เป็นแอร์โฮสเตส แล้วได้อะไรบ้าง

แอร์โฮสเตส น่าจะเป็นอาชีพในฝันของสาวๆหลายคน เหตุผลที่ “อาชีพนางฟ้า” เป็นที่ต้องการเพราะไหนจะเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง สวัสดิการที่ดี สำคัญคือได้เที่ยวไปยังประเทศต่างๆ ก็คงไม่มีอาชีพไหนจะดีไปกว่าการเป็น “แอร์โฮสเตส” แต่ใช่ว่าทุกคนที่ฝันแล้วจะเป็นแอร์โฮสเตสได้

www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลน่าสนใจทั้งการเตรียมตัวก่อนจะเป็นแอร์โฮสเตส รวมถึงเป็นแอร์โฮสเตสแล้วได้อะไรบ้าง เผื่อใครมีลูกมีหลานอยากส่งเสริมให้ลูกหลานก้าวเข้าสู่อาชีพยอดนิยมนี้

10 คุณสมบัติเบื้องต้นของการเป็นแอร์โฮสเตส

74

ภาพจาก www.facebook.com/Emirates

  1. เพศหญิง สถานภาพโสด มีอายุตั้งแต่ 20-26 ปี สำหรับผู้สมัครสายการบินในเอเชีย และไม่จำกัดอายุ สำหรับผู้สมัครสายการบินตะวันออกกลาง
  2. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จากคณะหรือสาขาอะไรก็ได้
  3. มีความรู้ความสามารถในการพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และหากมีความสามารถในการสื่อสารภาษาที่ 3 จะได้เปรียบยิ่งข้น
  4. มีความสูงตั้งแต่ 160 ซม.ขึ้นไป แต่บางสายการบินก็รับคนที่มีส่วนสูงน้อยกว่านั้น เช่น Japan Airlines รับคนที่มีส่วนสูงตั้งแต่ 156 ซม.ขึ้นไป บางสายการบินก็ไม่ได้กำหนดส่วนสูง เพียงแต่ต้องเอื้อมแตะให้ถึงความสูงที่ 208-212 ซม.
  5. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ หรือเป็นพาหะธาลัสซีเมีย รวมถึงโรคที่สามารถติดต่อกันได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบ โรคเอดส์ และต้องไม่เป็นโรคที่มีปัญหาทางร่างกาย เช่น ตาบอดสี หรือ กระดูกสันหลังคด เป็นต้น
  6. สายตาใช้การได้ดี แต่หากมีปัญหาสายตาสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ แต่ห้ามใส่แว่นตา
  7. สามารถว่ายน้ำในท่าฟรีสไตล์ได้อย่างต่อเนื่อง ในระยะทางไม่น้อยกว่า 50 เมตร
  8. มีใจรักบริการมีมนุษยสัมพันธ์ดี สุภาพอ่อนโยน ร่าเริงแจ่มใส มีไหวพริบปฏิภาณ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  9. มีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจ แต่งตัวสะอาดสวยงาม
  10. ทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถปรับตัวและเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

เตรียมความพร้อมก่อนเป็นแอร์โฮสเตส

73

ภาพจาก bit.ly/2V6bhmC

นอกเหนือจากเรื่องความพร้อมของร่างกาย เรื่องความสวยความงาม ผิวพรรณ รูปร่าง บุคลิกภาพ เสื้อผ้า หน้าผม ต่างๆ ที่เราเชื่อว่าคนอยากเป็น “แอร์โฮสเตส” ต้องมั่นใจในความพร้อมเหล่านี้ แต่เรื่องของภาษาอังกฤษ เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่หลายคนอยากรู้ว่าต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง

ขั้นแรกผู้สมัครแอร์โฮสเตสจะต้องมีคะแนนสอบ TOEIC อย่างน้อย 550-600 คะแนนขึ้นไป ตามข้อกำหนดการรับสมัครของแต่ละสายการบิน แต่บางสายการบินก็รับผลคะแนนสอบวัดระดับทางภาษาอังกฤษแบบสากลประเภทอื่น ๆ เช่น TOEFL หรือ IELTS โดยผลการทดสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษดังกล่าวต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร

ซึ่งขั้นตอนในการคัดเลือกผู้สมัครแอร์โฮสเตสนั้น จะประกอบไปด้วยรอบพรีสกรีน และสัมภาษณ์เบื้องต้น ตามมาด้วยการสอบข้อเขียน ซึ่งมีทั้งการทดสอบความถนัดทางเชาวน์ปัญญา หรือ Aptitude Test ข้อสอบความรู้รอบตัว รวมไปถึงข้อสอบจิตวิทยาทางบุคลิกภาพ หรือ Personal Test และบางสายการบินก็อาจมีทดสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษด้วย ถ้าผ่านก็จะได้เข้ารอบสัมภาษณ์ ซึ่งมีทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม

โดยการสัมภาษณ์กลุ่มจะมีการตั้งโจทย์ให้ช่วยกันแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งกรรมการจะดูว่าเรามีความสามารถอย่างไรในการทำงานเป็นทีม และเมื่อสอบสัมภาษณ์ผ่านก็จะเข้าสู่การสอบว่ายน้ำและการตรวจร่างกายในลำดับต่อไป

สถาบันที่เปิดสอน

72

ภาพจาก bit.ly/38Bhpap

1.สถาบันการบินพลเรือน

สถาบันการบินพลเรือน (Civil Aviation Training Center) เดิมมีชื่อว่า “ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย” เป็นหน่วยงานประเภทรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีหน้าที่ในการอบรมและผลิตบุคลากรด้านการบินทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานระดับสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ได้กำหนดเอาไว้ สำหรับสถาบันการบินพลเรือนได้แบ่งหลักสูตรการเรียนการสอนออกเป็น 3 หลักสูตรด้วยกัน ได้แก่ หลักสูตรภาคพื้น หลักสูตรภาคอากาศ และหลักสูตรฝึกอบรม

2.มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คณะการบิน (School of Aviation) สาขาวิชาบริหารกิจการการบิน (Aviation Management) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มีแผนการเรียนการสอนทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ ทั้งนี้ผู้เรียนภาคอากาศสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมเป็นนักบินพาณิชย์ได้ด้วย ซึ่งในหลักสุตรการเรียการสอนของที่นี่จะเน้นสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีห้องปฏิบัติการจำลองทางด้านการบิน เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง นอกจากยังมีทุนเรียนดี และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา อีกด้วย

3.มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยทางการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุมฝึกปฏิบัติงานจริงเสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในองค์กรที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจการบินทั้งในภาครัฐและเอกชน มีการทำความร่วมมือทางด้านวิชาการและด้านบุคลากร ระหว่างมหาวิทยาลัยศรีปทุมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่ภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจการบิน เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (TFTA) เป็นต้น

4.สถาบันการบิน RoyalSky Aviation Center

สถาบันการบิน RoyalSky Aviation Cente แบ่งหลักสูตรการเรียนการสอนออกเป็น 3 หลักสูตร ได้แก่ Private Pilot License (PPL) , Commercial Pilot License (CPL) , Multi-Engine Rating (ME)

5.โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด

หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (PPL), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (IR), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องบินสองเครื่องยนต์ (MR), หลักสูตรครูการบิน (IP) เป็นต้น

สวัสดิการของการเป็นแอร์โฮสเตส

71

ภาพจาก www.facebook.com/Emirates

เริ่มจากสายการบินในแถบตะวันออกกลางจะมีการจ่ายเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง ยกตัวอย่าง สายการบิน Emirates Airlines เงินเดือนจะอยู่ประมาณ 80,000 -120,000 บาท หรือสายการบิน Qatar Airways เงินเดือนจะอยู่ประมาณ 80,000 -130,000 บาท ลองมาดูรายได้ของพนักงานการบินในประเทศไทย

70

ภาพจาก bit.ly/3bPxw6h

ยกตัวอย่างเช่น นกแอร์รายได้ประมาณ 45,000 – 70,000 บาทต่อเดือน หรือไทยแอร์ เอเชีย ประมาณ 60,000 -80,000 บาทต่อเดือน และสายการบินไทย เงินเดือนประมาณ 45,000 -60,000 เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีสวัสดิการอื่นๆ อีกเช่น

  1. ตั๋วพนักงาน หรือก็คือสิทธิในการซื้อตั๋วเครื่องบินราคาพนักงาน หรือเรียกอีกอย่างว่าตั๋วไอดีสำหรับพนักงานสายการบินและครอบครัว ซึ่งตั๋วพนักงานมีหลายประเภทแต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ตั๋วID90 คือตั๋วที่ลดราคาจากปกติ 90% และ ตั๋วID50 ที่ลดราคาจากตั๋วปกติ 50%
  2. บ้านพัก โดยส่วนใหญ่บริษัทจะจัดหาคอนโดที่เรียกว่า Accommodation โดยต้องแชร์ที่พักกับลูกเรือคนอื่น แต่หากแต่งงานแล้วสามารถเช่าคอนโดด้านนอกอยู่กับครอบครัวได้และนำเอกสารมายื่นขอเงินสนับสนุนที่พักได้
  3. รถรับส่ง โดยจะมีรถบัส มาคอยรับส่งในทุกๆไฟล์ที่ไปบิน
  4. ชุดยูนิฟอร์ม ตามฟอร์มของแต่ละสายการบิน
  5. ซัก อบ รีด ฟรี
  6. ประกันสุขภาพ โดยสายการบินจะทำเป็นประกันสุขภาพทั่วโลกให้กับพนักงาน
  7. ฉีดวัคซีนฟรี
  8. สิทธิซื้อสินค้าในราคาสำหรับลูกเรือ
  9. สิทธิในการนอนโรงแรม 5 ดาว ในเมืองที่สายการบินนั้นๆ ไปพัก
  10. เงินตอบแทนสิ้นสุดการให้บริการ (End of Service) จะได้รับเมื่อตอนที่เราลาออก หรือเกษียณ จำนวนเงินก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงานที่ผ่านมา โดยคำนวณและหารค่าเฉลี่ยจากเงินเดือนของพนักงาน ที่แต่ละสายการบินอาจแตกต่างกันตามโครงสร้างบริษัท

แต่ใช่ว่าการเป็น “แอร์โฮสเตส” เราเห็นเงินเดือนดี สวัสดิการดี แถมมีโบนัส และได้ท่องเที่ยวทั่วโลก แต่คนจะเป็น “แอร์โฮสเตส” ได้ต้องมีหัวใจของการบริการ รวมถึงต้องทำงานภายใต้แรงกดดันต่างๆ โดยเฉพาะจากผู้โดยสารที่มีหลากหลายอารมณ์หลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายประเภท

คนที่เป็นแอร์โฮสเตสก่อนทำงานจริงต้องมีการฝึกรับมือกับสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งใครที่สนใจและอยากเป็นแอร์โฮสเตสจริงๆ ก็ควรเริ่มฝึกฝนตัวเองตั้งแต่ช่วงวัยเรียนจะเพิ่มโอกาสเป็นแอร์โฮสเตสได้สมใจมากขึ้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2SGkel0
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/2P7CRMq

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด