เปิดสูตรคิดต้นทุน ร้านปลาหมึกปิ้ง ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง

กลิ่นหอมยั่วใจ! เดินผ่านร้านน้ำลายก็ไหล! ยิ่งมีน้ำจิ้มรสเด็ดประเภทอร่อยแซ่บๆ รับรองว่าขายดี มีเท่าไหร่ก็ขายได้หมด ทั้งหมดนี้เรากำลังพูดถึง “ร้านปลาหมึกปิ้ง” ที่แม้ใครจะไม่ใช่สายซีฟู้ดแต่ก็คงไม่ปฏิเสธว่า นี่คือร้านปิ้งย่างที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก

แต่สินค้ามีความต้องการสูง หลายคนผันตัวเองมาทำร้านปลาหมึกปิ้งสร้างเป็นรายได้เสริม หรือบางคนหันมาเอาจริงจังลงทุนเปิดร้านแบบถาวรสำหรับขายปลาหมึกปิ้งอย่างเดียวกันเลยก็มี

สิ่งที่ www.ThaiSMEsCenter.com ต้องการแนะนำแนวทางคือแม้ว่าร้านปลาหมึกปิ้งจะได้ชื่อว่าเป็นสินค้าสุดฮิตและขายดีตลอดปี เปิดตลาดไหนก็มีลูกค้ามาซื้อแน่ ๆแต่การจะทำให้อยู่รอดและมีกำไรใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ ยิ่งไม่ได้วางแผนไม่รู้วิธีการตั้งราคา การควบคุมต้นทุน คิดแต่จะขาย ขาย และขาย สุดท้ายอาจกลายเป็นทุนหายกำไรหดก็ได้

อุปกรณ์เบื้องต้นและต้นทุนสำหรับการเปิดร้าน

ร้านปลาหมึกปิ้ง

สามารถเริ่มต้นได้ด้วยอุปกรณ์ง่ายๆเช่น โต๊ะ มีด เขียง กะละมัง ตะกร้า ซึ่งไม่ต้องลงทุนเพราะหาได้ในครัว ที่อาจจะต้องซื้อมาเพิ่มเช่น เตาปิ้งย่าง ราคาประมาณ 300-500 บาท ไม้จิ้มปลาหมึก ราคา 30-60 บาท น้ำจิ้ม (แบบขวด) 200 -300 บาท แต่แนะนำว่าหากเป็นไปได้ให้ทำน้ำจิ้มเองจะดีกว่าเพราะจะได้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และลดต้นทุนส่วนนี้ได้

และที่ขาดไม่ได้คือ “ปลาหมึกสด” ซึ่งปลาหมึกก็มีให้เลือกหลายแบบ สำหรับการเปิดร้านใหม่ ก็ใช้หมึกกระดอง ทั่วไปๆ แล้วค่อยขยับขยายไปหาปลาหมึกอย่างอื่นมาขายเพิ่มรวมต้นทุนเบื้องต้นสำหรับการเปิดร้านปลาหมึกปิ้งแบบง่ายๆ ใช้งบครั้งแรก ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท

รวมเทคนิคสำคัญในการเปิดร้านปลาหมึกปิ้ง

15

หัวใจของร้านปลาหมึกปิ้งมีตั้งแต่เทคนิคการเสียบปลาหมึก เทคนิคการเตรียมปลาหมึก ยังไม่รวมสูตรเด็ดเคล็ดลับในการทำนิ้จิ้มในที่นี้เราจะแนะนำ 2 เทคนิคคือการเสียบปลาหมึกและการเตรียมปลาหมึก

เทคนิคการเสียบปลาหมึก

14

ปลาหมึกมีส่วนที่อร่อยและคนนิยมแตกต่างกัน ไล่ตั้งแต่ หนวด ตัว ไข่ปลาหมึก ซึ่งแต่ละส่วนจะมีราคาการขายที่แตกต่างกันเทคนิคของแม่ค้าปลาหมึกคือแยกชิ้นส่วนเหล่านี้ให้ลูกค้าเลือกได้ง่าย โดยเฉพาะไข่ปลาหมึกที่ราคาจะแพงที่สุดซึ่งในวิธีการล้างก็จำเป็นต้องระวังและเบามือให้มากเพราะไข่หมึกจะแตกง่ายและก่อนเสียบไข่ปลาหมึกก็ควรแช่ไข่ปลาหมึกในสารส้มเพื่อทำให้ไข่ปลาหมึกแข็งมากยิ่งขึ้น

สำหรับการเสียบปลาหมึกโดยรวมนั้นให้เสียบเนื้อปลาหมึกเข้าไปก่อน 2-3 ชิ้น แล้วค่อยเสียบหนวดปลาหมึกเข้าไป สำหรับไข่ปลาหมึกถ้าเป็นไข่ขนาดใหญ่ให้เสียบประมาณ 3 ลูก/ไม้ ขนาดกลางประมาณ 4 ลูก/ไม้เป็นต้น ราคาขายของปลาหมึกปิ้งนั้นส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่ 15-30 บาท

เทคนิคการเตรียมปลาหมึก (ไม่มีกลิ่นคาว)

11

สิ่งที่ต้องใช้

  1. ปูนขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  2. เกลือ 1 ขัน (สำหรับปลาหมึก 1 กก.)
  3. สารส้ม
  4. น้ำสะอาด

วิธีทำ

  1. นำปลาหมึกมาล้างกับเกลือ 1 ขันที่ผสมน้ำแล้วตีฟอง ล้างแบบนี้ 2-3 ครั้งจนกว่าฟองจะน้อยลง
  2. นำปลาหมึกที่ล้างเสร็จมาแช่ในสารส้มที่ผสมน้ำ จะช่วยให้ปลาหมึกไม่มีกลิ่นคาว
  3. ผสมปูนขาวกับน้ำสะอาด 1-2 ขัน แล้วนำปลาหมึกไปแช่ไว้

สูตรการตั้งราคาเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน

13

หลายคนอาจไม่สนใจโดยมองแค่ว่าวันนี้ลงทุนไปเท่าไหร่ก็จดเป็นบัญชีรายจ่ายไว้ ขายได้เท่าไหร่ก็มาลงเป็นบัญชีรายรับ พอขายหมด 1 วันก็มาคิดรวบยอดอีกทีว่าวันนี้มีกำไรหรือขาดทุน การตั้งราคาขายส่วนใหญ่อิงตามราคาของวัตถุดิบที่มีการปรับขึ้นลงในแต่ละวัน รวมถึงต้องดูกำลังซื้อของคนในพื้นที่ด้วย เช่นปลาหมึกปิ้งไม้ละ 10-15 บาทอาจเหมาะกับตลาดแถวหน้าโรงงาน โรงเรียน ชุมชนต่างๆ

ซึ่งหากเอาปลาหมึกที่ราคาแพงแล้วขายไม้ละ 70-80 บาท อาจไม่เหมาะกับกำลังซื้อในย่านนั้น หรือบางทีร้านปลาหมึกปิ้งที่เป็นแบบ รถเคลื่อนที่อาจได้เปรียบที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายและมีสินค้าหลายแบบให้เลือกตั้งแต่ราคาไม้ละ 10 บาท 15 บาท ไปจนถึงราคาไม้ละ/ตัวละ 100 -150 ทั้งนี้หากพิจาราตามสูตรการตั้งราคาจะเป็นดังนี้

กำไร=(ราคารวมวัตถุดิบหลัก (ปลาหมึก))/จำนวนไม้ที่ทำเป็นหมึกปิ้ง + ต้นทุนวัตถุดิบอื่นๆ + ต้นทุนผันแปร

10

หมายถึงว่าพ่อค้าต้องรู้ราคาวัตถุดิบหลักว่าจ่ายไปเท่าไหร่ และในปริมาณวัตถุดิบนี้จะสามารถเอามาทำหมึกปิ้งได้มากน้อยแค่ไหน จะทำให้ทราบราคาต่อไม้โดยเฉลี่ย และเอามารวมกับราคาต้นทุนวัตถุดิบอื่นๆ

เช่นพริก กระเทียม ต่างๆ หรือรวมกับต้นทุนค่าเช่าในแต่ละวันแต่ละเดือนเอามาเฉลี่ยรวมเป็นราคาขายต่อไม้ที่จะทำให้มองเห็นภาพชัดเจนว่าควรขายในราคาเท่าไหร่เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดทุน

อย่างไรก็ดีเทคนิคการเปิดร้านปลาหมึกปิ้งที่จะเพิ่มยอดขายนั้นมีหลายประการเช่น การลงทุนจัดร้าน แต่งร้านให้ดูน่าสนใจ หรือ การเพิ่มสินค้าที่นอกเหนือจากปลาหมึกปิ้งก็มีกุ้งเผา ปลาเผา ร่วมด้วย แต่ก็ต้องแลกมากับการลงทุนที่เพิ่มขึ้น

สำหรับมือใหม่ทั้งหลายเราขอแนะนำให้เริ่มจากร้านเล็กๆ สะสมประสบการณ์และหาสูตรเด็ดเคล็ดลับที่เป็นของตัวเองให้เจอโดยเฉพาะสูตรน้ำจิ้มที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ และอย่าลืมคำนวณต้นทุนและคิดราคาขายต่อไม้ให้ดีเพื่อธุรกิจร้านปลาหมึกปิ้งจะได้สร้างกำไรให้เราได้อย่างงดงาม

*** สูตรการคิดคำนวณราคาดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3kyJhl4


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด