เปลี่ยนที่ดินเปล่าให้กลายเป็น ตลาดนัด ต้องทำอย่างไร!

ทุกวันนี้ ตลาดนัด กลายเป็นเหมือนอีกธุรกิจแขนงหนึ่งที่มีคนสนใจกันเป็นจำนวนมาก มีตลาดหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จแต่ก็มีอีกหลายแห่งเช่นกันที่เปิดตัวได้แต่กลับทำกำไรไม่ได้อย่างที่คิดไว้ ด้วยเหตุนี้การศึกษาปัจจัยของการทำตลาดนัดจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การมีที่มีทุนก็จะเริ่มต้นกันได้ทุกคน และเพื่อให้การลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่ศูนย์เปล่า

 www.ThaiSMEsCenter.com มี 5 แนวทางดีๆที่จะเปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าให้กลายเป็นแหล่งทำเงินในรูปแบบตลาดนัด ซึ่งบางคนอาจเคยคิดแต่ติดที่วิธีการวันนี้เรามีคำตอบที่ทุกคนต้องการลองดูกันซิว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินธรรมดาให้กลายเป็นแผ่นดินเงินแผ่นดินทอง

ในที่นี้เราจะพูดถึงตลาดนัดในแบบลานโล่งเพราะเป็นการใช้เงินลงทุนน้อยและมีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งตลาดนัดประเภทนี้มีให้เห็นทั่วไปรวมถึงในกรุงเทพฯก็เช่นกัน แต่ส่วนมากคนจะติดตาเป็นภาพของตลาดนัดตามต่างจังหวัดซะมากกว่า

สิ่งสำคัญของการเปลี่ยนที่ดินให้เป็นตลาดนัดแบบลานโล่งนั้นมีข้อดีคือไม่ต้องเน้นความหรูหรา แต่ต้องเน้นเรื่องความสะอาด อาจจะต้องมีการปรับพื้นที่ เทปูนเพื่อความสะดวกสบาย รวมถึงการติดไฟส่องสว่างเพื่อเป็นประโยชน์แก่พ่อค้าแม่ขายและลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการในตลาดนัด

ทั้งนี้ทำเลที่ดีของตลาดนัดควรจะอยู่ห่างจากแหล่งเมืองไม่เกิน 2 กม. และอาจต้องมีสถานที่บางส่วนจัดไว้เป็นลานจอดรถทั้งมอเตอร์ไซด์และรถยนต์เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้มาใช้บริการมากขึ้น

ส่วนการลงทุนทำตลาดนัดไม่ว่าจะเป็นการลงทุนบนที่ดินเปล่าของตัวเอง หรือดำเนินการบนที่ดินของคนอื่น งบประมาณการลงทุนเบื้องต้นที่ไม่รวมค่าเช่าพื้นที่ในกรณีเป็นที่ดินคนอื่น ส่วนใหญ่ใช้งบเบื้องต้นประมาณ 200,000 บาทต่อการจัดตลาดนัด 1 แห่งซึ่งมี 5 ขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำดังนี้

1. ศึกษารูปแบบของตลาดนัด

ตลาดนัด

ภาพจาก goo.gl/txD6pQ

ในทางปฏิบัติแล้วตลาดนัดแบบลานโล่งเป็นแนวคิดที่เหมาะมาก กับการประยุกต์ใช้กับที่ดินในแถบต่างจังหวัดที่อยู่ห่างใจกลางเมืองไม่เกิน 2 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเดินทางไปมาได้สะดวก ทำแล้วมักประสบความสำเร็จได้ดี เพราะคนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ชอบจับจ่ายซื้อของที่ตลาดแบบแบกะดิน

โดยการทำตลาดนัดนี้อาจทำได้ทั้งรูปตลาดเปิดลานโล่งหรือแบบถาวรก็ได้ แต่หากเป็นในต่างจังหวัดแล้ว ตลาดนัดแบบเปิดโล่งดูจะเหมาะที่สุด เพราะทำง่ายอีกทั้งยังใช้งบลงทุนไม่มาก เนื่องจากไม่เน้นความหรูหรา แต่จะเน้นที่ความสะอาด พื้นเทปูน ไฟสว่าง เพื่อขจัดปัญหาการฉกชิงวิ่งราวเป็นสำคัญ

2. ตกลงกับผู้ถือครองที่ดิน หรือผู้ร่วมทำธุรกิจในการแบ่งสรรกำไรที่ชัดเจน

rt4

ภาพจาก goo.gl/JK5Uw6

เป็นเรื่องของกฎหมายที่ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนเพราะมีกรณีศึกษาอยู่ไม่น้อยที่ตอนก่อนเช่ากับหลังเช่าความคิดของเจ้าของที่ดินนั้นอาจไม่เหมือนกัน ที่เห็นทั่วไปคือเมื่อตลาดนัดถูกสร้างจนเป็นที่รู้จักและทำรายได้ให้แก่เจ้าของตลาด โดยส่วนใหญ่เจ้าของที่ดินมักไม่พอใจแค่ราคาเช่าที่เคยตกลงกันไว้ นำไปสู่การเลิกเช่าเพื่อให้ตัวเองจัดการทำตลาดต่อไป

ซึ่งตรงนี้ถือเป็นความเสียเปรียบของผู้เช่า หรือในกรณีที่เป็นที่ดินตัวเองแต่มีหุ้นส่วนธุรกิจก็ต้องทำลายลักษณ์อักษรว่าจะรายได้จากตลาดนัดจะมาจากส่วนไหนค่าเช่าทั้งหมดเท่าไหร่แบ่งสรรกันกี่เปอร์เซ็นต์เรื่องพวกนี้ต้องชัดเจนจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง

3. กำหนดกลุ่มลูกค้าที่จะมาเดินตลาดนัด

rt3

ภาพจาก goo.gl/H7pnGH

แน่นอนที่สุดว่ากลุ่มลูกค้าสำหรับตลาดนัดแบบเปิดโล่ง จะเป็นกลุ่มที่มีกำลังจับจ่ายแต่ละครั้งอยู่ในช่วง 100-200 บาทต่อคน หากเราศึกษาทำเลมาเป็นอย่างดีแล้ว การทำตลาดนัดแบบนี้ควรจะดึงดูดผู้คนเข้ามาให้ได้อย่างน้อยวันละ 1000-1500 คน

หากมีการจับจ่ายคนละ 100 บาทเท่ากับว่าตลาดนัดนี้จะมีเงินหมุนเวียนอยู่ราวๆ 100,000 – 300,000บาท/วัน ซึ่งการกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ถูกต้องจะช่วยประเมินได้ว่าควรมีร้านค้าประเภทใดเข้ามาอยู่ในระบบการค้าแบบตลาดนัดของเราบ้าง

4. การจัดการตลาดนัด

rt2

ภาพจาก goo.gl/l5mtcP

สำหรับในเรื่องการจัดการตลาดนัดขนาดพื้นที่ขายที่เหมาะสมควรมีขนาดตั้งแต่ 2 ไร่ขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปจะจัดพื้นที่แผงค้าได้ประมาณ 150-200 แผง โดยเคล็ดลับการทำตลาดจะต้องวัดขนาดโดยรวมทั้งหมดออกมาก่อน จากนั้นจึงค่อยจัดวางผัง กำหนดรูปแบบว่าสินค้าใดควรตั้งวางบริเวณใด แยกหมวดหมู่ให้ชัดเจน

ทั้งนี้ขนาดของแผงค้าไม่ควรเล็กเกินไป ปกติจะกำหนดที่ความกว้าง 3 x 3.50 เมตร และแบ่งช่องทางเดินให้กว้างขวางสะดวกต่อผู้เข้ามาจับจ่ายสินค้า

ซึ่งการจัดวันเวลาเปิดปิดตลาดนัดก็มีส่วนต่อความสำเร็จเช่นกันซึ่งการกำหนดวันเวลาที่เปิดขายนั้น จะดูจากชีวิตประจำวันของในท้องที่ และเคล็ดลับก็คือต้องมีกำหนดเปิดขายตามเวลานั้นๆเป็นประจำ เพื่อให้คนจำได้ เช่น วันศุกร์-อาทิตย์ ช่วงเย็น , วันจันทร์-อังคาร ช่วงเย็น , วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00-24.00 น. หรือจะเปิดให้บริการตลอด 7 วัน แต่จะต้องมีสินค้าแตกต่างกันไปในแต่ละวัน เพื่อสร้างความโดดเด่นของตลาด

5. การโฆษณาประชาสัมพันธ์

rt5

ภาพจาก goo.gl/pFuofM

การโปรโมทตลาดส่วนใหญ่จะใช้วิธีขึ้นป้ายขนาดใหญ่ให้สะดุดตามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงการพิมพ์แผ่นพับ ใบปลิวแจกจ่ายในสถานศึกษา โรงพยาบาล แหล่งชุมชนและตามตลาดต่างๆ หรือในกรณีต่างจังหวัดอาจโฆษณาผ่านวิทยุท้องถิ่น ซึ่งโดยปกติระยะเวลาโฆษณาประชาสัมพันธ์ประมาณ 1 เดือนจะเสียค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100,000 บาท

แต่ถ้าเป็นตลาดนัดในกรุงเทพฯรายจ่ายส่วนอื่นๆจะสูงกว่าต่างจังหวัดมากเพราะรูปแบบที่แตกต่างและไลฟ์สไตล์ที่มากขึ้นดังนั้นจึงควรดูทิศทางความเหมาะสมก่อนตัดสินใจเพื่อเลือกการลงทุนต่อไป

และสำหรับคนที่กำลังมองหารูปแบบล็อคขายของหรือต้องการหาทำเลการค้าดีๆที่อาจจะไว้ขายสินค้าหรือเป็นต้นแบบขาองการทำตลาดนัดในความคิดตัวเองเรามีรวบรวมพื้นที่เช่าและล็อคขายของจำนวนมากสามารถเข้ามาดูทำเลที่เหมาะสมแบบที่ตัวเองต้องการได้ที่ goo.gl/ZegEJf 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด