อยากเป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อ 4 แบรนด์ดัง 7-Eleven, CJ Express, Family Mart, Lawson

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ในเมืองไทยน่าจะแข่งขันกันอย่างร้อนแรง หลังจากทางเครือเซ็นทรัลเข้าครอบครอง Family Mart ในประเทศไทย ต่อจากพาร์ทเนอร์บริษัทญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีขณะที่ 7-Eleven ยังคงเป็นเจ้าตลาด ด้วยจำนวนสาขาที่กว่า 12,432 สาขา

แถมยังเป็นร้านที่ทำรายได้ต่อสาขาสูงที่สุด เมื่อเทียบกับร้านแบรนด์อื่นๆ อีกด้วย สำหรับร้านสะดวกซื้อแบรนด์ไทย อย่าง CJ Express ก็ถือว่าทำผลงานค่อนข้างดี มีผลการดำเนินงานเป็นกำไรจาก 600 สาขาใน 25 จังหวัด ส่วน Lawson 108 ในเครือสหพัฒน์ มีแผนจะเปลี่ยนร้าน 108 Shop ให้กลายมาเป็นสาขาของ Lawson 108 ในอนาคต

ใคร อยากเป็นเจ้าของ สะดวกซื้อดังกล่าว วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอข้อมูลความเคลื่อนไหวของธุรกิจ ความโดดเด่น และความน่าสนใจของร้านสะดวกซื้อทั้ง 4 แบรนด์ครับ

7-Eleven

อยากเป็นเจ้าของ

ภาพจาก bit.ly/31wbEZP

7-Eleven ร้านสะดวกซื้ออันดับหนึ่งของเมืองไทย เริ่มต้นขึ้นเมื่อ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เซ็นสัญญาซื้อสิทธิประกอบกิจการค้าปลีก (License) จากบริษัท เซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในสหรัฐอเมริกา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น เซเว่นอีเลฟเว่น อิงค์ เจ้าของคือญี่ปุ่น) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 และเริ่มเปิดดำเนินการสาขาแรกที่หัวมุมถนนพัฒน์พงศ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2532 เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

ปัจจุบัน 7-Eleven มีจำนวนสาขา 12,432 สาขาทั่วประเทศ โดยในปี 2564 ตั้งเป้าขยายสาขาร้านสะดวกซื้อใหม่เพิ่มให้ได้ประมาณ 700 สาขา โดยใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 11,500-12,000 ล้านบาท

36

ภาพจาก bit.ly/3m5eFcZ

โดยรูปแบบการขยายสาขาของ7-Eleven แบ่งสัดส่วนร้านสาขาเป็น 3 ประเภท คือ ร้านสาขาบริษัท, ร้านสาขาประเภทร่วมลงทุน (Store Business partner) และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต (Sub Area)] เป็นสัดส่วน 44:49:7 โดยค่าแฟรนไชส์ประมาณ 1,500,000 บาท งบการลงทุน 1,480,000-2,630,000 บาท ระยะเวลาการทำสัญญา 6-10 ปี

สำหรับในปี 2563 ที่ผ่านมา ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven มีรายได้รวม 300,705 ล้านบาท ลดลง 33,356 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยมีกำไร 83,724 ล้านบาท ลดลง 10,103 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งรายได้ที่ลดลงมาจากการระบาดของโควิด-19

# 7-Eleven อยู่ภายใต้การบริหารของ ซีพีออลล์ ในเครือซีพี ปัจจุบันมีจำนวนสาขา 12,432 แห่ง เปิดสาขาแรกปี 2532 สาขาซอยพัฒน์พงษ์ รายได้ปี 2563 ประมาณ 300,705 ล้านบาท กำไร 83,724 ล้านบาท ขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์


Family Mart

35

ภาพจาก bit.ly/3cAebbu

ปัจจุบัน “แฟมิลี่มาร์ท” ดำเนินการธุรกิจแฟรนไชส์ ก่อตั้งครั้งแรกในปี 2516 ในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีสาขากว่า 24,574 สาขาทั่วโลก ขณะที่ในไทยก่อตั้งครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2535 และมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นในนาม บริษัท ในเครือ เซ็นทรัลรีเทล คอรร์ปอเรชั่น จำกัด สำหรับแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทย มีจำนวน 973 สาขาทั่วประเทศ

รูปแบบของร้านค้าสะดวกซื้อเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง มีสาขามากมายทั่วประเทศ จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ไม่ว่าจะเป็น อาหารแห้ง อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องดื่ม กาแฟสดและของใช้ภายในบ้าน ในปัจจุบันมีบริการรับฝากส่งของภายในร้าน ดำเนินการโดย Kerry เพื่อตอบโจทย์ความเป็นร้านสะดวกซื้อสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่

รวมถึงกลยุทธ์การตลาดที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น การสะสมแต้ม The 1 Card การนำสินค้าใหม่ๆและอินเทรนด์จากญี่ปุนมานำเสนออย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้าง Ecosystem ใหม่ เช่น การฝากส่งของผ่าน Kerry ได้ภายในสาขาโดยตรง

34

ภาพจาก bit.ly/3fGmncv

สำหรับใครที่อยากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ “แฟมิลี่มาร์ท” ทำได้ไม่ยาก ใช้เงินลงทุนไม่สูง และมีการันตีรายได้ขั้นต่ำระหว่างการดำเนินกิจการ 30,000 บาทต่อเดือนในเวลา 1 ปี โดยบริษัทจะจัดหาร้านและทำเล

เพื่อนำเสนอให้ผู้สมัครแฟรนไชส์พิจารณาตามความเหมาะสม โดยตั้งเป้าหมายเจาะทำเลย่านชุมชน สถานีบริการน้ำมัน คอนโดมิเนียม เป็นหลัก พร้อมจะเร่งเพิ่มสาขาแฟรนไชส์ภายในปี 2564 จะมีสาขาทั่วประเทศประมาณ 3,000 แห่ง

# แฟมิลี่มาร์ท อยู่ภายใต้การบริหารของเครือเซ็นทรัลรีเทล ปัจจุบันมีจำนวนสาขา 1,040 แห่ง เปิดสาขาแรกปี 2536 สาขาพระโขนง รายได้ปี 2562 ประมาณ 16,755 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท ขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ ค่าแฟรนไชส์ 80,000 บาท งบการลงทุน 4,900,000 – 5,500,000 บาท ระยะเวลาสัญญา 6 ปี


CJ Express

33

ภาพจาก bit.ly/3dkCPw6

CJ Supermarket (ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต) ได้ประกอบกิจการค้าปลีกในรูปแบบสมัยใหม่ โดยการจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคในราคาประหยัดภายใต้ การบริหารงานของ บริษัท พี.เอส.ดี รักษ์ไทย จำกัด ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2548 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2556

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้เติบโตอย่างเร็วรวดโดยจากปี พ.ศ.2548 ได้มีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบัน ทางบริษัทได้มีสาขาเปิดให้บริการแล้วกว่า 600 สาขา ในเขตพื้นที่มากกว่า 25 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล กาญจนบุรี ชลบุรี ชัยนาท ชุมพร นครปฐม นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ลพบุรี สิงห์บุรี

ซึ่งมีโครงการที่จะขยายสาขาออกไปในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งร้านสะดวกซื้อแห่งนี้สามารถกำไรเป็นกอบเป็นกำมากกว่า Family Mart และ LAWSON 108 ที่ยังไม่เคยรู้จักคำว่า “กำไร” นับตั้งแต่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย

32

ภาพจาก www.facebook.com/CJsupermarket

ด้วยกลยุทธ์ราคาสินค้า แน่นอนกลุ่มลูกค้าหลักของ CJ Express จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหาเช้ากินค่ำเป็นหลัก ทำให้มีการจัดโปรโมชั่นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะโปรโมชั่นราคาที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนในทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยโปรโมชั่นเด็ดที่โดนใจ ก็คือ ลูกค้าที่ถือบัตร “สวัสดิการแห่งรัฐ” ที่จะได้ส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือสะสมยอดซื้อสินค้าเพื่อรับแลกของรางวัล

สำหรับรูปแบบการขยายสาขาของ CJ Express คือ เริ่มต้นจากต่างจังหวัด ด้านนอกรอบๆ ตัวเมือง จากนั้นจึงค่อยๆ ขยับเข้าสู่ใกล้ๆ ใจกลางเมือง โดยอนาคตเตรียมขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ เพื่อขายสู่ตลาด AEC ได้ง่ายขึ้น

# CJ Express อยู่ภายใต้การบริหารของ ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป (เสถียร เศรษฐสิทธิ์) ปัจจุบันมีจำนวนสาขา 600 แห่ง เปิดสาขาแรกปี 2548 สาขาจังหวัดราชบุรี รายได้ปี 2562 ประมาณ 13,797 ล้านบาท กำไร 358 ล้านบาท วางแผนขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ในอนาคต


Lawson 108

31

ภาพจาก facebook.com/Lawson108

“LAWSON 108” เป็นอีกหนึ่งร้านสะดวกซื้อสายเลือดญี่ปุ่น แม้ว่ารูปแบบของธุรกิจอาจจะแตกต่างไปจากร้านค้าราคาเดียวอย่าง MNISO, MUJI, Daiso และอิโระอิโระ แต่แนวทางการทำธุรกิจมีลักษณะคล้ายๆ กัน สร้างธุรกิจเติบโตในญี่ปุ่นแล้วขยายอาณาจักรเข้าสู่เอเชีย รวมถึงประเทศไทยพร้อมกับปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ “แฟรนไชส์” โดยวางเป้าเหมายเติบโตก้าวขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ในตลาดค้าปลีกร้านสะดวกซื้อในเมืองไทย

สำหรับในไทยหลังจากเปิดตัวร้านค้า 3 แห่งพร้อมกันภายใต้ชื่อ “LAWSON108” ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 ดำเนินงานโดย SAHA Lawson CO., LTD. ซึ่งเป็นบริษัทร่วมค้าที่ก่อตั้งโดย “บริษัทสหกรุ๊ป” อันเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ชื่อ “LAWSON 108” มาจากแบรนด์ “108 SHOP”

ร้านค้าเล็กๆ ที่พัฒนาขึ้นโดยสหกรุ๊ปผสมผสานกับแบรนด์ “Lawson” ของญี่ปุ่น ด้วยการนำความสามารถในการพัฒนาสินค้าออริจินัลและ Know how ในการบริหารร้านค้าที่ Lawson ในญี่ปุ่นมีผนวกกับศักยภาพของสินค้าและการให้บริการ ที่ฝังแน่นกับการดำรงชีวิตของคนไทยที่สหกรุ๊ปมีอยู่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นเรื่องที่น่าท้าทายเพื่อให้ลูกค้าชาวไทยได้รับประโยชน์ในการดำรงชีวิตต่อไป

30

ภาพจาก facebook.com/Lawson108

จุดเด่นของ “LAWSON108” คือ เมนูอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ หลากหลายรสชาติ และเบเกอรี่ที่เป็นสูตรเฉพาะ ซึ่งมีขายที่ “LAWSON108” เท่านั้น ซึ่งวัตถุดิบหลากหลายชนิดเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อให้ได้คุณภาพ และรสชาติที่อร่อย

โดยเมื่อปี 2560 Lawson 108 มีแผนขยายสาขาใหม่อีก 50 สาขา เฉลี่ยลงทุนสาขาละ 2-2.5 ล้านบาท หรือต้องใช้เงินลงทุนรวม 100 ล้านบาท โดยตั้งแต่ตั้งแต่ปี 2560 บริษัทได้ขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ เนื่องจากต้องการเพิ่มสปีดในการขยายสาขาสู่การแข่งขันให้ดียิ่ง ทำให้ในแต่ละปีจะขยายสาขาใหม่ได้กว่า 100 -150 สาขา โดยปัจจุบันมี 142 สาขา

สำหรับแผนการเปิดสาขาของ Lawson 108 จะต้องเน้นกลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน เน้นการขยายสาขาในอาคารสำนักงาน ทำเลรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และขยายสู่กลุ่มที่พักอาศัยเป็นลำดับต่อไป

# LAWSON 108 อยู่ภายใต้การบริหารของเครือสหพัฒนพิบูล ปัจจุบันมีจำนวนสาขา 142 แห่ง เปิดสาขาแรกปี 2556 สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ รายได้ปี 2562 ประมาณ 2,957 ล้านบาท ขาดทุน 79 ล้านบาท ลงทุนสาขาละ 2-2.5 ล้านบาท


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูล www.marketthink.co/14383 , https://datawarehouse.dbd.go.th

เรียบเรียงข้อมูลโดย https://bit.ly/3u7aa4m

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช