10 เช็คลิสต์ ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์

จากบทความที่แล้วที่พูดถึง 5 สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อ ธุรกิจแฟรนไชส์ ในแบบกว้าง ๆ เช่น รูปแบบของแฟรนไชส์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท หรือจะเป็นการประเมินตัวเอง พร้อมตั้งเป้าหมายก่อนซื้อแฟรนไชส์ 

วันนี้ ทาง www.ThaiSMEsCenter.com จะขอเจาะลึกลงไปอีกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณกำลังตัดสินใจซื้อนั้น ควรมีลักษณะแบบใด กับบทความนี้เลยจ้า 10 เช็คลิสต์ ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ที่ได้รวบรวมสิ่งที่คุณควรหาคำตอบจากแฟรนไชส์ที่คุณจะซื้อ ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

1. แบรนด์มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

13

ภาพจาก facebook.com/kumonthailand

แน่นอนว่าชื่อเสียงย่อมเป็นสิ่งสำคัญ ในการการันตีว่าธุรกิจ หรือแบรนด์นั้น ๆ ประสบความสำเร็จแค่ไหน ซึ่งในข้อแรกที่คุณควรดูก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นอยู่ในตลาดมานานเท่าไหร่แล้ว สินค้าที่ผลิตเป็นที่รู้จักในท้องตลาดมากน้อยเพียงใด และสินค้ามีเอกลักษณ์น่าจดจำง่ายหรือไม่

ตัวอย่างเช่น

  • คุมอง (KUMON) เป็นธุรกิจที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ก่อตั้งมานานกว่า 41 ปี
  • เอ็น แอนด์ บี (N & B Pancake) ธุรกิจที่ก่อตั้งมาเมื่อ พ.ศ. 2541 ก่อตั้งมานานกว่า 17 ปี

 2. มีความมั่นคง และสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง

12

ภาพจาก facebook.com/fahpays

ข้อที่สองที่คุณควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์คือ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทแม่ของ ธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ๆ มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งดูได้จากสาขาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน หรือในแต่ละปี ของธุรกิจนั้น ๆ

ตัวอย่างเช่น

  • ฮอกไกโด มิลค์ (HOKKAIDO MILK) ที่ตอนนี้มีจำนวนถึง 45 สาขาทั่วประเทศ และยังสามารถคำนวนออกมาเป็นอัตราการขยายสาขาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีดังนี้

HKM1

  • ร้านน้องฟ้า เซอร์วิส (Nongfah Service) ตอนนี้มีจำนวนถึงมากกว่า 1,100 สาขาทั่วประเทศ

3. ระยะเวลาในการคืนทุนเร็ว

11

ภาพจาก facebook.com/thunyarod.mahachai

สิ่งต่อไปที่จะทำให้เรามั่นใจ ที่จะเลือกซื้อแฟรนไชส์นั้นคือ ระยะเวลาในการคืนทุน ที่ทางบริษัทแม่มีการคาดคะเนไว้ว่าประมาณกี่เดือน กี่ปี ซึ่งปกติแล้วระยะเวลาในการคืนทุนไม่ควรเกิน 2 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วยเช่น ทำเลการค้าขาย เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

  • เอ็มมิลค์ นมสดแท้ 100% (M MILK DAILY FRESH) ระยะคืนทุนโดยเฉลี่ยประมาณ 2 เดือน
  • เกาเหลาเนื้อ ธัญรส (Thunyaros Noodle) ระยะคืนทุนโดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน

4. บริษัทมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง

10

ภาพจาก facebook.com/chesterthai

การตลาดคือปัจจัยสำคัญของการทำธุรกิจ ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ก็เช่นกัน เพราะการทำการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชั่นเพื่อให้ลูกค้าสนใจ การทำการตลาดออนไลน์ผ่านทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จะทำให้ธุรกิจมีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น

  • เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven) ปัจจุบันมีการทำการตลาดอย่างรอบด้านไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมทชั่นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ และดึงดูดลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ๆ
  • เชสเตอร์ (CHESTER) มีการทำการตลาดโดยการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ อีกทั้งยังมีทีมงานคอยให้คำปรึกษาเพื่อวางแผนทางการตลาดให้เหมาะสมต่อพื้นที่นั้น ๆ

5. มีการพัฒนา R&D สินค้า และบริการ อย่างสม่ำเสมอ

9

ภาพจาก facebook.com/PijittraCream

การพัฒนา R&D มากจาก Research and Development หมายถึงการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการก่อนนำออกสู่ตลาด ซึ่งขอบเขตการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการนั้นจะเกิดจากความต้องการของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต วัตถุประสงค์ก็เพื่อทำให้เกิดยอดขาย โดยสร้างผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น และทำให้กระบวนการใช้งานดียิ่งขึ้น

โดยการพัฒนา R&D ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายคือ การสำรวจความต้องการของลูกค้านั่นเอง ว่าชอบอะไร อยากได้สินค้าและบริการแบบไหน แล้วสินค้าและบริการที่เรามีอยู่เป็นอย่างไร มีจุดไหนดีควรปรับปรุงให้ดีขึ้นตามความต้องการของลูกค้าได้อีกบ้าง ซึ่งเป็นการพัฒนาธุรกิจของเราให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นนั่นเอง

ตัวอย่างเช่น

  • พิจิตรา เครื่องสำอางค์ สวยสะดวกซื้อ (PIJITTRA CREAM) ผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องสำอางค์ และจำหน่ายสินค้าแบร์นดัง มีสินค้าความงามทุกชนิดมากกว่า 1,000 รายการ และจะมีสินค้าเข้าใหม่ทุก ๆ 1 สัปดาห์
  • โมชิ ชานมไข่มุก (Mochi Milk Tea) ที่มีเครื่องดื่มถึง 30 รายการ รวมทั้งกาแฟและน้ำผลไม้รสต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นมอคค่า แคนตาลูป สตอเบอรี่ ส่วนชาเขียวก็จะมีรสมะม่วง และอีกหลายรสที่ทางร้านเลือกสรรมาอย่างดีตามความต้องการของลูกค้า

6. ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซี่ตลอดระยะเวลาสัญญา

8

ภาพจาก facebook.com/mangomania2013

ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ เราควรดูด้วยว่าธุรกิจที่เราจะเลือกซื้อนั้นให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซี่มากน้อยแค่ไหน ดูแลเราตลอดระยะเวลาตามสัญญาหรือไม่ ซึ่งอาจดูได้จากเสียงตอบรับของแฟรนไชส์ซี่ก่อนหน้านี้นั่นเอง

ตัวอย่างเช่น

  • แมงโก้ มาเนีย (Mango Mania) ทางบริษัทมีทีมช่วยดูทำเลโดยผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ และมีทีม Support คอยช่วยเหลือในกรณีที่อุปกรณ์มีปัญหา เมื่อเปิดร้านใหม่ทางบริษัทจะมีเทรนเนอร์ไปสอนสูตรชง รวมทั้งสอนงานปฏิบัติหน้าร้าน และมีทีมงานให้คำแนะนำทุกเรื่องตลอดระยะเวลาสัญญา
  • ไอ-ครีมมี่ ไอศครีมบลิซซาร์ด (iCreamy) บริษัทมีทีมติดต่อพื้นที่และพูดคุยเรื่องค่าเช่าให้เพื่อเปิดสาขาได้ทันที แล้วยังมีระบบการบริหารจัดการร้าน สอนกรรมวิธีการผลิตและสูตรการปรุง พร้อมสอนไอศครีมทุกรสชาติ และมีทีมงานช่วยในเรื่องการสนับสนุนและให้คำปรึกษาเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง

7. สร้างผลกำไรสูง

7

ภาพจาก facebook.com/Kungaob.Sedtee

แน่นอนว่าผลกำไรย่อมเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนั้นควรศึกษาให้ดีว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณเลือกจะลงทุนนั้นมีกำไรมากน้อยแค่ไหน คุณรับได้หรือไม่

ตัวอย่างเช่น

  • กุ้งอบวุ้นเส้นเศรษฐี (เห็ดหอม) (Kung-aob Sedtee) ทางบริษัทแม่มีการคำนวนผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับดังนี้ ราคาต่อหม้อของกุ้งอบวุ้นเส้น มีตั้งแต่ 40 -50 บาท ดังนั้น กำไรต่อหม้อของแต่ละสาขาจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการตั้งราคาขาย
    ถ้าหาก ตั้งราคาต่อหม้อที่ 50 บาท จะมีกำไรหม้อละ 15 – 20 บาท (ไม่รวมค่าเช่าสถานที่) โดยเฉลี่ยยอดขายที่น้อยที่สุดได้ประมาณ 50 หม้อ/วัน (ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นสภาพอากาศฝนตกหนัก หรือช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ที่ผู้คนกลับบ้านต่างจังหวัดกัน) ไปจนถึง 200 หม้อ/วัน
    หากแฟรนไชส์ซีขายได้ 80 หม้อ x กำไรต่อหม้อ 15 บาท = 1,200 บาท/วัน
    หาก 1 เดือนขาย 20 วัน 1,200 บาท x วันที่ขาย 20 วัน = 24,000 บาท/เดือน
    แฟรนไชส์จะมีรายได้โดยเฉลี่ย 24,000 บาทต่อเดือน แถมมีวันหยุดสัปดาห์ละ 2 วัน และถ้าขยันขายทุกวัน สัปดาห์ละ 2-3 ตลาดสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป จะถือเป็นการกระตุ้นยอดขายและรายได้ก็ย่อมจะมากตามไปด้วย
  • กาแฟเขาทะลุ ชุมพร (KHAO THA-LU CHUMPORN COFFEE) รับรองเรื่องผลกำไรได้จากสโลแกนของร้านที่ว่า “ลงทุนน้อย คืนทุนไว กำไรงาม”

8. มีการอบรมให้ความรู้แก่แฟรนไชส์ซี่อย่างเป็นระบบ

6

ภาพจาก facebook.com/quickserviceshops

แฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ และเชื่อถือได้ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่แฟรนไชส์ซี่ เพื่อให้คุณภาพของแฟรนไชส์มีคุณภาพ และน่าเชื่อถือในระดับเดียวกันทุกสาขา

ตัวอย่างเช่น

  • ชาลี สเต็กส์ สำนักงานใหญ่ (CHARLIE’S STEAK) มีการฝึกอบรมแบบตัวต่อตัว ซึ่งใช้วัตถุดิบจริงในการฝึกอบรม เป็นระยะเวลาประมาณ 1-3 วัน และยังมีทีมให้คำปรึกษาเรื่องการตกแต่งร้าน, อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในร้านและอื่น ๆ แฟรนไชส์ซี่สามารถติดต่อและสอบถามทางร้าน ชาลี สเต็กส์ สำนักงานใหญ่ได้ตลอด
  • ควิก เซอร์วิส (Quick Service) ทางบริษัทแม่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องทำเลที่ตั้งร้าน เรื่องการออกแบบและตกแต่งร้าน และยังมีการฝึกอบรมทักษะให้กับแฟรนไชส์ซี่เรื่องการดำเนินงาน มีเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือปฏิบัติงานจริงในวันเปิดร้าน แล้วยังรับประกันและดูแลระบบการทำงานตลอดสัญญาอีกด้วย

 9. มีความเชี่ยวชาญในระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง

5

ภาพจาก facebook.com/nada.nadakids/photos

แฟรนไชส์ที่คุณตัดสินใจซื้อนั้นจะต้องเป็นธุรกิจที่มีความเชียวชาญในระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมคุณภาพแฟรนไชส์ และการควบคุมสินค้า บริการในทุก ๆ ด้านให้มีมาตราฐานเดียวกันทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น

  • นาด้า (NADA (New Arithmetic Development Academy) ทางสถาบันมีระบบการดูแลแฟรนไชส์ พร้อมทั้งมีการควบคุมคุณภาพแฟรนไชส์ ในเรื่องคุณภาพการเรียนการสอน ทดสอบ ประเมินผล จัดอบรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวเอง
  • สถาบันสอนคณิตศาสตร์และภาษา อายเลเวล ไทยแลนด์ (Eye Level Thailand) มีการควบคุมคุณภาพแฟรนไชส์ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพราะเป็นแฟรนไชส์การศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลี มีสมาชิกแฟรนไชส์ใน 19 ประเทศทั่วโลก มีจำนวนนักเรียนกว่า 2 ล้านคน ได้รับการยอมรับจากสถาบันการศึกษา และสมาคมการศึกษาจากหลายประเทศทั่วโลก

10. ได้รับมาตราฐานแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)

4

ภาพจาก facebook.com/banrakpasa

และข้อสุดท้ายที่สร้างความมั่นใจให้คุณได้ก่อนตัดสินใจลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ๆ ก็คือ เคยได้รับรางวัลมาตรฐานแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องการประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ให้ได้คุณภาพอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น

  • บ้านรักภาษา (BANRAKPASA LANGUAGE SCHOOL) ที่ได้รับรางวัลรางวัล Best Practice คุณภาพแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ ในปี 2558
  • ไจเเอ้นลูกชิ้นปลาระเบิดเถิดเทิง (Giant Lookchin) ได้รับรางวัลมาตรฐานแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และรางวัลแฟรนไชส์คุณภาพ เติบโตสูงสุด ประจำปี 2555 (TFBO) อีกทั้งโรงงานผลิตลูกชิ้น ยังได้รับมาตรฐาน GMP อย.และฮาลาลอีกด้วย

เป็นอย่างไรบ้างกับ 10 เช็คลิสต์ ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ที่เรานำมาฝาก ซึ่ง เช็คลิสต์ นี้มีในรูปแบบอินโฟกราฟิกด้วย ถ้าใครสนใจเข้าไปดูได้เลยที่ www.thaifranchisecenter.com/infographics และหวังว่าบทความที่เรามาเสนอในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์นะคะ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3enoKj9