เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย 5 ช่องทางจำหน่าย กับ 1 ช่องทางแฟรนไชส์

ช่องทางจำหน่ายเป็นวิธีการที่บริษัทนำเสนอสินค้าและบริการไปยังลูกค้า บางธุรกิจเลือกใช้ช่องทางการขายตรงให้กับลูกค้า ในขณะที่บางธุรกิจอาจใช้ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่งเพื่อเป็นตัวกลาง

บริษัทอาจใช้ตัวแทนหรือนายหน้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการขายสินค้า หรือเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังผู้จัดจำหน่าย ขณะเดียวกันยังมีอีกบางธุรกิจที่เลือกช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าด้วยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งแต่ละช่องทางจำหน่ายมี ข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ

1.ตัวแทนจำหน่าย

ข้อดี-ข้อเสีย

ภาพจาก www.freepik.com

ข้อดี – มีความคล่องตัวสูง ใช้ทักษะความรู้ความสามารถในการขายของตัวแทนจำหน่าย สามารถควบคุมตัวแทนจำหน่ายได้ง่าย กำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละตัวแทนจำหน่ายได้ชัดเจน และสามารถรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคในท้องถิ่นได้ดี

ข้อเสีย – ค่าคอมมิชชั่นสูง ตัวแทนจำหน่ายเลือกสินค้าที่มีชื่อเสียง หรือ ทำการตลาดได้ง่ายเท่านั้น อีกทั้งตัวแทนจำหน่ายมีอำนาจต่อรองสูง อาจทำให้เจ้าของธุรกิจต้องมีค่าใช้จ่ายสูง

2.ฝากคนอื่นขาย

63

ภาพจาก www.freepik.com

ข้อดี – มีความสะดวกสบายไม่ต้องรับภาระในการขาย ผู้รับฝากขายตัดสินใจได้ง่าย ผู้รับฝากขายสามารถกำหนดกลยุทธ์ส่วนตัวสำหรับการขายให้ได้เร็วขึ้นได้ ทำให้ผู้ฝากขายไม่ต้องกังวลในเรื่องช่องทางการจำหน่าย

ข้อเสีย – มีค่าใช้จ่ายเพิ่มต้องลงทุนให้ผู้รับฝากขาย รับภาระสินค้าเก็บคืน ไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขที่ตายตัวให้กับร้านค้าได้ รวมถึงอาจถูกเอารัดเอาเปรียบจากร้านค้าที่เอาสินค้าไปฝากขาย

3.ขายส่งพ่อค้าคนกลาง

62

ภาพจาก www.freepik.com

ข้อดี – มีคนกลางจำนวนมาก กระจายสินค้าได้ทั่วถึง สามารถเลือกประเภทของคนกลางที่มีประสิทธิ์ภาพในการขายได้ รับซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก สามารถกำหนดกำลังการผลิตสินค้าได้ง่าย เพราะมีผู้ซื้อที่แน่นอน

ข้อเสีย – ไม่สามารถต่อรองเรื่องราคาได้ สินค้าเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อค้า อาจไม่ได้รับความสะดวกจากการให้บริการของพ่อค้าคนกลาง มีปัญหาเรื่องการเจรจาต่อรองของพ่อค้าคนกลางในกรณีที่พ่อค้าคนกลางมีอำนาจสูงกว่า

4.อีคอมเมิร์ซ

61

ภาพจาก www.freepik.com

ข้อดี – รวดเร็ว ทันสมัย ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสั่งซื้อ สามารถเลือกใช้บริการจากเว็บมาสเตอร์ที่มีความชำนาญได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านสถานที่และค่าใช้จ่ายโสหุ้ย และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

ข้อเสีย – จับต้องสินค้าไม่ได้ ลูกค้าไม่มั่นใจว่าจะได้รับสินค้า เทคโนโลยีไม่พร้อมและขาดผู้ชำนาญด้านนี้ ขาดการให้ความรู้ไปสู่ชุมชน หรือผู้ประกอบการอย่างทั่วถึง และยุ่งยากในการติดต่อกับธนาคาร

5.ขายตรง

60

ภาพจาก www.freepik.com

ข้อดี – กระจายสินค้าได้ในวงกว้าง เข้าถึงลูกค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนคืนสินค้าได้ ลูกค้าได้สัมผัสสินค้า พนักงานสามารถสาธิตให้เห็นประโยชน์ของสินค้าช่วยขายง่าย พนักงานได้รับค่าตอบแทนตามความสามารถในการเสนอขายสินค้า

ข้อเสีย – สินค้าราคาแพง เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานขายมาก เสียค่าโสหุ้ยในการดำเนินธุรกิจสูง สินค้าส่วนใหญ่กำหนดผลตอบแทนพนักงานขายที่เกินความเป็นจริง และสินค้าส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตพื้นฐาน

6.แฟรนไชส์

5

ข้อดี – ขยายธุรกิจได้รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนต่ำในการขยายสาขา ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องคนทำงานมาก ธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการลงทุนด้วยตนเอง มีอำนาจในการซื้อสินค้าทำให้ต้นทุนถูกลง

ข้อเสีย – มีภาระมากขึ้นต้องรับผิดชอบต่อแฟรนไชส์ซี เกิดความขัดแย้งได้ง่าย เพราะบางครั้งแฟรนไชส์ซีอาจมีการฝ่าฝืนกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายสูงในการเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทีมงาน จัดทำคู่มือ ระบบการอบรมและการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะถ้าแบรนด์ไม่ดังไม่เป็นที่รู้จัก ก็จะไม่มีใครมาซื้อแฟรนไชส์

นั่นคือ ช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าหรือช่องทางการดำเนินธุรกิจที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

SMEs Tips

  1. ตัวแทนจำหน่าย
  2. ฝากคนอื่นขาย
  3. ขายส่งพ่อค้าคนกลาง
  4. อีคอมเมิร์ซ
  5. ขายตรง
  6. แฟรนไชส์

อ้างอิงจาก https://bit.ly/30m1wpt

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช