เดินหน้าธุรกิจแฟรนไชส์ @ Thailand 4.0

ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า รัฐบาลภายใต้การนำของ “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งเป้าหมายในการนำพาประเทศเข้าสู่โมเดล “ ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)”

ที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ผู้ประกอบการไทยต้องพร้อมปรับแนวคิด ทัศนคติ และปรับตัวให้ทันต่อกระแสโลก

แน่นอนว่า เมื่อบริบททางเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง การดำเนินธุรกิจและบริหารงานต่างๆ รวมถึงธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีการปรับตัวตามด้วยเช่นกัน เพื่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยสามารถเติบโต และแข่งขันได้ในเวทีโลก

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาท่านผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ ผู้ที่กำลังคิดอยากซื้อแฟรนไชส์ รวมถึงผู้ประกอบการที่เป็นแฟรนไชส์ซี ไปศึกษาและเรียนรู้พร้อมกัน เกี่ยวกับการเดินหน้าเพื่อสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจแฟรนไชสฺในยุค 4.0 โดยเฉพาะเรื่องการสร้างแบรนด์ สร้างนวัตกรรมแฟรนไชส์ให้ตรงจุดสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน

เดินหน้าไทยแลนด์ 4.0

ประเทศไทย 4.0

เดิมประเทศไทยเอง ก็มีการปรับโมเดลเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เริ่มจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ในปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก

อย่างไรก็ดี ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 3.0” นั้น นอกจากต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ปานกลางแล้ว เรายังต้องเผชิญกับ “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นที่ท้าทายรัฐบาล ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อก้าวข้าม “ประเทศไทย 3.0” ไปสู่ “ประเทศไทย 4.0”

l9

“ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
กล่าวคือ ในปัจจุบัน ไทยยังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” โดยจะต้องมีการเปลี่ยนใน 3 มิติ คือ

  1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
  2. เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และ
  3. เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

l11

ดังนั้น ประเทศไทย 4.0 จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ

  1. เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
  2. เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
  3. เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services และ 4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา 

เดินหน้าแฟรนไชส์ 4.0

l12

เมื่ออุตสาหกรรมไทยกำลังเข้าสู่การขับเคลื่อนตามโมเดลประเทศไทย 4.0 ก็จะทำให้ทุกธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องปรับตัวเองในทุกๆ ด้าน รวมถึงการสร้างมาตรฐาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถของตัวเอง พัฒนาระบบแฟรนไชส์ ระบบการบริหารจัดการ การสร้างแบรนด์ ภายใต้โมเดล ประเทศไทย 4.0 โดยเดินหน้าตามกฎ ตามเกณฑ์ของระบบแฟรนไชส์ โดยที่ผ่านมากรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีภารกิจ ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจให้มีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันได้

l13

โดยมีจุดมุ่งหมายต้องการให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ ที่เป็นมาตรฐาน และนำไปสู่การสร้างรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีความมั่นคง พร้อมแข่งขันในระดับสากล

นอกจากนั้น ยังได้ให้การส่งเสริมพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ โดยการสร้างและขยายเครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ให้สามารถขยายตลาดสู่สากลได้อย่างมีคุณภาพ

ดังนั้น แฟรนไชส์ 4.0 จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านขององค์ประกอบ ในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักสากล โดยมี 3 ขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สู่เวทีโลก ดังนี้

l14

ขั้นที่ 1. สร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์ (Franchise B2B) เป็นการดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนส์ที่เป็นระบบต่อเนื่อง มีการสร้างแบรนด์ มีมาตรฐานการผลิต ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และขยายกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ

เช่น กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม และกลุ่มธุรกิจบริการด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการเสริมสร้างความรู้ สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย

ขั้นที่ 2. พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์สู่เกณฑ์มาตรฐาน (Franchise Standard) ยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ให้มีมาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากล และสามารถสร้างศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะเน้นให้คำปรึกษาเชิงลึก และแนะนำเชิงปฏิบัติการ ในการพัฒนาเพื่อยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ หรือยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่สูงขึ้น ณ สถานประกอบการ

ขั้นที่ 3. ส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพสู่สากล (Franchise Go Inter) นอกจากการเสริมสร้างความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก และเชิงปฏิบัติการ ในด้านการตลาดและกลยุทธ์ต่างๆ และการสร้างเครือข่ายธุรกิจกับนักลงทุน หรือเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศแล้ว

การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยก็ต้องเน้นพัฒนา การสร้างแบรนด์ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ให้มีภาพลักษณ์เป็นที่น่าเชื่อถือ และยอมรับในระดับสากล พร้อมที่จะขยายสาขาในต่างประเทศ

จะว่าไปแล้ว การเดินหน้าธุรกิจแฟรนไชส์ 4.0 จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ต้องพยายามสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจของตัวเอง เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน จะเป็นรากฐานเสริมสร้างความเข้มแข็ง และสร้างการเจริญเติบโตให้กับระบบแฟรนไชส์ของคุณเอง

l15


Franchise Tips

  • สร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์สู่เกณฑ์มาตรฐาน
  • ส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ สู่สากล

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/31Jc3bM

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช