เทคนิค เปิดร้านชาราคาเดียว แบบไม่ซื้อแฟรนไชส์

เทคนิคเปิดร้านชาราคาเดียวแบบไม่ซื้อแฟรนไชส์  ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หากคิดถึงการลงทุนจะมองที่ระบบแฟรนไชส์เพราะมีข้อดีที่ทำให้ประหยัดเวลาไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์เอง มีวัตถุดิบให้พร้อม มีแนะนำการขาย การบริหารจัดการร้าน รวมถึงมีการส่งเสริมการตลาด

แต่อย่างไรก็ตามหลายคนก็มองว่าการซื้อแฟรนไชส์บางทีเป็นข้อผูกมัดที่มากเกินไป รวมถึงบางคนไม่อยากที่จะเสียส่วนแบ่งจากยอดขาย ไม่ต้องการเสียค่าธรรมเนียมรายปี ด้วยเหตุนี้คนอีกส่วนหนึ่งจึงคิดว่าหากจะมีร้านค้าก็ขอลงทุนเองจะดีกว่า

ทั้งนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ให้ความสำคัญกับความคิดของทุกคนที่ล้วนแต่มีเหตุและผลเป็นของตนเอง ซึ่งทั้งการลงทุนกับแฟรนไชส์หรือการลงทุนด้วยเงินตัวเองต่างก็มีข้อดีข้อเสียในตัวด้วยกันทั้งนั้น

เราลองมายกเคสตัวอย่างว่าหากเราคิดจะเปิดร้านเครื่องดื่มประเภทชาราคาเดียวที่ตอนนี้มีแฟรนไชส์มากมายให้เลือกแต่หากเราคิดลงทุนเองจะต้องมีวิธีการเริ่มต้นอย่างไรบ้าง

แบบไม่ซื้อแฟรนไชส์

เริ่มจากมาดูค่าแฟรนไชส์ของร้านเครื่องดื่มประเภทชาในปัจจุบันที่มีหลายแบรนด์ราคาแตกต่างกันไป อย่างกัตโตะชา ราคาแฟรนไชส์เริ่มต้นที่ 29,900 บาท , ชาบูลัน 49,900 บาท , ชาไข่มุกไอ-ฉะ 39,000 บาท เป็นต้น

ซึ่งราคาแฟรนไชส์นี้จะเป็นการรวมอุปกรณ์ตามแพคเกจและวัตถุดิบ พร้อมการสอนเทคนิคการเปิดร้าน การส่งเสริมการตลาด ซึ่งรายละเอียดของแต่ละแฟรนไชส์ว่าผู้ลงทุนต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนไหนเพิ่มเติมบ้างก็เป็นรายละเอียดในสัญญาที่แตกต่างกันไป

เหตุผลที่คนมองว่ายอมจ่ายเงินซื้อแฟรนไชส์ดีกว่านอกจากไม่ต้องมายุ่งยากกับเรื่องอุปกรณ์วัตถุดิบ ยังเป็นเรื่องของรสชาติที่ไม่ต้องมาลองผิดลองถูกทำเองเพราะแต่ละแฟรนไชส์จะมีสูตรเฉพาะของตัวเองไว้ให้ผู้ลงทุนทำตามได้เลยทันที

แต่หากเราตัดสินใจว่าไม่เอาแน่กับแฟรนไชส์ลองมาดูกันว่าลงทุนเองจะต้องใช้เงินประมาณไหนและจะต้องทำอะไรบ้าง

1.หาทำเล

หาทำเล

อันที่จริงซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องหาทำเลเองเหมือนกัน และตรงนี้ก็เป็นรายจ่ายที่คำนวณได้ยากขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกทำเลแบบไหน ค่าเช่าแพงแค่ไหน แต่หากจะลงทุนเปิดร้านเองแนะนำว่าควรหาทำเลที่คนพลุกพล่านจะดีที่สุด

2.คิดรูปแบบของร้าน

309

จุดเด่นของการซื้อแฟรนไชส์คือ ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์ คีออส ก็จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง รู้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ไหน แต่หากจะสร้างแบรนด์เองแนะนำว่าใช้แบบเคาน์เตอร์จะเริ่มต้นได้ง่ายกว่าและถ้าไม่รู้จะหาเคาน์เตอร์เหล่านี้ได้ที่ไหนลองไปติดต่อสอบถามจากร้านเฟอร์นิเจอร์หรือหาข้อมูลจากแฟรนไชส์ว่ามีร้านไหนที่รับทำซึ่งส่วนใหญ่ราคาของเคาน์เตอร์ก็แตกต่างตามขนาดเริ่มตั้งแต่ 8,000-25,000 ตามแบบที่เราสั่งทำ

3.การตกแต่งร้าน

310

จะปล่อยให้ร้านโล่งก็ไม่ดึงดูดลูกค้าดังนั้นต้องมีการตกแต่ง อุปกรณ์เสริมที่ควรใส่เพิ่มเข้าไปเช่น ป้ายชื่อร้าน ป้ายบอกราคา ซึ่งราคาป้ายไวนิลเหล่านี้เฉลี่ยประมาณตารางเมตรละ 150 บาท ต่อมาคือเรื่องโต๊ะเก้าอี้ ที่ควรมีติดไว้ในร้านสัก 2-3 ชุด ส่วนใหญ่ราคาชุดละประมาณ 2,500 บาท ซึ่งเราก็ควรเลือกใช้โต๊ะที่ดีและมีความแข็งแรงด้วย

4.อุปกรณ์ในการเปิดร้าน

314

เปิดร้านชาอุปกรณ์ที่สำคัญก็เช่น ถังต้มน้ำร้อน ขนาดประมาณ 6.8 ลิตร ที่ควรมี 3 ใบ ไว้สำหรับพักน้ำชา 2 ใบและต้มน้ำร้อน 1 ใบ ราคาใบละประมาณ 2,500 บาท

กระติกน้ำร้อน สำหรับใช้ในการละลายวัตถุดิบบางอย่าง ราคาประมาณ 800 บาท
เครื่องตีฟองนมไฟฟ้า ที่ควรมี 2 ตัวไว้สำรอง ราคามีตั้งแต่ 900-1,200 บาท
แก้วสแตนเลสสำหรับชง ประมาณ 5 ใบ
แก้วตวง 6 ออนซ์ (แบบมีสเกล) ประมาณ 4 ใบ

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เพิ่มเติมอื่นๆอีกหลายรายการ เช่น เหยือกชักชา, กระปุกใส่วัตถุดิบ , ที่เปิดกระป๋องนม , ลังใส่น้ำแข็ง , แก้ว 22 ออนซ์ , ถุงหิ้ว , หลอดงอ , ฝาปิดแก้ว ฯลฯ

เบ็ดเสร็จเฉพาะเรื่องอุปกรณ์ทั้งหมดที่ควรมีใช้งบลงทุนประมาณ 15,000-20,000 บาท

5.วัตถุดิบ

317

มีทั้งวัตถุดิบทั่วไปหาซื้อได้ในห้างสรรพสินค้าเช่น ผงโกโก้ โอวัลติน เนสกาแฟ น้ำตาลทราย เกลือผง โซดา มะนาว นมสด น้ำหวานเฮลบลูบอย และส่วนที่เป็นวัตถุดิบสำคัญก็คือ “ใบชา” ที่ต้องมีทั้งชาแดง สำหรับทำชาเย็น และชาเขียว การเลือกซื้อใบชา เราต้องศึกษาจากร้านที่มีคุณภาพ ชงแล้วมีรสชาติดี ที่สำคัญเรื่องราคาต้องอย่าให้แพงเกินไปเพราะหมายถึงต้นทุนของเราด้วย

6.คิดสูตรเมนูที่จะทำขาย

315

เมนูหลักๆที่ควรมีทั้งชาเย็น , ชามะนาว , ชาเขียว , กาแฟเย็น , โกโก้ , แดงมะนาวโซดา , นมสด , นมเย็น , โอเลี้ยง ฯลฯ เบ็ดเสร็จคิดมาประมาณ 20 เมนูเป็นอย่างน้อยให้ลูกค้ามีทางเลือก จากนั้นก่อนที่จะขายอย่างเป็นทางการได้เมนูเหล่านี้ก็ต้องมีสูตรเฉพาะตายตัว ที่ชงแต่ละครั้งได้รสชาติที่เหมือนกัน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ลูกค้าติดใจร้านเราได้ด้วย

7.คำนวณต้นทุนราคาขาย

316

เมื่อเรารวมต้นทุนตั้งแต่ต้นว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้างและควรกำหนดราคาขายเท่าไหร่ให้สอดคล้องกัน กลยุทธ์การตลาดคือกำหนดราคาเดียวที่ 25 บาท หากต้นทุนเราไม่แพงมากเฉลี่ยต่อแก้วจะมีต้นทุนประมาณ 13-15 บาท

โดยสรุปแล้วงบประมาณในการลงทุนเปิดร้านเองโดยไม่พึ่งแฟรนไชส์หากรวมเอาต้นทุนทุกอย่างมารวมกัน ใช้เงินประมาณ 40,000 บาท (ไม่รวมค่าเช่า) ทีนี้เราก็ต้องตัดสินใจเอาเองว่าคุ้มค่าและเหมาะสมแค่ไหน

ข้อดีของการลงทุนเองคือไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติมนอกจากค่าวัตถุดิบที่ต้องซื้อเอง ไม่มีส่วนแบ่งจากยอดขาย (แต่บางแฟรนไชส์ก็ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้) ก็ต้องมาชั่งใจอีกว่าเราจะยอมรับได้ไหมที่ต้องมาเสียเวลาคิดสูตรการชง ทำตลาด

และลองผิดลองถูกกับการบริหารจัดการ หรือจะเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่มีทุกอย่างให้พร้อมและต่อยอดเริ่มทำธุรกิจได้เลย เลือกเอาที่ใจชอบและเริ่มลงมือทำตามที่เห็นสมควรกันเลย


SMEs Tips

  1. ศึกษาวิธีการเปิดร้านจากคนที่มีประสบการณ์
  2. เริ่มหาทำเล หาอุปกรณ์การขาย
  3. คิดสูตรและเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ของร้าน
  4. วางวิธีการบริหารจัดการร้าน ควบคุมต้นทุน
  5. รู้จักการทำตลาดเพื่อโฆษณาร้าน
  6. ตัดสินใจให้ดีว่าลงทุนเองจะดีกว่าซื้อแฟรนไชส์หรือไม่

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด