เงื่อนไขและสิ่งที่ต้องระบุใน สัญญาแฟรนไชส์

สัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็นสัญญาที่กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบไว้ แต่ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ในสัญญา เช่น พื้นที่ จะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินการในเขตพื้นที่ใดได้บ้าง ค่าธรรมเนียม สิทธิและหน้าที่ การให้การสนับสนุนแฟรนส์ไชส์ซี ระยะเวลาสัญญา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องระบุในสัญญาแฟรนไชส์ให้ครบถ้วนที่สุด

แม้ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายรายจะรู้ดีว่า หน้าที่การทำสัญญาแฟรนไชส์เป็นงานของนักกฎหมาย ทนายความเป็นคนร่าง แต่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ก็ต้องมีความรู้ในเรื่องสัญญาแฟรนไชส์อยู่บ้าง เพื่อเป็นผู้ให้แนวทางกับทนายความ ว่าต้องการให้สัญญาแฟรนไชส์บังคับใช้ในเรื่องอะไรบ้าง

สัญญาแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีแนวทางการเขียนสัญญาแฟรนไชส์แบบคร่าวๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ และได้รู้ว่าในสัญญาแฟรนไชส์ ต้องมีเงื่อนไขและสิ่งที่ต้องระบุในสัญญาฯ อะไรบ้าง

1.เครื่องหมายการค้าและข้อกำหนดในการใช้งาน

สัญญาแฟรนไชส์

เป็นการระบุรายการของเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ ทั้งหมดในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกรรมสิทธิ์ และข้อกำหนดสำคัญระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ กับ แฟรนไชส์ซี

2.การให้สิทธิ์แฟรนไชส์ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียม และการโอนสิทธิ์

เป็นการระบุถึงรายละเอียดของรูปแบบร้านแฟรนไชส์ สถานที่ตั้ง ขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า และทรัพย์สินทางปัญญา ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และอื่นๆ

3.หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์

28

เป็นการระบุถึงสิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องปฏิบัติ และดำเนินการ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น การให้การสนับสนุนด้านต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี

4.หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี

bb2

เป็นการระบุถึงสิ่งที่แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติและยึดถือ เพื่อให้สามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแฟรนไชส์ซอร์ เช่น ซื้อสินค้า วัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ อนุญาตใช้เครื่องหมายการค้า

5.มาตรฐานและเงื่อนไขทางเทคนิค

29

เป็นการระบุถึงกระบวนการต่างๆ ทั้งในด้านการผลิต การจัดจำหน่าย การให้บริการ การฝึกอบรม การเงินการบัญชีและการบริหารร้านแฟรนไชส์ ที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำข้อตกลงร่วมกัน

6.ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์

ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์เป็นเงินที่แฟรนไชส์ซีจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อแลกกับการที่ได้โอกาสในการใช้สิทธิ์ประกอบการร้านแฟรนไชส์ โดยเงินดังกล่าวอาจเรียกเก็บตามสัดส่วนของยอดขายในแต่ละเดือน หรือตามแต่จะตกลงกัน

7.การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย

30

เป็นการระบุเงื่อนไขและรูปแบบของการทําโฆษณาและการส่งเสริมการขาย รวมถึงการระบุจำนวนเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ที่แฟรนไชส์ซอร์จะเรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซี

8.การประกันภัย

เป็นการระบุถึงรูปแบบการทําประกันภัยที่แฟรนไชส์ซีพึงดําเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองรายได้ ค่าใช้จ่าย และผลของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบการร้านแฟรนไชส์

9.บัญชีงบการเงิน รายงาน และการตรวจสอบ

bb3

เป็นการระบุเกี่ยวกับรูปแบบทางการบัญชีและการเงิน ที่แฟรนไชส์ซีต้องดำเนินการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้แฟรนไชส์ซอร์สามารถเข้าตรวจสอบทางการบัญชีและการเงินได้

10.การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และข้อกำหนดภายหลังการสิ้นสุดสัญญา

31

เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและกรณีต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และผลที่จะเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาและการเลิกสัญญา

11.เอกสารสัญญา

เป็นการระบุถึงการมีหรือได้รับเอกสารสัญญาของทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี โดยถูกต้องตามหลักกฎหมาย

12.การจัดการข้อพิพาท

bb4

เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและการดำเนินการ ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี หากเกิดปัญหาขึ้น เช่น หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาแฟรนไชส์ฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองจะต้องตกลงระหว่างกัน ให้ทำการฟ้องร้องและดำเนินคดี ที่ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา

แม้ว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์จะรู้หลักการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ แต่จริงๆ แล้ว การจัดทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละกรณี ควรได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำจากนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นวิธีการดีที่สุด ในการป้องกันความเสียหายและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลัง อย่าลืม! ต้องมีทนาย นักกฎหมาย ก่อนลงมือเขียนสัญญาฯ


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/33ZO3T9

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช