เทียบกันชัด ๆ GrabBike VS วินมอ’ไซค์ อะไรดีต่อใจสุด

ทุกวันนี้เราคงจะเห็นข่าวเกี่ยวกับ GrabBike และวินมอเตอร์ไซต์มากมาย ทั้งในสื่อโซเชียลรวมถึงข่าวทางโทรทัศน์เกี่ยวกับการถกเถียงเรื่องกฎหมาย ค่าโดยสาร การขับขี่ที่ไม่สุภาพ

และข่าวการทะเลาะวิวาทต่าง ๆ ระหว่าง GrabBike กับวินมอเตอร์ไซค์เจ้าถิ่น จนทำให้ใครหลายคนเริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการโดยสารทางมอเตอร์ไซค์

ปัญหาเหล่านี้เกิดจากผู้โดยสารโดนโก่งราคาค่าวิน การขับขี่ไม่สุภาพรวมถึงการย้อนศรซึ่งเสี่ยงให้เกิดอันตราย จึงทำให้หลาย ๆ คนเปลี่ยนไปใช้บริการ Grab กันมากขึ้น และเสริมด้วยบริการต่าง ๆ อาทิ เรียกผ่านแอพพลิเคชั่น โปรโมชั่นต่าง ๆ นานา

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูกันชัด ๆ เลยว่านอกจากความสะดวกสบายในการใช้บริการ Grab แล้วยังมีข้อแตกต่างในเรื่องไหนกันอีกบ้าง

GrabBike

13

ภาพจาก bit.ly/2Y9Vxgc

GrabBike ตัวเลือกหนึ่งเดียวในชั่วโมงเร่งด่วน บริการเรียกมอเตอร์ไซค์ที่มาพร้อมกับความสะดวกสบายและราคาที่มีมาตรฐาน Grab ผู้นำแพลตฟอร์มด้านการขนส่งชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เปิดตัวแกร็บไบค์ (วิน) หลังจากประสบความสำเร็จในการทดลองให้บริการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 แกร็บไบค์ (วิน) เป็นความร่วมมือระหว่างแกร็บและผู้ให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งให้บริการด้วยรถจักรยานยนต์ที่ลงทะเบียนถูกต้อง

ผู้โดยสารสามารถใช้แอพพลิเคชั่นแกร็บเรียกใช้บริการแกร็บไบค์ (วิน) ได้ โดยคนขับจะมารับผู้โดยสารถึงที่ไม่ว่าจะเรียกใช้บริการจากจุดใดในกรุงเทพฯ โดยไม่ต้องเดินไปเรียกรถถึงวินมอเตอร์ไซค์

แกร็บไบค์เป็นบริการที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดของแกร็บในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นการมอบทางเลือกในการเดินทางที่รวดเร็ว ปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสม เหมาะกับการเดินทางช่วงเร่งด่วนในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น

ค่าบริการ :

  1. สำหรับ 5 กม.แรก
    • 1 – 2 กม. 25 บาท
    • 1 – 5 กม. 5 บาท/กม.
  2. ค่าบริการ ตั้งแต่ 5 กม. เป็นต้นไป
    • 1 – 5 กม. 50 บาท
    • 5.1 – 15 กม. 10 บาท/กม.
    • 15.1 กม. ขึ้นไป 15 บาท/กม.

*ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการเรียกรถ 10 บาท และอาจมีค่าบริการเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับพื้นที่ให้บริการและสภาพการจราจร

12

ภาพจาก bit.ly/2XVdLa6

ความสะดวกในการใช้บริการ :

ในเวลาเร่งด่วนสามารถเรียกรถได้จากแอปพลิเคชั่น ซึ่ง GrabBike เดินทางมาหาผู้ใช้บริการได้รวดเร็วกว่าแม้การจราจรติดขัด ในเวลาปกติไม่ต้องเดินตากแดดตากฝนเพื่อไปรอเรียกวินมอเตอร์ไซต์และสามารถจ่ายค่าโดยสารได้ทั้งเงินสดและผ่านบัตรเดบิต เครดิต และทุกการเดินทางกับ GrabBike คุณจะได้รับประกันอุบัติเหตุสูงสุด 600,000 บาทต่อกรณี

กฎหมาย :

หากดูตามกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจรถร่วมโดยสารของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งแปดประเทศที่แกร็บดำเนินธุรกิจอยู่ มีเจ็ดประเทศยกเว้นประเทศไทยที่แกร็บสามารถร่วมให้บริการขนส่งสาธารณะได้อย่างถูกต้องภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐ เนื่องจากประเทศไทยมีกฏหมายว่าขนส่งสาธารณะต้องเป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง

11

ภาพจาก bit.ly/2GpLwp7

5 ประเทศ ที่มีการแก้ไขให้ถูกกฎหมาย ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ กัมพูชา

2 ประเทศ ที่นำร่องภายใต้ Regulatory Sandbox และกำลังรอการแก้ไขกฎหมาย ได้แก่ เวียดนาม และ พม่า

10

ภาพจาก bit.ly/2LAIVgs

ความปลอดภัย : ท่านสามารถติดตามการเดินทางแบบเรียลไทม์ผ่าน GPS และสามารถแชร์ให้คนอื่น ๆ ทราบได้

การลงทุน :

มีรถจักรยานยนต์เป็นของตัวเองพร้อมหลักฐานการต่อ พรบ. สามารถใช้ได้ทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะ ต้องมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีระบบแอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.4 ขึ้นไป

  • โทรศัพท์ที่ใช้ต้องสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและ GPS ได้เป็นอย่างดี
  • มีค่าบริการแรกเข้าตามจำนวนที่ทางบริษัทกำหนด แต่ส่วนใหญ่จะแค่หลักร้อยบาทเท่านั้น

รายได้ :

มีการประกันรายได้จากทางบริษัทที่สูงสุดถึงวันละ 750 บาท สำหรับผู้ที่ขับเต็มเวลา และวันละ 350 บาทสำหรับผู้ที่ทำแบบพาร์ทไทม์


วินมอเตอร์ไซค์

9

ภาพจาก bit.ly/2GpxBQ1

มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ใช้พาหนะเป็นรถจักรยานยนต์ สามารถขนส่งได้ครั้งละไม่เกิน 1 คนเท่านั้นและมีการกำหนดราคาให้บริการตามที่กำหนด หรือตามตกลงอันเห็นสมควรแก่ทั้งสองฝ่าย

จุดบริการ :

บริเวณที่จอดรอของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จะเรียกกันในภาษาถิ่นว่า วินมอเตอร์ไซค์ พร้อมทั้งป้ายบอกราคาการเดินทางขั้นต่ำ ติดตั้งไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้โดยทั่วกัน

เอกลักษณ์ :

ผู้ทำหน้าที่จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียน และรับเสื้อวินแบบเสื้อสีส้ม พร้อมชื่อวิน ชื่อพนักงานและเบอร์เขตให้บริการ รวมทั้งยังต้องบริการหมวกกันน็อคให้กับลูกค้าอีกด้วย

ค่าบริการ :

  • ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ต้องไม่เกิน 25 บาท และกิโลเมตรต่อๆ ไป แต่ไม่เกิน 5 กิโลเมตร ต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท
  • ระยะทางเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 15 กิโลเมตร ตั้งแต่กิโลเมตรแรกจนสิ้นสุดการรับจ้างต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท
  • ระยะทางเกินกว่า 15 กิโลเมตรขึ้นไป ให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและคนโดยสารตกลงกัน ก่อนทําการรับจ้าง หากไม่ตกลงกันก่อนทํา การรับจ้าง อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารตั้งแต่กิโลเมตรแรก จนสิ้นสุดการรับจ้างต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท

8

ภาพจาก mangozero.com

โดยทางทีมงาน Mango Zero ได้ยกตัวอย่างเส้นทางและราคาตามกฏหมายมาให้ดูกันว่าราคาแต่ละเส้นทางมีค่าบริการเท่าไหร่กันบ้าง

ตัวอย่างค่าบริการพี่วินตามกฎหมายในเส้นทางยอดนิยม

  • หัวลำโพง ไป เยาวราช = 25 บาท
  • อนุเสาวรีย์ ไป สยาม = 30 บาท
  • อนุเสาวรีย์ ไป สนามหลวง = 60 บาท
  • BTS สนามกีฬา ไป สนามหลวง = 40 บาท
  • ถนนข้าวสาร ไป สนามหลวง = 25 บาท
  • Airport Link รามคำแหง ไป สนามราขมังคลากีฬาสถาน = 35 บาท
  • BTS หมอชิต ไป ขนส่งหมอชิต = 25 บาท
  • BTS หมอชิต ไป อิมแพคเมืองทองธานี = 150 บาท

(ในกรณีไม่ตกลงกันก่อนทําการรับจ้าง อัตราค่าโดยสารตั้งแต่กิโลเมตรแรก จนสิ้นสุดการรับจ้างต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท [15×10=150])

ความสะดวกในการใช้บริการ :

มีจุดจอดวินในสถานที่สำคัญ เช่น หน้าปากซอย กลางซอย ป้ายรถเมล์ ซึ่งทำให้สามารถโบกเรียกได้ทันทีไม่ต้องรอ และด้วยการตกแต่งรถที่เป็นสัญลักษณ์ของแท็กซี่ทำให้ผู้โดยสารเห็นได้ง่ายและใช้บริการได้ทันที

กฎหมาย :

มีใบอนุญาตขับขี่สาธารณะมาวิ่งรับผู้โดยสารและมีป้ายทะเบียนสีเหลือง ซึ่งก็หมายถึงสามารถขับขี่รับส่งผู้โดยสารได้อย่างถูกกฏหมาย

ความปลอดภัย :

หน้าหลังเสื้อกั๊กวินมีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับคนขับและพื้นที่ที่วินมอเตอร์ไซต์ให้บริการ เพื่อให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการสามารถบันทึกข้อมูลได้

7

ภาพจาก bit.ly/2y0Xykm

การลงทุน :

TCIJ สำรวจพบว่า ย่านที่เสื้อวินมีราคาสูงมักเป็นย่านที่รถไฟฟ้าหรือรถเมล์เข้าไม่ถึง หรือเข้าถึงแต่มีจำนวนน้อยและความถี่ไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะแหล่งรวมสำนักงานและธุรกรรมต่างๆ เช่น สุขุมวิท เสื้อวินมีราคาสูงถึงสามแสนบาท

บางปีอาจพุ่งทะยานขึ้นไปถึงห้าแสนบาท และยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดูแลวิน เช่น ค่าจ้างคนคุมวิน สินน้ำใจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อเทียบกับรายได้ ก็ยังถือคุ้มค่าสมน้ำสมเนื้อ

รายได้ :

รายได้เฉลี่ย 24,000 บาทต่อเดือน แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายรวมกับเสื้อวินแล้วคงเหลือประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน

อัตราค่าค่าโดยสารเปรียบเทียบระหว่าง Grab Bike, Uber Moto และรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โดยรถจักรยานยนต์วิน ที่วิ่งให้บริการในปัจจุบัน ซึ่งมีมากกว่า 5,445 วิน มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างทั้งสิ้น 105,894 คน

ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก เก็บอัตราไม่เกิน 25 บาท, 2-5 กิโลเมตร ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท, 5-15 กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารตั้งแต่กิโลเมตรแรก จนสิ้นสุดการรับจ้างต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท, เกินกว่า 15 กิโลเมตรขึ้นไป ให้ผู้โดยสารและผู้ขับตกลงราคากันเอง แต่ต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท

6

ภาพจาก bit.ly/2Z8hqOa

ในขณะที่อัตราค่าบริการ Grab Bike คิดค่าบริการเริ่มต้นที่ 10 บาท และค่าบริการตามระยะทางตั้งแต่กิโลเมตรแรกในอัตรา 5 บาทต่อกิโลเมตร และอีกจุดเด่นคือจะมีการคำนวณอัตราค่าโดยสารกับระยะทางทั้งหมดให้ผู้ใช้บริการได้ทราบก่อนการเรียกใช้บริการ

และ Grab Bike มีการจัดโปรโมชั่น ส่วนลดค่าบริการ โดยผู้ขับขี่จะต้องผ่านการตรวจประวัติอาชญากรรม มีระบบติดตามแบบ Real Time Tracking และมีประกันอุบัติเหตุ อีกปัจจัยที่เป็นจุดเด่นของบริการ Grab Bike คือ รายได้ของคนขับขี่ที่จะได้ส่วนแบ่งจากค่าโดยสารสูงถึง 75-85% ขณะที่วินปกติต้องถูกหักเข้าระบบเสื้อวิน

Grab Bike หรือวินมอเตอร์ไซต์ก็มีส่วนที่ดีต่อใจแตกต่างกัน ทางด้าน GrabBike อาจจะสะดวกรวดเร็วและรับส่งผ่านการเรียกแอพพลิเคชั่น แต่วินมอเตอร์ไซต์ก็จะเชี่ยวชาญในเรื่องของพื้นที่ไม่ต้องเสียเวลาสอบถาม ส่วนในด้านอื่น ๆ คุณผู้อ่านก็น่าจะทราบรายละเอียดกันแล้ว เอาเป็นว่าถ้ามีข้อมูลอะไรใหม่ ๆ www.ThaiFranchiseCenter.com จะรีบมาอัพเดตโดยทันที !


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล