ภาพจาก bit.ly/2WyFc8P

นอกจากนี้จำนวนประชากรในประเทศที่ตกอยู่ในสภาวะการเป็นลูกหนี้มีจำนวน 21 ล้านคน หรือคิดเป็น 30%ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ โดย 3 ล้านคนหรือคิดเป็น 16% ของผู้มีหนี้ เป็นคนที่มีหนี้เสียหรือหนี้ที่มีระยะเวลาค้างชำระนานกว่า 90 วัน

เมื่อเห็นดังนี้หลายคนบอกว่า “หนี้” น่ากลัวยิ่งกว่า ผีไม่น่าแปลกที่พ่อแม่จะสอนลูกหลานว่าถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าไปเป็นหนี้ใคร อันที่จริง คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงเช่นกันการเป็น “หนี้” ก็อาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าเป็น “หนี้” อย่างมีหลักการ แทนที่จะยิ่งจน อาจจะยิ่งรวยก็ได้

ประเภทของหนี้

w2

ภาพจาก bit.ly/2F1s6Gn

1.หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัวและก่อให้เกิดภาระทางการเงิน

พูดง่ายๆก็คือ หนี้ที่เกิดขึ้นเพราะเราอยากได้โน้นนี่ เช่นมีเงินเดือน 20,000 ซื้อของที่อยากได้ซะ 50,000 จนทำให้รายจ่ายมากกว่ารายรับ และนำเงินอนาคตมาใช้ ใช้บัตรเครดิตมาผ่อน ทำให้เกิดภาระทางการเงินและต้องจ่ายดอกเบี้ยจนหนี้ท่วมเข้าใจว่าความอยากมันห้ามกันได้ยาก แต่ก็เพราะห้ามได้ยากนี่แหละ คำว่า “หนี้” ประเภทนี้ถึงเกิดขึ้น

w1

ภาพจาก bit.ly/2EY33Eo

2.หนี้ที่เกิดประโยชน์ในอนาคต

เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้ว่าหนี้ประเภทนี้เกิดจากอะไร ใช่แล้ว! ก็เช่น ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อที่ดิน หรือบางทีซื้อรถเพื่อใช้ประโยชน์ก็คือ หนี้ที่อาจจะต้องจ่ายแต่สิ่งที่ได้คืนมาคือหลักประกันในอนาคตที่มั่นคงขึ้น แต่การจะซื้อสินทรัพย์ใดๆ ก็ควรพิจารณาถึงความสามารถในการชำระที่เราต้องกระทำในอนาคต

หากยังมองไม่เห็นภาพว่า “การสร้างหนี้” จะมีผลดีกับชีวิตได้อย่างไร ลองไปดูแนวทางการเป็นหนี้ของนักธุรกิจว่าบางทีเราเห็นคนนี้มีเงินเป็นสิบล้านแต่ทำไมถึงยังยอมเป็นหนี้กู้ธนาคารมาลงทุนไม่ยอมควักทุนตัวเอง

มุมมองการสร้างหนี้ ของนักธุรกิจ

f1

1.เล็งเห็นประโยชน์ที่มากกว่าในอนาคต

เช่น ธุรกิจของเรากำลังไปได้ดี จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มอีก 5 ล้าน เพื่อซื้อเครื่องมือเพิ่มเพื่อรองรับการผลิต หากไม่มีเครื่องมือจะทำให้เสียโอกาสเสียลูกค้า เพราะผลิตไม่ทัน ซึ่งการมีฐานลูกค้าที่ชัดเจนอยู่แล้ว เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงก็ลดลง การกู้เงิน 5 ล้านมาลงทุน ยังสามารถทำกำไรได้เพิ่มอีก 20-30%

แต่สำหรับใครที่ไม่ต้องการกู้เต็มจำนวน ก็สามารถนำเงินทุนตัวเองออกมาช่วยบางส่วน เช่น เงินกู้ 3.5 ล้านบาท เงินตัวเอง 1.5 ล้านบาทก็ได้เช่นกัน อันนี้ต้องอยู่ที่สภาพคล่องของแต่ละธุรกิจ ก็ต้องวางสัดส่วนให้ดี เวลามีปัญหาจะได้ไม่กระทบมากจนเกินไป

2.การกู้ช่วยลดหย่อนภาษีได้

สำหรับผู้ประกอบการ สามารถนำดอกเบี้ยมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งการที่ธุรกิจไม่มีการกู้เลยก็ดีอีกแบบ แต่ถ้ามีการกู้และมีการส่งผ่อนชำระปกติ ก็จะเป็นการสร้างเครดิตให้กับธุรกิจทำให้เกิดสภาพคล่อง เมื่อมีการกู้เกิดขึ้น ผู้ประกอบการก็สามารถนำดอกเบี้ยไปคำนวณลดหย่อนภาษีได้ หากไม่กู้เลย ก็จะเสียโอกาสในการประหยัดลดหย่อนภาษี

f3

3.การกู้เงินเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

หากผู้ประกอบการนำเงินเก็บ หรือเงินก้อนสุดท้ายของครอบครัวมาลงทุน หากธุรกิจมีปัญหา อาจจะถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว การกู้เงินมาลงทุนทั้งหมด หรือกู้บางส่วนมาลงทุน จึงเป็นการกระจายความเสี่ยง เวลาธุรกิจมีปัญหา ก็ยังสามารถเจรจาต่อรองในการผ่อนชำระหนี้ได้ และยังอุ่นใจที่ยังมีเงินส่วนตัวไว้สำรอง ทำให้มีทุนใช้ในช่วงเวลาในช่วงฟื้นตัว และพอประทังให้ธุรกิจอยู่รอดในช่วงวิกฤติ

4.การกู้ทำให้ธนาคารเห็นสภาพคล่องและวินัยทางการเงิน

สร้างความน่าเชื่อถือได้ระดับหนึ่ง แต่การกู้เงินธนาคารก็จะดูสัดส่วนของหนี้สินประกอบในการปล่อยกู้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการอยากจะกู้เงินมาทำธุรกิจ หรือขยายกิจการ ต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่พอเหมาะ ไม่ใช่กู้ 100% เพื่อมาทำธุรกิจ และไม่มีเงินทุนหมุนเวียน หรือไม่มีเงินฝากและหลักทรัพย์อย่างอื่นเลย

หรือในแบบชาวบ้านๆ วิธีสร้างหนี้ที่อาจทำให้รวยได้ก็อย่างการเล่นแชร์ ที่บางคนมีเงินพอติดบัญชีอยู่บ้างเอาไปลงทุนเล่นแชร์ ได้กำไรต่อรอบครั้งละ 2,000 -3,000 ขึ้นอยู่กับมือที่เล่น

ซึ่งหากบริหารจัดการเงินส่วนนี้ได้ดีเป็นระบบ ดีกว่าการเอาเงินไปฝากธนาคารที่ได้ดอกเบี้ยปีละไม่กี่บาท แต่การลงทุนเล่นแชร์แบบนี้ก็สร้างความเสี่ยงให้กับตัวเองได้มากเช่นกัน หรือบางคนสร้างหนี้ด้วยการเอาไปลงทุน ซื้อแฟรนไชส์ ที่มีโอกาสคืนทุนไวภายใน 2-3 เดือน

f2

เช่น ลงทุนซื้อแฟรนไชส์ 20,000 บาท รวมกับค่าเช่าที่ต่อเดือน ค่าวัตถุดิบในการเปิดร้าน ค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 10,000 -20,000 บาท แต่คะเนว่ามีกำไรจากแฟรนไชส์ประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท รายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท

ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือนน่าจะคืนทุนและมีกำไร นั่นก็คือการสร้างหนี้ที่มีโอกาสทำให้เรารวยได้ แต่ก็ต้องพิจารณาปัจจัยรอบด้านการตัดสินใจลงทุนด้วยเช่นกัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

line

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2Jf8ph8

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด