เปิดสูตรคิดต้นทุน “ร้านน้ำแข็งไส” ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง!

บางคนคิดว่า “ขายน้ำแข็งไส” จะเอากำไรจากที่ไหน ขายถ้วยละ 10 บาท 15 บาท ไหนจะน้ำแข็งที่ต้องละลายกลายเป็นต้นทุนไปเรื่อยๆ สู้ไปขายกาแฟ ชานม ชาไข่มุก ยังจะมีกำไรมากกว่า

แต่จนแล้วจนรอดเราก็ยังเห็นพ่อค้าแม่ค้าที่ขายน้ำแข็งไส จึงเชื่อได้ว่า “ธุรกิจนี้ต้องมีกำไรในตัวพอสมควร” และด้วยคำว่า “น้ำแข็งไส” ที่เหมือนเมนูคู่เมืองไทย ราดน้ำแดง น้ำเขียว ใส่ท็อปปิ้งเป็นเฉาก๋วย ลูกชิพ กินได้เพลินๆ ในราคาเบาๆ ยิ่งมีทำเลดีๆ

ร้านน้ำแข็งไส

ภาพจาก bit.ly/30FaLMB

โดยเฉพาะหน้าโรงเรียน โรงงาน ตามหมู่บ้าน เผลอๆรายได้ต่อวันดีกว่าพวกทำงานประจำด้วยซ้ำไป และเพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนว่าธุรกิจน้ำแข็งไสก็มีความน่าสนใจ

www.ThaiSMEsCenter.com จัดเอาวิธีคิดต้นทุนมาแจกแจงให้เห็นภาพแล้วจะรู้ว่าร้านน้ำแข็งไสหากบริหารจัดการดีๆ กำไรดีไม่เบาทีเดียว

ต้นทุนของร้านน้ำแข็งไส (ขนาดเล็ก)

ร้านน้ำแข็งไส

ภาพจาก bit.ly/2VKVO8f

ข้อดีของร้านน้ำแข็งไสคือ เริ่มต้นได้ง่าย อุปกรณ์ไม่มาก ถ้ายังไม่มีทำเลที่ไหน ถ้ามีหน้าบ้านในแหล่งชุมชนก็เริ่มต้นได้เลย ยอดขายอาจจะไม่มากเท่าในตลาดหรือหน้าโรงเรียน โรงงาน แต่หากเปิดใหม่และเป็นการฝึกฝีมือการขายการเริ่มต้นจากหน้าบ้านตัวเองก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยสะสมเงินทุนมากขึ้นแล้วจะขยายไปทำเลอื่นก็ยังได้

ต้นทุนโดยเฉลี่ยของร้านน้ำแข็งไสขนาดเล็กประมาณ 3,020 บาท เป็นค่าอุปกรณ์ที่สำคัญและวัตถดิบต่างๆ เช่น

  • น้ำหวาน (เฮลบลูบอย) 4 รส = 172 บาท (คิดราคาขวดละ 43 บาท)
  • น้ำหวาน / นม / น้ำเชื่อม = 150 บาท
  • ช้อนพลาสติก = 25 บาท
  • หลอดสั้น = 85 บาท
  • กระติกน้ำ = 400 บาท
  • ตะกร้าใส่หลอด / ช้อนพลาสติก = 40 บาท
  • น้ำแข็ง = 50 บาท
  • ถ้วยโฟม = 70 บาท
  • โหลพลาสติก = 140 บาท (ใช้ประมาณ 7 อันอันละ 20 บาท)
  • ช้อนตักเครื่อง = 70 บาท (ใช้ประมาณ 7 อันอันละ 10 บาท)
  • ทัพพีตักน้ำแข็ง = 20 บาท
  • เครื่องต่างๆ = 210 บาท
  • น้ำเชื่อมแบบกระป๋อง = 100 บาท
  • นมข้นหวาน = 98 บาทฃ
  • เครื่องบดน้ำแข็ง = 1,390 บาท

การคิดราคาขายแบบใส่เครื่อง 2 อย่าง

ร้านน้ำแข็งไส

ภาพจาก bit.ly/30CSQq9

ปกติร้านน้ำแข็งไสจะให้เลือกเครื่องได้ 2 อย่าง 10 บาท หรือถ้าเลือก 3 อย่างราคา 15 บาท ราคาที่กล่าวนี้ก็ไม่ได้กำหนดตายตัวเพียงแต่เป็นตัวเลขประมาณการ ซึ่งบางร้านอาจจะตั้งราคาขายมากกว่านี้ ซึ่งโดยปกติ การคิดราคาขายก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณเครื่องที่ใส่

ซึ่งเจ้าของร้านก็ต้องมีวิธีบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบเหล่านี้เพราะจะว่ากันตามตรง กำไรหรือไม่กำไรก็มาจาก “เครื่องท็อปปิ้ง” ที่ใส่เป็นสำคัญ โดยราคาต้นทุนเบื้องต้น คิดแบบ ใส่เครื่อง 2 อย่าง(เฉาก๊วย+ลูกชิด) ต้นทุนคือ

  • เฉาก๊วย = 1 บาท
  • ลูกชิด = 1.5 บาท
  • ถ้วยโฟม = 0.7 บาท
  • น้ำแข็ง = 1.5 บาท
  • น้ำหวานหรือน้ำเชื่อม = 1.5 บาท
  • นมข้นหวาน = 0.5 บาท
  • ช้อน+ หลอด = 0.5 บาท

รวมต้นทุนวัตถุดิบต่อถ้วย = 7.2 บาท (ไม่รวมค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ)

ร้านน้ำแข็งไส

ภาพจาก bit.ly/2HQDF3Q

ถ้าขาย 10 บาท กำไรต่อถ้วย 10 – 7.2 บาท = 2.8 บาท มองดูว่ากำไรที่ได้มานี้อาจจะไม่เยอะแล้วทำไมร้านน้ำแข็งไสเขายังอยู่ได้ ก็เพราะเทคนิคในการลดต้นทุนที่ต้องเอามาใช้

ซึ่งก็หมายถึงการทำน้ำเชื่อมเองแทนการซื้อ หรือการทำท็อปปิ้งต่างๆ ขึ้นมาเอง เช่นสัปปะรด แห้ว เผือก มัน เฉาก๊วย ซื้อมาทีละมากๆ แล้วก็ทำสำเร็จเก็บเอาไว้ ดีกว่าไปซื้อแยกจากตลาดเอามาขาย จะช่วยทำให้ต้นทุนลดลง กำไรที่ได้ก็จะมากขึ้น

ยังไม่รวมการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าด้วยสารพัดวิธีการตลาดเช่นการลองเปลี่ยนแพคเกจที่อาจจะไม่ใช่ถ้วยโฟม แม้ต้นทุนแพคเกจจะสูงขึ้น แต่ราคาขายก็ตั้งสูงกว่า 10 บาทได้ อาจจะถึง 20-25 บาท ยังไม่รวมการตกแต่งหน้าร้าน การหาทำเลที่เหมาะสม เหล่านี้คือเพิ่มลดต้นทุน เพิ่มปริมาณการขาย จะได้มีกำไรมากขึ้น

ร้านน้ำแข็งไส

ภาพจาก bit.ly/2EsIm36

*** สูตรการคิดคำนวณราคาขายดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Guq3hP


 

8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด