เทคนิควางแผนการใช้จ่าย ช่วงวันหยุดยาว

ช่วงวันหยุดยาว หลายคนต้องการไปเที่ยวและพักผ่อน แต่ไม่มีเงิน จะหยิบยืม ก็ไม่อยากเป็นหนี้ จะเอาเงินออมมาใช้ก็เสียดายที่อุตส่าห์เก็บมา จะอยู่บ้านเฉยๆ เพราะไม่อยากเสียเงิน ก็ทำไม่ได้ สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากคุณมีการวางแผนการเงินที่ดีก่อนวันหยุดยาว โดยไม่ต้องไปกู้ไปยืมใคร ไม่ต้องเอาเงินออมมาใช้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้มีขั้นตอนและวิธีการวางแผนการใช้เงินล่วงหน้า ก่อนที่คุณจะไปเที่ยวหรือพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาว ไม่ทำให้คุณปวดเศียรเวียนเกล้า ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ แล้วคุณจะมีความสุขกับวันหยุดยาว

1.ตั้งงบที่จะใช้จ่าย และควบคุมรายจ่าย

ช่วงวันหยุดยาว

ต้องยอมรับว่าทุกช่วงเทศกาลวันหยุดยาว สิ่งแรกที่คุณจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนเลย คือ ค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติ เนื่องจากคุณจะต้องมีการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะการเดินทางกลับบ้านของคนที่มาทำงานในเมืองกรุง และส่วนใหญ่การใช้จ่ายไปกับการเดินทางและซื้อของไปฝาก

สำหรับคนที่บ้าน เพื่อนร่วมงาน อีกทั้งยังต้องมีการใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรือญาติพี่น้อง ดังนั้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ หากมีการตั้งงบประมาณที่จะใช้จ่ายให้พอดี รวมถึงควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้มากเกินความจำเป็น ก็จะทำให้คุณไม่ต้องมานั่งกลุ้มใยในภายหลัง

2.ซื้อวัตถุดิบทำอาหารสังสรรค์กันเอง

nm5

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถทำได้ และสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับการทำอาหารเพื่อเลี้ยงฉลอง หรือทานกันเอง ที่สำคัญประหยัดเงินในกระเป๋าได้ไม่น้อยเลย ดีกว่าไปซื้ออาหารจากร้านอาหารข้างนอกเข้ามาทานในบ้าน เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ บางร้านอาจไม่อร่อยด้วยซ้ำ สู้ทำกันเองไม่ได้

อีกทั้งยังสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่สดใหม่ สะอาด ตามที่ต้องการได้ ไม่เชื่อลองวางแผนทำอาหารกินกันเองในครอบครัว ช่วงวันหยุดยาว ช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ จะได้มีความสนุกสนาน แล้วจะทำให้คุณมีเงินในกระเป๋าไว้ใช้จ่ายอย่างอื่น

3.ลิสต์รายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ชัดเจน

nm4

เมื่อได้เป้าหมายแล้วก็ลองมานั่งลิสต์รายการดูว่ากิจกรรมต่างๆ จะใช้เงินเท่าไหร่ กิจกรรมไหนไม่ต้องใช้เงินก็ให้ตัดทิ้ง ตรงนี้ให้ทำเป็นข้อๆ จะได้มองเห็นภาพได้ชัด เขียนรายการเหล่านี้ไว้ใต้เป้าหมายของคุณ ระบุวันเวลา และเขียนให้ดูน่าอ่านและทำให้คุณเกิดแรงกระตุ้นถึงช่วงเวลาดีๆ ในการใช้จ่ายเงินอย่างสบายใจ

เช่น จะไปเที่ยวต่างประเทศ ก็ต้องมีค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่ากิน ค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่ต่างๆ หรือจะจัดงานปาร์ตี้ ก็ต้องมีค่าอุปกรณ์เครื่องเสียง ค่าสถานที่ โต๊ะ เวที อาหาร เครื่องดื่ม ตัวเลขรายจ่ายเหล่านี้หากรู้จำนวนที่แน่นอนก็จะทำให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้น

แต่หากไม่รู้ก็สามารถใส่เป็นตัวเลขคร่าวๆ ก็ได้ โดยทุกรายการควรเผื่อเงินให้เกินไว้สัก 10%-15% หลังจากรวบรวมได้แล้ว ให้หางบประมาณรวมที่จะต้องใช้ทั้งหมด ให้คุณนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ หรือลิสต์ที่จดไว้

4.เตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง

nm6

ถือเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเดินทางพักผ่อนช่วงวันหยุดยาว ต้องมีค่ารถ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน รวมถึงค่ากินระหว่างเดินทาง แต่ถ้าใครที่เลือกใช้รถส่วนตัวในการเดินทาง จะต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางให้ดี เช็คสภาพรถ เช็คสภาพเครื่องยนต์ หรืออะไรต่างๆ เกี่ยวกับรถ ถ้าไปเสียระหว่างทางอาจทำให้ต้องซ่อม ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ที่สำคัญในการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเดินทาง อาจช่วยให้คุณสามารถวางแผนหลบหลีกเส้นทางที่คาดว่าจราจรติดขัดได้ ตรงนี้จะช่วยให้คุณเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย ไม่เสียเวลา และเปลืองน้ำมันด้วย

nm3

เห็นได้ว่าหากเราได้มีการวางแผนการใช้จ่ายเงิน ในช่วงเดินทางไปเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจระหว่างวันหยุดยาว จะเป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของเราได้อย่างมาก

ที่สำคัญทำให้เรารู้ว่าจะต้องจ่ายอะไรบ้าง จะซื้ออะไรที่จำเป็นบ้าง เพื่อที่จะได้เตรียมงบประมาณให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายเหล่านั้น โดยไม่ต้องไปกลุ้มใจในภายหลังว่า เงินในกระเป๋าของตัวเองได้หายไปไหน พอกลับจากวันหยุดยาวก็ต้องมาหยิบยืม เป็นหนี้เป็นสินอีก

แต่อย่าลืมล่ะ ช่วงท้ายของปี รัฐบาลได้ออกมาตรการ “ช็อปช่วยชาติ” ระหว่างวันที่ 14-31 ธันวาคม 2559 ที่จะใช้วันหยุดยาวในการจับจ่ายใช้สอย หรือเดินช็อปปิ้ง ก็อย่าลืมเก็บใบเสร็จค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ซ่อมรถยนต์ นำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปีอีกด้วย เรียกได้ว่าถ้าวางแผนการใช้จ่ายเป็น มีแค่คุ้มกับคุ้มครับ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช