อยากซื้อแฟรนไชส์ KFC ต้องทำไง กระทู้ Pantip

เชื่อว่าถ้าพูดถึงแบรนด์ไก่ทอดในเมืองไทย หลายคนคงจะนึกถึง KFC มาเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังมีต้นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (2564) มีจำนวนสาขาทั้งหมด 25,680 สาขาทั่วโลก แบ่งเป็นร้านแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ 3,860 สาขา, นอกสหรัฐฯ 21,530 สาขา และบริษัท “Yum! Brands Inc.” บริหารเอง 290 สาขา

สำหรับในประเทศไทยมีร้านไก่ทอด KFC จำนวน 900 สาขา และมีมูลค่าตลาดไก่ทอดกว่า 20,000 ล้านบาท โดย KFC เป็นแบรนด์ไก่ทอดที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากสุด 90% โดยมีบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ ยัม! ประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารแบรนด์ ทำการตลาด และโปรโมชั่น

ด้วยความนิยมไก่ทอด KFC ในเมืองไทย จึงไม่แปลกที่ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ KFC มากมาย และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ติดต่อใคร ต้องทำไง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำให้ทราบครับ

ต้องทำไง

ภาพจาก https://bit.ly/3meTwhQ

#ก่อนอื่นชี้แจงให้ทราบกันโดยทั่วว่า KFC ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ให้นักลงทุนรายย่อย!!!

ในประเทศไทย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด) ขายแฟรนไชส์หรือให้สิทธิ์การเป็นแฟรนไชน์ซีทั้งหมด 3 บริษัท คือ 1.เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ CRG เครือเซ็นทรัลกรุ๊ป กว่า 300 สาขา, 2.เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย (The QSR of Asia) เครือไทยเบฟกว่า 378 สาขา และ 3.เรสเทอรองส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) มีกว่า 200 สาขา

9

ภาพจาก https://bit.ly/3meTwhQ

บริษัทฯ มีนโยบายขยายสาขาอย่างต่อเนื่องผ่านการลงทุนของแฟรนไชซีทั้ง 3 ราย ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล, เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย บริษัทในเครือไทยเบฟ และเรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ หรืออาร์ดี ที่ยังมีแผนลงทุนเปิดสาขาเพิ่มต่อเนื่อง จากปีที่ผ่านมาได้เปิดไปกว่า 60 สาขา เน้นเปิดร้านคอนเซ็ปต์ใหม่ๆ ในรูปแบบไดรฟ์ทรูและในพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ต

สำหรับหน้าที่หลักๆ ของบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ฯ ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์และพันธมิตรในธุรกิจ ให้สามารถรักษามาตรฐานของแบรนด์ได้ หลักๆ จะเป็นเรื่องโอเปอเรชั่นจะมีไกด์ไลน์ให้ในการซัพพอร์ต และมีหลักการพิจารณาถึงความเหมาะสมของการเปิดสาขา

ควบคู่กับการทำหน้าที่สื่อสารการตลาดด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าใหม่ นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในเรื่องการบริการให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยหัวใจหลักในการทำงาน คือ แฟรนไชส์ซีทุกรายค่อนข้างสามัคคีกัน ทำงานร่วมกันเป็นทีมเวิร์ก และต้องเติบโตไปด้วยกัน

CRG แฟรนไชส์ซีรายแรกของ KFC

8

ภาพจาก https://bit.ly/3GQJxHj

KFC เป็นแบรนด์ไก่ทอดที่มีการเติบโตต่อเนื่องในสหรัฐฯ ทำให้กลุ่ม CRG ตัดสินใจขอซื้อแฟรนไชส์จากบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ โดยเปิดสาขาแรกที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าวในปี พ.ศ.2527 โดยในอดีตธุรกิจของ KFC ถูกบริหารแค่ 2 บริษัท คือ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ และ CRG แต่แล้วเมื่อ Yum Brands, Inc มีนโยบายพยายามลดการบริหารร้านอาหารที่มีอยู่ในมือตัวเองทั่วโลก พร้อมกับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ดูแลระบบแฟรนไชส์อย่างเต็มตัว

ทำให้บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ จึงได้ขายสาขาที่เหลือในมือตัวเองทั้งหมดให้แก่ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ต่อมาก็ขายให้แก่ไทยเบฟเวอเรจ จนปัจจุบันบริษัทยัม เรสเทอรองตส์ ไม่มีสาขา KFC อยู่ในมือ

ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์ KFC ในสหรัฐอเมริกา

7

ภาพจาก https://bit.ly/3meTwhQ

  • ค่าแฟรนไชส์ 45,000 เหรียญสหรัฐ
  • เงินลงทุน 1,442,600-2,771,550 เหรียญสหรัฐ
  • รายได้สุทธิ 1,500,000 เหรียญสหรัฐ
  • เงินทุนหมุนเวียน 750,000 เหรียญสหรัฐ
  • Royalty Fee 4-5%
  • Ad Royalty Fee 5%
  • ระยะสัญญา 20 ปี (ต่อสัญญาได้)

สรุปก็คือ ปัจจุบัน KFC ในประเทศไทย มีแฟรนไชส์ซีรายใหญ่อยู่ 3 บริษัท ที่จะทำหน้าที่ในการขยายสาขา ทำการตลาด รวมถึงการบริหารจัดการภายในร้านทุกอย่าง ส่วนบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ทำหน้าที่เป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซอร์ ดูแลพัฒนาแบรนด์และแฟรนไชส์ซี


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3F56oOZhttps://bit.ly/3GNZZYThttps://bit.ly/3e2lWam

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3sDLXW3

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช