เจาะลึก! แฟรนไชส์ “ชาตรามือ” กลับมาปังข้ามศตวรรษ

ถ้าพูดถึงแบรนด์ที่กลับมาดัง หรือเรียกได้ว่ากลับมา “เกิด” ใหม่อีกครั้ง ในช่วง 2-3 ปีมานี้ หลายคนคงนึกถึงสินค้า 2 แบรนด์ คือ แป้งหอมศรีจันทร์ และ ชาตรามือ เรียกได้ว่า กลับมาดังข้ามศตวรรษกันเลยทีเดียว

ที่น่าสนใจของ 2 แบรนด์ ก็คือ ผู้บริหารที่เป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของทั้ง 2 แบรนด์ เป็นผู้ปลุกปั้น สร้างแบรนด์ ทำการตลาดให้สินค้าอย่าง “แป้งหอมศรีจันทร์ และ “ชาตรามือ” เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แต่ในวันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะเล่าให้คุณผู้อ่านฟังเฉพาะ “ชาตรามือ” เพราะในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้บริโภคจำนวนมาก ทั้งคนไทยและต่างชาติ พูดถึงแบรนด์ ชาตรามือกันแบบปากต่อปากจนกลายเป็นฟีเวอร์ ไม่แพ้สมัย ขนมปังอบโรตีบัน และ โดนัทคริสปีครีม เข้ามาบุกตลาดเมืองไทยใหม่ๆ

ชาตรามือ เกิดขึ้นอย่างไร

ชาตรามือ

ผู้อ่านรู้ไหมว่า “ชาตรามือ” (Cha tra mue) มีมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีที่มาตั้งแต่บรรพบุรุษของ “คุณดิฐพงศ์ เรืองฤทธิเดช” ได้เข้ามาในไทยตั้งแต่ปี 1925 ได้จัดตั้งร้านชาจีน “Lim Meng KeeW ที่ Chalermburi บนถนนเยาวราช ได้นำผลิตภัณฑ์ชานำเข้าจากประเทศจีน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจชาครอบครัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อน ชาจีนร้อนจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ร้านค้าจึงได้นำเข้าชาแดงเพื่อนำมาทำชานม และชาดำไทยที่ใส่น้ำแข็งลงไป ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อของ “ชาเย็น” เมื่อปี 1945 นี้เอง จึงเป็นปีเริ่มต้นของชายี่ห้อ “ชาตรามือ” นับตั้งแต่นั้นมา

โดย “คุณดิฐพงศ์” เป็นผู้สืบทอดกิจการ “ชาตรามือ” จากพ่อโดยได้มีการก่อตั้ง บริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด เมื่อปี 2537 เพื่อสร้างแบรนด์และทำการตลาด โดยมีทายาทรุ่นที่ 3 อย่าง “พราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช” ของชาตรามือ เข้ามากำหนดทิศทางของการสร้างแบรนด์ โดยตั้งเป้ายกระดับชาตรามือให้เป็นเอกลักษณ์ชาไทย ที่มีรสชาติไม่แพ้ใครในโลก

ชาตรามือ

สิ่งที่ทำให้ “ชาตรามือ” กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นเพราะการออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง “ชากุหลาบ” และซอฟต์เสิร์ฟรสต่างๆ บวกกับกลยุทธ์การตลาดที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ชาตรามือเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่ และกลับมาอยู่ในใจคนไทยอีกครั้ง

นับตั้งปี 2488 จนถึงปัจจุบัน “ชาตรามือ” ได้ทำให้หลายคนคุ้นตากับโลโก้สีแดง แสดงภาพมือชูนิ้วโป้ง บ่งบอกถึงความเยี่ยมยอดของคุณภาพสินค้า ชาตรามือถือเป็นชาไทยเจ้าแรกๆ ที่โด่งดังมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า

ผ่านกาลเวลามานับ 100 ปี เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มร้านเครื่องดื่ม ชา กาแฟ แต่น่าเสียดายสำหรับผู้บริโภคทั่วไปแล้ว น้อยคนนักจะรู้ว่า ชารสชาติหอมอร่อยที่ซื้อกินบ่อยๆ นั่นคือ ชาตรามือ โดยเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ๆ ของไทย ที่ซื้อชาจากชาตรามือ ก็คือ แบรนด์ที่เรารู้จักกันดีอย่าง “กาแฟอเมซอน” โดยสั่งซื้อครั้งละ 88.5 ตันต่อเดือน

อะไรทำให้ “ชาตรามือ” กลับมาดังอีกครั้ง

ชาตรามือ

จุดเริ่มต้นของ “ชาตรามือ” ฟีเวอร์ที่ทำให้หน้าร้าน มีการต่อแถวอยู่เกือบทุกสาขานั้นมาจากที่ออกสินค้า “ชากุหลาบ” ช่วงวันวาเทนไทน์ แต่เป็นสินค้า Limited Edition เฉพาะช่วงนั้น ด้วยแพ็คเกจจิ้งแก้วที่สวย และสรรพคุณของชากุหลาบที่ได้รับการบอกต่อแบบปากต่อปากบนโลกออนไลน์ว่าถ่ายท้องได้ดี ถูกยกย่องเป็น “ราชินีขี้แตก”

ทำให้เกิดการตามล่า ต้องการทดลองว่ามีรสชาติ และผลลัพธ์อย่างไร ตอนนั้นชากุหลาบได้เกิดไวรัลขึ้นทั้งปากต่อปาก ทั้งแชร์บนโลกออนไลน์ในทันที จนชาตรามือต้องนำกลับมาอีกครั้งในหลายเดือนต่อมา

ชาตรามือ

หลังจากมีกระแสของชากุหลาบไม่เท่าไหร่ ชาตรามือได้เพิ่มเมนูไอศกรีมซอฟเสิร์ฟเข้ามาอีก เริ่มต้นที่รสชาไทยก่อน และเพิ่มเป็นรสชาเขียว ชามะลิอัญชัน ชามัทฉะทุเรียน และชากุหลาบ ซึ่งมีทั้งเมนูถาวร และแค่เทศกาล

ในช่วงแรกได้วางจำหน่ายแค่ไม่กี่สาขา จึงทำให้เกิดกระแสการตามล่าเหมือนกับชากุหลาบเช่นกัน หลังจากนั้นค่อยทยอยจำหน่ายในทุกสาขา จนล่าสุดชาตรามือได้ทิ้งทวนส่งท้ายปี 2560 ด้วยเมนูชาไข่มุก เป็นเมนูลาเต้ต่างๆ แต่ใส่ความพิเศษที่แถมไข่มุกใบเตย กลายเป็นการจุดกระแสให้คนไปทดลองเมนูใหม่ต่อได้อีก

k7

ชาตรามือเป็นแบรนด์หนึ่งในกรณีศึกษาของการทำการตลาดแห่งปี 2560 สามารถพลิกภาพลักษณ์แบรนด์เก่าแก่ให้กลับมามีชีวิตชีวา พร้อมกับสร้างกระแสได้อยู่ตลอดทั้งปีตั้งแต่ชากุหลาบ ยันชาไข่มุก มาจากไอเดียใหม่ๆ เติมอยู่เสมอ

สมัยก่อนชาตรามือเน้นขายสินค้าในกลุ่ม B2B คือ จำหน่ายวัตถุดิบชาต่างๆ ให้กับร้านขายชา กาแฟ แต่ก็มีหน้าร้านขายเครื่องดื่มเป็นของตัวเองด้วย โดยตั้งปี 2560 เน้นในส่วนของลูกค้า End User มากขึ้น ทำให้เห็นสินค้าใหม่ๆ ออกมาทั้งปี

ชาตรามือ โด่งดังในต่างประเทศ

k6

ความจริงแล้ว “ชาตรามือ” ไม่ได้มีชื่อเสียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวต่างชาติด้วย มีอัตราการส่งออกชาไทยไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะแถบอาเซียนอย่าง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และจีน อย่างต่อเนื่อง

โดยบริษัทฯ มีรายได้จาก ชาปรุงสำเร็จ 40% ชาเขียวปรุงสำเร็จ 40% ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 20% สัดส่วนจำหน่ายในประเทศ 60% และส่งออกต่างประเทศ 40% อาทิ สิงค์โปร, อินโดนีเซีย, จีน และกัมพูชา

k5

ปัจจุบัน “ชาตรามือ” มีส่วนแบ่งของตลาดชาไทยถึง 70-80% ของทั้งประเทศ เพราะร้านชาทั่วไทย ส่วนใหญ่ก็ใช้ชาตรามือชง แต่รสชาติก็จะแตกต่างกันไปตามคนชงแต่ละคน ถือว่าสินค้าดี ช่องทางจำหน่ายดี ยอดขายก็ดีด้วย แต่คนไทยกลับไม่ค่อยมีใครคิดถึงแบรนด์ “ชาตรามือ” ซักเท่าไหร่นัก

แต่สำหรับชาวต่างชาติ นิยมซื้อ “ชาตรามือ” เป็นของฝากทางบ้าน จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจนำแบรนด์ “ชาตรามือ” ไปต่อยอดธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ โดยปัจจุบันสาขาชาตรามือในประเทศมาเลเซีย มีจำนวนมากถึง 11 สาขา

k4

ในช่วงกลางปี 2560 ชาตรามือก็เพิ่งไปเปิดสาขาแรกที่ “เกาหลีใต้” ซึ่งความน่าสนใจอยู่ตรงที่ร้านไม่ได้เป็นคีออสก์ (Kiosk) เล็กๆ สำหรับซื้อชากาแฟแบบ Take-out อย่างที่เห็นกันโดยทั่วไปในไทยและมาเลเซีย แต่สาขาแรกในประเทศเกาหลีนี้ได้เปิดเป็น “คาเฟ่” ให้ลูกค้าได้นั่งชิลล์สัมผัสกับรสชาติของชาไทย ได้อย่างสะดวกสบายกันเลยทีเดียว

รายได้ของบริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด เจ้าของแบรนด์ “ชาตรามือ”

  • ปี 2556 มีรายได้ 114,623,416.63 บาท กำไร 878,143.57 บาท
  • ปี 2557 มีรายได้ 206,451,316.24 บาท กำไร 1,401,306.38 บาท
  • ปี 2558 มีรายได้ 268,409,417.56 บาท กำไร 3,475,008.29 บาท
  • ปี 2559 มีรายได้ 366,024,970.00 บาท กำไร 4,754,610.36 บาท

k3

ปัจจุบันร้านเครื่องดื่ม “ชาตรามือ” มีสาขาทั้งหมดกว่า 60 สาขาในประเทศไทย กระจายอยู่ในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง รวมไปถึงตามสถานีรถไฟฟ้า BTS โดยทุกสาขาเป็นการลงทุนเองของทางบริษัท แต่ขายแบรนด์แฟรนไชส์ในต่างประเทศ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน และเกาหลีใต้

k2

เราจะเห็นได้ว่า “ชาตรามือ” เป็นเอกลักษณ์ที่อยู่กับคนไทยมานาน ถ้าในแง่ผู้ผลิตชา ที่หันมาเปิดร้านชาภายใต้ชื่อแบรนด์ของตัวเอง ชาตรามือถือเป็นเจ้าแรก วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตรายอื่น ต้องพัฒนาตามในด้านคุณภาพ เพื่อร่วมด้วยช่วยกันยกระดับชาไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย พร้อมๆ กับพัฒนาชารสชาติใหม่ๆ ออกมาเสนอตลาด

นอกจากชาผงชงดื่ม ที่ขายส่งให้กับยี่ปั๊ว-ซาปั๊วแล้ว ปัจจุบันชาตรามือยังมีชาสำเร็จรูปพร้อมชงดื่มวางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดอย่าง ท็อป ฟู้ดแลนด์ และแม็คโครด้วย ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นของ “ชาตรามือ” แบรนด์ไทยแท้ในตำนาน

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูล goo.gl/EQZNDQ , goo.gl/U5JK3i , goo.gl/cBbGgK , goo.gl/LDYYU9 , goo.gl/ZzpDsw , goo.gl/CQGRWE

ภาพจาก facebook.com/ChaTraMue

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช