อ่านหนังสือราคาหลักร้อยต่อยอดธุรกิจหลักล้าน เราทำได้!

แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไป สู่ดิจิตอล มากขึ้นทุกที หลายคนอาจมองว่าการหาความรู้ทำได้ง่ายๆ แค่เพียงปลายนิ้วคลิ๊ก อยากรู้อะไรก็เสิร์ชหา ไม่จำเป็นต้องขวนขวายหรือติดตามข่าวสารอะไรให้มากความ และนี่อาจเป็นเหตุผลด้านลบที่ทำให้คนจำนวนมากยังมองหาความสำเร็จไม่เจอ ด้วยความคิดที่ง่ายเกินไป และไม่ตั้งใจจะทำอะไรแบบจริงจัง

มีคำกล่าวของนักการตลาดระดับโลกพูดถึงการลงทุนที่ชาญฉลาดว่าต้องเริ่มจากการลงทุนศึกษาหาความรู้และก็ต้องเป็นแบบจริงจังไม่ใช่ฉาบฉวย

www.ThaiSMEsCenter.com จึงอยากให้ทุกคนที่ต้องการประสบความสำเร็จมีแนวคิดอีกด้านที่เรียกว่าคิดใหม่ทำใหม่กับการอ่านตำราที่แม้จะดูว่าเป็นเรื่องล้าหลังแต่เชื่อหรือไม่ว่านักธุรกิจระดับโลกก็มีแรงบันดาลใจจากหนังสือเหล่านี้ที่สำคัญอ่านแล้วทำตาม นั้นคือการต่อยอดจากหลักร้อยไปสู่หลักล้านที่ใครทำได้ถือว่าเก่งสุดยอดเลยทีเดียว

4 วิธีนำความรู้จากตำราสู่การทำธุรกิจเงินล้าน

1.การเรียนรู้อย่างมีจุดหมาย (Learning goals)

สู่ดิจิตอล

ภาพจาก goo.gl/NmV5Dp

การเป็นนักอ่านที่ดีไม่ใช่คนที่อ่านหนังสือทุกเรื่อง รู้ข้อมูลทุกเล่ม แต่การอ่านเพื่อทำธุรกิจนั้นสิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ความต้องการของตัวเองว่าอยากทำอะไร แต่ละคนมีความชอบความถนัดที่แตกต่างกัน บางคนชอบตัวเลข อยากเป็นนักเล่นหุ้น บางคนชอบการลงทุน บางคนชอบการเขียน การถ่ายรูป คอมพิวเตอร์

ดังนั้นเมื่อเรารู้เป้าหมายตัวเองมีหนังสือจำนวนมากที่ตอบสนองกับสิ่งที่เราต้องการ หากคิดจะประสบความสำเร็จค้นหาหนังสือเหล่านั้นและอ่านอย่างจริงจัง จดจำทุกเทคนิคที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้คือการจุดประกายและสร้างแนวทางแห่งการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่างหนังสือ The Millionaire Messenger ที่ทำให้ใครหลายคนตัดสินใจเริ่มต้นทำ E-book กันมากขึ้น แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเส้นทางของตลาดออนไลน์อย่าง E-book ว่ามีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร และการทำตลาดออนไลน์ในรูปแบบ E-book ที่ถูกต้องนั้นควรเป็นทิศทางไหน สำหรับคนที่มีใจรักด้านนี้การได้อ่านหนังสือเล่มนี้ถือเป็นกุญแจทองที่ไขประตูสู่คำว่าเงินล้านได้อย่างดีทีเดียว

2.เรียนรู้แล้วลงมือทำทันที (Learn and take immediate action)

vv12

ภาพจาก goo.gl/ww7wZa

แต่สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่อ่านแล้วเพ้อฝันถึงความสำเร็จสิ่งที่ยากกว่าการค้นหาตัวเองคือเมื่อเจอว่าตัวเองต้องการอะไรแม้จะรู้เทคนิค ศึกษาวิธีการมามากมายแต่สุดท้ายถ้าไม่ลงมือทำทุกอย่างก็ไม่ต่างจากอากาศที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป

วลีหนึ่งที่นักการตลาดกล่าวคือ “คิดได้ทำเลย” และอย่าไปยึดติดกับคำว่า “ในตลาดมีเยอะแล้ว” ให้มองอีกด้านถ้านั่นคือสิ่งที่เราคิดและอยากทำต่อให้มีสินค้าในตลาดมากก็หมายความว่ามันยังเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยังต้องการอยู่

เหตุผลของการศึกษาตำราและลงมือทำแบบทันทีคือการเล่นกับความรู้สึกที่ยังโชติช่วง จะมีแรงผลักดันมากเป็นพิเศษ ที่เหลือคือการค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดของการทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องแคร์คู่แข่ง ทำตัวเองให้เด่นและแตกต่างมีตำราเป็นไกด์นำทาง ที่เหลือคือการกระโจนลงสู่สนามธุรกิจเพื่อสะสมประสบการณ์ที่แท้จริงต่อไป

ยกตัวอย่างหนังสือคือ Zero to One ที่พูดถึงว่าโลกนี้จะไม่มี มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก คนที่สอง นั้นหมายถึงโมเดลธุรกิจที่มีอยู่แล้วอาจจะเป็นเค้กก้อนใหญ่สุดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีช่องทางอื่นในเวทีเดียวกันให้เริ่มต้น ยังมีอีกหลายสิ่งที่เข้าไปเติมเต็มเค้กก้อนนั้น สิ่งสำคัญคือต้องหาจุดนั้นให้เจอเหมือนผู้เขียน Zero to One ที่ทำธุรกิจจ่ายเงินออนไลน์คู่ไปกับ Facebook อย่างได้ผลมาแล้ว

3.จงเรียนรู้จากตำราเพื่อเอาหลักคิด(Learn to take the main ideas)

vv13

ภาพจาก goo.gl/6XImHD

การอ่านหนังสือที่ดีไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือทั้งเล่ม หนังสือทุกเล่มมักจะมีหลักคิดมีบางอย่างที่เป็น Key-take-away เพื่อจุดประกายสมอง ให้บรรลุสู่ความรู้แบบปลดล็อกได้เป็นอย่างดี และบางครั้ง เราเพียงต้องการหลักคิดบางอย่างจากผู้รู้ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่เราคิดนั้นถูกต้องและเพื่อเดินหน้าต่อไป

ยกตัวอย่างหนังสือ Secret of the Millionaire Mind ที่เปรียบเปรียบเทียบจิตคนกับภาชนะ และเงินกับสสาร ถ้าภาชนะยังไม่ใหญ่พอ เวลาสสารถล่มใส่ก็จะไหลล้นออกเพื่อพาคุณกลับไปสู่จุดเดิม อุปมาอุปมัยว่าถ้าคนจนอย่างไรมา ถูกหวยสิบล้านก็กลับไปจนเหมือนเดิม

ดังนั้นต้องขยายจิตแห่งการรองรับเงินนั้นด้วยการหาวิธีรักษาที่จะอย่างไรให้เงินนั้นต่อยอดได้มากขึ้น หรือ การต่อมาคือ เปรียบเทียบทัศนคติของเงินกับรากไม้ และเงินกับผลไม้ ทัศนคติต้องดีจากราก ผลลัพธ์ทางการเงินจึงจะออกมาดีด้วยได้

4.เรียนรู้เพื่อเอา “ฮาวทู”( Learn How-to)

vv14

ภาพจาก goo.gl/VTr3kt

มีบางตำราที่เรียกว่าเป็นส่วนเติมเต็มสำหรับคนที่อยากทำธุรกิจ บางเล่มเป็นแรงผลักดัน บางเล่มเป็นวิธีการสร้างแบรนด์ แต่หนังสือเพียง 1 หรือ 2 เล่ม อาจไม่ทำให้เกิดธุรกิจได้

ถ้าไม่มีการศึกษาตำราที่เรียกว่า “How-to” เพื่อผนวกเอาทุกอย่างไว้เป็นระบบเดียวกัน นั้นคือความหมายของการศึกษาตำรารูปแบบนี้ที่ผู้สนใจทำธุรกิจจำเป็นต้องอ่านเพราะในตำราประเภทนี้จะบอกวิธีการสร้างธุรกิจที่เป็นรูปธรรมเช่น การทำเว็บไซต์ การทำตลาดออนไลน์ การเจรจาการขาย นั้นคือสิ่งสำคัญที่เราจะสามารถนำมาใช้แล้วทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนที่สุด

ตัวอย่างของหนังสือประเภทนี้เช่น The 4-Hour Work Week ที่พูดเรื่องการวางระบบ E-commerce auto system โดยผู้เขียนกล่าวว่าการสร้างแพลทฟอร์มการขายที่ดีต้องมีการวางโปรดักส์ที่ชัดเจน

ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่าต้องเรื่องของธุรกิจออนไลน์เท่านั้น ธุรกิจทุกอย่างมีแพลทฟฟอร์มของตัวเองได้แต่ต้องมีระบบการตลาดที่เด่นชัดเพื่อให้กำหนดทิศทางของการทำธุรกิจได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

คนที่มีความรู้จากการอ่านตำราถือว่ากุมความได้เปรียบมากพอสมควร ข้อดีของหนังสือคือสามารถหยิบมาทบทวนเรื่องราวได้ตลอดเวลา และต่อให้โลกใบนี้เปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหนหนังสือดีๆ ก็ยังเป็นไกด์ไลน์ที่สำคัญและถ้าคิดจะทำธุรกิจการหาหนังสือที่เกี่ยวข้องมาอ่านเพิ่มเติมความรู้ดูจะเป็นการลงทุนที่ไม่มากแต่ว่าคุ้มค่าอย่างแน่นอน

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด