เป็นไปได้! แฟรนไชส์ขายดี แต่ไม่มีกำไร

หลายคนอาจไม่เชื่อว่า ร้านค้าหรือกิจการที่ขายของดี เป็นเทน้ำเทท่า สามารถขาดทุนหรือเจ๊งได้ ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว อาจเป็นไปได้น้อยมาก ที่อยู่ดีๆ ธุรกิจที่กำลังขายดิบขายดี ของทุกอย่างที่นำมาขายหมดในพริบตา จะมาเจ๊งได้

ซึ่งไม่เฉพาะร้านทั่วไปเท่านั้นที่ไม่มีกำไร แม้ขายดี แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ก็เป็นเช่นกัน แต่ในความจริงแล้ว เรื่องของการขาดทุน ไม่มีกำไร หรือธุรกิจเจ๊ง ไม่จำกัดว่าคุณจะขายของดีหรือไม่ แต่อยู่ที่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เจ้าของกิจการแฟรนไชส์ต้องรู้ไว้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอว่า ทำไมกิจการขายของดี มีรายได้เข้าร้านเป็นประจำ แต่ถึงไม่มีกำไรเลย โดยเฉพาะเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ แม้ว่าจะซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ดังๆ ได้รับความนิยม แฟรนไชส์ขายดี แต่ไม่มีกำไร ก็เจ๊งได้

1. คิดแต่ต้นทุนสินค้า ไม่คิดต้นทุนรวม

แฟรนไชส์ขายดี แต่ไม่มีกำไร

หลายคนทำธุรกิจแล้วอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมยิ่งขายก็ยิ่งจน แม้ว่าเราจะขายสินค้าแพงกว่าราคาที่ซื้อมา แต่ไม่มีกำไรเลย เรื่องนี้เจ้าของร้านมือใหม่อาจจะพบปัญหานี้เยอะ เท่าที่สังเกตมาเป็นเพราะว่า เรามักจะคิดแค่ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า จนลืมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภายในร้านทุกอย่าง

ตัวอย่างเช่น เจ้าของร้านขายอาหารอาจคำนวณว่า หากเราขายข้าวกล่องที่ลูกค้าสั่งทำทั้งหมด จะได้กำไร 2,000 บาท แต่เราอาจจะลืมไปว่า มันยังมีต้นทุนส่วนอื่นๆ อีกเช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน ค่าแรงตัวเอง และค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางนั้นก็เป็นต้นทุนเช่นกัน ไปๆ มาๆ ต้นทุนอื่นๆ คำนวณออกมาที่ 3,000 ไป แบบนี้ต่อให้ขายดีแค่ไหน ก็ไม่มีกำไรแน่ๆ ดังนั้น เราควรสนใจรายละเอียดของต้นทุนทุกอย่างที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วน และนำมาพิจารณาว่า คุณควรจะขายสินค้าอย่างไรให้ได้กำไรสูงสุด

2. บริหารจัดการกระแสเงินสดไม่เป็น

14

 

เจ้าของร้านแฟรนไชส์บางคน อาจจะขายของเก่งมาก เรียกลูกค้าเข้าร้านได้จำนวนมาก ทำให้มีลูกค้าสั่งหรือใช้บริการร้านทุกวัน แต่พอสำรวจเงินสดภายในร้านแล้ว กลับไม่พบเงินในกระเป๋าอย่างที่คิด อาจจะเป็นเพราะว่า มีการทำธุรกิจโดยให้มีเครดิตเทอมลูกค้าที่ยาวนานเกินไป และลืมไปว่าตัวเขาเองก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินไปชำระรายจ่ายเรื่องต่างๆ

เช่น ผู้ผลิตที่เราสั่งสินค้ามาขาย ค่าแรงคนงาน เงินเดือนลูกน้อง ค่าเช่าสถานที่ หากเราขายของแล้วเก็บเงินไม่ได้ซักที แถมยังมีรายจ่ายจ่อคอหอยอยู่เรื่อยๆ นั่นก็เท่ากับว่า เราไม่สามารถหมุนเงินให้เกิดประโยชน์ได้

และเมื่อใดก็ตามเงินสดที่มีอยู่ในมือนั้นหมดไป กลายเป็นว่าอาจต้องพึ่งพาเงินกู้จากที่ต่างๆ จนทำให้ยิ่งทำธุรกิจเรายิ่งจนลง เพราะดอกเบี้ยจากการยืมเงินมาหมุนในกิจการ แถมเป็นการสร้างผลกำไรให้กับเจ้าหนี้แทนอีกต่างหาก

ดังนั้น การบริหารกระแสเงินสดจึงเป็นเรื่องสำคัญ เงินสดควรเก็บจากลูกค้าให้ได้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในระหว่างการนำไปชำระเงินให้กับเจ้าหนี้ และจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ

3. ไม่แยกเงินส่วนตัว ออกจากเงินกิจการ

13

เจ้าของร้านมือใหม่นั้น เมื่อเปิดร้านขึ้นมา อาจจะมีความเข้าใจผิด หรือแยกไม่ออกในเรื่องเงินในร้านและเงินส่วนตัว เมื่อขายของได้ก็นำเงินในร้านไปจับจ่ายใช้สอย เพราะคิดว่าได้เงินมาก็ได้กำไรมาแล้ว เอาไปสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ทั้งหมด

แต่กลายเป็นว่า นำเงินในร้านไปซื้อของ ไปเที่ยวต่างประเทศ จ่ายค่าเทอมลูก พอถึงจุดๆ หนึ่งก็จะพบว่า เงินทุนในกิจการนั้นหายไป และโชคร้ายไปกว่านั้น เราอาจจะถูกสรรพากรมาตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นของบริษัท หากไม่สามารถแจ้งที่มาที่ไปของเงินที่หายไปได้ ดังนั้น การทำธุรกิจใดๆ ควรจะแยกกระเป๋าเงินของกิจการออกจากเงินส่วนตัวของเรา ธุรกิจมีรายรับรายจ่ายอะไร ก็ควรบันทึกเอาไว้ว่า ปัจจุบันมีเงินเหลือเท่าไหร่ และควรนำเงินไปทำอะไรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของธุรกิจ

ส่วนของเงินส่วนตัวนั้น เราอาจแยกออกเป็นค่าจ้าง เหมือนพนักงานทั่วไป ควรแยกทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อวางแผนสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ให้ใช้จ่ายตามที่มี เหลือก็เก็บออมและนำไปลงทุนต่อ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จทางการเงินส่วนตัวได้

12

ได้เห็นหรือยังว่า ต่อให้เราขายของดีแค่ไหน ถ้าไม่รู้จักแยกเงินส่วนตัวออกจากเงินของกิจการ ก็ทำให้เจ๊งได้เช่นกัน ดังนั้น การสร้างระบบตรวจสอบเงินทั้ง 2 กระเป๋า จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของกิจการไม่ควรพลาด

ทั้งหมดเป็น 3 เรื่องที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า ต้องรู้ไว้ ถ้าไม่อยากขายของดีจนเจ๊ง หวังว่าความรู้ข้างตนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้าทุกท่านครับ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips

  1. คิดแต่ต้นทุนสินค้า ไม่คิดต้นทุนรวม
  2. บริหารจัดการกระแสเงินสดไม่เป็น
  3. ไม่แยกเงินส่วนตัว ออกจากเงินกิจการ

อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/39r2vEi

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช