อยากนำสินค้าวางขายใน Lotus ต้องทำอะไรบ้าง

สำหรับผู้ประกอบการที่มีสินค้าย่อมต้องการช่องทางจำหน่ายที่ทรงพลัง ซึ่งแน่นอนว่าการนำสินค้าวางจำหน่ายใน Modern Trade คือสิ่งที่หลายคนต้องการโดยเฉพาะการจำหน่ายใน Hypermarket หรือ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น Lotus และ Big C แต่ก็เกิดคำถามตามมาอีกว่าแล้วระหว่าง Lotus และ BigC ช่องทางไหนที่น่าสนใจที่สุด

หากพูดกันตามจริง ทั้ง 2 แบรนด์ถือเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการ มีพลังในการดึงดูดลูกค้ามหาศาลก็ขึ้นอยู่กับสินค้าเราเองว่าคืออะไร แต่หากวัดในแง่ของดัชนีวัดความพึงพอใจต่อกลุ่มห้าง ที่ Dunhumby ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลธุรกิจ ได้จัดทำไว้ระบุว่าในปีที่ผ่านมา Lotus ครองอันดับหนึ่งในด้านนี้ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่ออย่างยิ่งว่าสิ่งที่คนอยากรู้มากที่สุดตอนนี้คือถ้าเรามีสินค้าและอยากวางขายใน Lotus ต้องทำอะไรบ้าง

ทำไมการวางสินค้าใน “Lotus” ถึงน่าสนใจ?

ต้องทำอะไรบ้าง

ภาพจาก https://bit.ly/3y5qEx1

ข้อมูลระบุว่าโลตัสในประเทศไทย มี 2,084 สาขา แบ่งเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต 217 สาขา ,ซูเปอร์มาร์เก็ต 195 สาขา ,มินิ ซูเปอร์มาร์เก็ต 1,672 สาขา มีจำนวนการซื้อทั้งช่องทางออฟไลน์ (สาขา) และออนไลน์ มากกว่า 10 ล้านครั้งในหนึ่งสัปดาห์ในขณะที่จำนวนบัตรสมาชิกโลตัสการ์ด มากกว่า 15 ล้านสมาชิก ซึ่งตัวเลขเหล่านี้สะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า Lotus มีพลังในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากแค่ไหน

และหลังจากที่กลุ่มบริษัท ซี.พี. ในนาม บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ได้เข้าซื้อกิจการของ Lotus ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในด้านธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น แต่ถึงกระนั้น ใช่ว่าทุกคนที่มีสินค้านึกจะเอามาขายก็ขายได้เลย ด้วยความที่ Lotus เป็นธุรกิจระดับประเทศจึงต้องมีคุณภาพในการคัดสรรสินค้าเป็นอย่างดีเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นสำคัญ

วิธีนำสินค้าวางจำหน่ายใน Lotus

3

ภาพจาก https://bit.ly/3y5qEx1

1.ดูสินค้าที่ Lotus ต้องการจากผู้ผลิต

Lotus เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่จึงต้องมีสินค้าที่หลากหลาย การจะนำสินค้าใดๆ วางจำหน่ายกับ Lotus ต้องดูว่าเป็นสินค้าที่ทาง Lotus ต้องการหรือไม่ โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่จะเป็นคู่ค้ากับ Lotus ควรมีสินค้าในกลุ่ม อาหารสด และอาหารพร้อมรับประทาน , เนื้อสัตว์ , อาหารทะเลสด , อาหารสำเร็จรูป , เบเกอรี่ , เครื่องดื่ม , ขนมขบเคี้ยว , สินค้าความงาม , สินค้าอุปโภคต่างๆ เป็นต้น

2.สินค้าได้มาตรฐาน GMP / HACCP

ผู้ประกอบการที่จะนำเสนอสินค้าให้ Lotus พิจารณา โดยเบื้องต้นสินค้านั้นต้องมีมาตรฐาน GMP / HACCP ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิต ทั้งด้านความสะอาด ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมายในด้านจริยธรรม และการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

2

ภาพจาก https://bit.ly/3y5qEx1

3. นำเสนอสินค้าผ่านช่องทาง www.TescoLotus.com/SME

ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอสินค้าผ่าน www.TescoLotus.com/SME เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยจะมีฝ่ายจัดซื้อ (Buyer) แต่ละแผนกสินค้าของ Lotus พิจารณาผลิตภัณฑ์ของใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 30 วันโดยทาง Lotus และผู้ประกอบการจะมีการพูดคุยร่วมกัน

เช่น เงื่อนไขต่างๆ กำลังการผลิต ต้นทุนสินค้า สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพัฒนา หรือปรับปรุงสินค้าเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน Lotus หากสินค้าผ่านการคัดเลือก และ สามารถตกลงกันในเงื่อนไขต่างๆ ได้แล้ว ก็พร้อมให้สินค้านั้นเข้ามาวางสินค้านั้น เข้ามาวางจำหน่ายในโลตัสสาขาต่างๆ

ทั้งน้ Lotus ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการที่นำสินค้ามาวางจำหน่ายร่วมกับ Lotus ด้วยเช่นกันเพราะเข้าใจดีว่าต้นทุนของผู้ประกอบการอาจต้องเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ Lotusจึงมีทีมงานพัฒนาธุรกิจ และทีมพัฒนาคุณภาพสินค้า ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในด้านการลดต้นทุน เพราะถ้าผู้ประกอบการรายนั้นๆ ยังผลิตในต้นทุนที่สูงกว่าราคาขาย ย่อมไม่เกิดประโยชน์ใดๆในการทำธุรกิจ

ต้นทุนการนำสินค้าจำหน่ายใน Lotus มีอะไรบ้าง

1

ภาพจาก https://bit.ly/3y5qEx1

ในที่นี้เราจะไม่ได้โฟกัสไปที่ตัวเลขชัดเจน เพราะเป็นเงื่อนไขที่ทาง Lotus และผู้ประกอบต้องมาพูดคุยกันในรายละเอียดอีกที แต่โดยส่วนใหญ่จะมีต้นทุนที่สำคัญดังนี้

  1. ค่าแรกเข้าหรือ Entrance Fee ที่มีรูปแบบในการเรียกเก็บแตกต่างกันออกไปตามแต่ละ Modern Trade ซึ่งที่ Lotus จะใช้วิธีเรียกเก็บเป็นเอสเคยูต่อปี เป็นต้น
  2. ค่า Rebate หรือเงินที่เรียกเก็บจากเป้ายอดขายที่ต้องทำให้ได้ตามที่ทาง Lotus ตั้งไว้ โดยค่า Rebate นี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ Lotus นำมาใช้ในการกำหนดโปรโมชั่น หรือการเล่นเรื่องราคา เพื่อผลักดันการขายให้ได้มากขึ้น หรือเรียกง่ายๆ ว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ย้อนกลับมาเป็นแคมเปญกระตุ้นยอดขายนั่นเอง
  3. ค่า Distribution Fee หรือค่ากระจายสินค้า เป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากซัพพลายเออร์ เนื่องจากการกระจายสินค้าของไฮเปอร์มาร์เก็ตจะมีศูนย์กระจายสินค้าที่มีทั้งที่เป็นของตัวเองและที่จ้างบริษัทภายนอก ซึ่งตัวซัพพลายเออร์จะต้องขนสินค้ามาที่ศูนย์กระจายสินค้าเพื่อให้ทางห้างเป็นคนกระจายสินค้าเข้าสู่แต่ละสาขาเอง ตรงนี้จะช่วยลดต้นทุนกับซัพพลายเออร์ ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับค้าปลีกด้วย

นอกจากต้นทุนเบื้องต้นเหล่านี้อาจมีต้นทุนอื่นๆ ที่เป็นเงื่อนไขเฉพาะของผู้ประกอบการแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าการได้นำสินค้ามาวางจำหน่ายใน Lotus ข้อดีที่หนึ่งคือโอกาสเพิ่มยอดขายที่มากขึ้น ข้อดีที่สองคือยกระดับสินค้าให้ดูพรีเมี่ยมมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรคำนวณต้นทุนกำไรและศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อการวางขายสินค้าใน Lotus จะได้เกิดประโยชน์สูงสุดตามที่ต้องการจริงๆ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3d1mj4f , https://bit.ly/3ln2usG , https://bit.ly/32LGAcn , https://bit.ly/3D5qIxN , https://bit.ly/3rmgd6P

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3GvxMGe


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด