อีคอมเมิร์ซ บูม ดันโลจิสติกส์โต! ตลาดนี้ยังแบ่งกันกินได้อีกเยอะ

การเติบโตของธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ  ได้ส่งผลให้รูปแบบการขนส่งต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเน้นไปที่บริการการขนส่งแบบด่วน โดยมีบริษัทขนส่งต่างชาติเข้ามาให้บริการมากขึ้น โดยวิธีการเข้ามาลงทุนในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบการร่วมทุน และการเข้ามาเปิดสาขาในไทย 

โดยข้อได้เปรียบของบริษัทบริการขนส่งจากต่างประเทศ คือ มีเงินลงทุนจำนวนมาก พร้อมที่จะลงทุน อีกทั้งภาพลักษณ์เป็นที่รู้จักย่างแพร่หลาย เพราะได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง

ขณะที่บริษัทขนส่งไทยรายใหญ่ๆ ก็มีความพร้อมที่จะต่อยอดธุรกิจ มุ่งเน้นรูปแบบการให้บริการลักษณะขนส่งด่วนเช่นกัน บริษัทเหล่านี้จะได้เปรียบในเรื่องการแข่งขัน และเรื่องต้นทุน เพราะส่วนมากธุรกิจขนส่งเหล่านี้ จะมีการลงทุนในธุรกิจเดิมอยู่แล้ว ทั้งเรื่องรถขนส่ง ศูนย์กระจายสินค้า และทรัพยากรบุคคล

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าในช่วงเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา ตลาดขนส่งพัสดุรายย่อยในไทยเติบโตไม่ต่ำกว่า 10-20% ต่อปี โดยปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ปัจจัยสำคัญมาจากการขยายตัวธุรกิจ E-Commerce ในรูปแบบค้าปลีก-ค้าส่ง โดยในแต่ละปีเติบโตสูงถึง 30% โดยทุกวันนี้มีมูลค่า 700,000 ล้านบาท เมื่อการค้าออนไลน์ขยายตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้บริการส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตลาดขนส่งพัสดุด่วนมีการแข่งขันสูง ทั้งรายเก่า และรายใหม่ แต่ยังถือเป็น New Market และมีการเติบโตมาก เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้เล่นแต่ละรายจะวางตำแหน่งของตัวเองอย่างไร ในสนามการแข่งขันที่กำลังรุนแรง

ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าการแข่งขันธุรกิจโลจิสติกส์กำลังแข่งขันกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของ “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ทำให้กลุ่มทุนไทยต้องปรับตัว ไม่เว้นแม้แต่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับ-ส่ง พัสดุภัณฑ์ รายใหญ่ในประเทศต้องปรับตัว ไม่ต่างกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ เช่นเดียวกัน

85
ภาพจาก goo.gl/TE4LHJ

Kerry Express บริการรับของจากหน้าบ้านไปส่งให้ (Door-to-Door) เก็บเงินปลายทาง (COD) ส่งต่างประเทศ, aCommerce รับของจากหน้าบ้านไปส่งให้ (Door-to-Door) เก็บเงินปลายทาง (COD) ส่งต่างประเทศ บริการ Warehouse ขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค

86
ภาพจาก goo.gl/PtiUSp

Siamoutlet ช่วยจัดเก็บสินค้า (Warehousing) แพ็คของให้ด้วย (Packing) ส่งของ Shipping พร้อมให้บริการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดผ่าน LINE Group, dpx Ecommerce ช่วยจัดเก็บสินค้า (Warehousing) แพ็คของให้ด้วย (Packing) ส่งของ Shipping และยังมีบริการนำเข้าและเคลียร์สินค้าจากต่างประเทศให้ด้วย

MYCLOUD ช่วยจัดเก็บสินค้า (Warehousing) แพ็คของให้ด้วย (Packing) ส่งของ Shipping และยังมีบริการปลีกย่อยอื่นๆที่เหมาะกับเจ้าของธุรกิจ อาทิ บริการรับสินค้าจาก Supplier บริการ QC ของแทนเรา ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ให้บริการที่เน้นการรับส่งของ ไม่เน้นคลังสินค้า เช่น Alphafast ที่ให้บริการความคล่องตัวในการส่งของและเอกสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และยังมีบริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ในราคาที่ถูก

87
ภาพจาก goo.gl/HKe6xL

Nim Express เครือข่ายขนส่งใหญ่รองจากไปรษณีย์ไทย นอกจากส่งของแล้วยังมีบริการ Warehouse ที่เป็นห้องเย็นเก็บของสด ด้วย หรือกลุ่มของ Sendit และ lalamove ที่ให้บริการส่งของและเอกสารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีบริการด่วน ส่งของด่วนถึงที่ภายใน 3 ชั่วโมง ตลอด 24 ชั่วโมง แต่คิดราคาตามระยะทาง

แม้แต่ “เอสซีจี” (SCG) ถึงได้ร่วมทุนกับ “ยามาโตะ กรุ๊ป” (YAMATO Group) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แมวดำ” ยักษ์ขนส่งพัสดุรายใหญ่อันดับหนึ่งในญี่ปุ่น ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 46% จัดตั้ง “บริษัท ยามาโตะ เอเชีย จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 633 ล้านบาท สัดส่วนการถือหุ้น “เอสซีจี” 65% และ “ยามาโตะ กรุ๊ป” 35%

88

ภาพจาก goo.gl/8d38H5

โดยให้บริการส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน ภายใต้ชื่อ “เอสซีจี เอ็กซ์เพรส” (SCG Express) เอสซีจี เองก็ลงมาเล่นตลาดโลจิสติกส์เช่นกัน โดยเปิดตัวธุรกิจใหม่อย่าง เอสซีจี เอ็กซ์เพรส ที่มีการร่วมทุนกับ Yamato Asia โดยเน้นการส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน ทั้งในรูปแบบ B2B และ B2C คาดว่าจะขยายพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศไทย ภายในปี 2018

ดีเอชแอล หันมาทำโลจิสติกส์อย่างเต็มตัว หลังจากศูนย์กระจายสินค้า 40 กว่าแห่งได้ผลตอบรับดีเกินคาด จึงต่อยอดโดยใช้กลยุทธ์ขยายจุดรับกระจายสินค้าออกไปในต่างจังหวัด ซึ่งคาดว่าผลตอบแทนจะเติบโตถึง 30-35% และผู้ประกอบการสามารถใช้บริการเก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery – COD) ซึ่งมีบริการนำส่งเงินค่าสินค้าคืนผู้ขายเป็นประจำทุกวัน

89
ภาพจาก goo.gl/jtqYA5

ลาล่ามูฟ แอพฯ บริการขนส่งสินค้า และขนย้ายแบบออนดีมานด์ตลอด 24 ชั่วโมง ก็ยังขยายฐานลูกค้าในไทยเพิ่มขึ้นถึง 600% ในปีที่ผ่านมา โดยโฟกัสไปที่กลุ่ม SMEs และลูกค้ารายย่อย เน้นความสะดวกต่อธุรกิจคนรุ่นใหม่ คำนวณอัตราค่าบริการโดยอัตโนมัติ โดยคิดค่าบริการพื้นฐานตามระยะทาง และมีรถบริการหลายประเภท

นอกจากการส่งของในรูปแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย ยังมีบริการอื่นๆ ที่ช่วยส่งของให้ถึงที่หมายที่น่าสนใจ เช่น ม้าขาว รับ-ส่ง พัสดุขนาดเล็กที่ 7-11 (เซเว่น อีเลเว่น) ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ พร้อมทั้งสามารถรับชำระเงินผ่านแคชเชียร์ของร้านค้าได้อีกด้วย และ ATT Skybox บริการรับฝากของตามสถานี BTS ต่างๆ

เห็นได้ว่าช่วงนี้ ถือว่าวงการบริษัทขนส่งของไทยกำลังก้าวไปอีกขั้น จากเดิมที่เอกชนมีแต่ด่วนและแพง เช่น DHL, Fedex แต่ตอนนี้มีแบบไม่ด่วนมาก แต่ไม่แพง เช่น Kerry, LaLamove, Acommerce, Nim Express etc ออกมาเพียบเลย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตลาด อีคอมเมิร์ซ กำลังบูมอย่างมาก จึงทำให้ตลาดโลจิสติกส์ใหญ่ขึ้น จนเริ่มอยู่กันได้

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช