อยากขายแฟรนไชส์ต้องรู้! 12 คู่มือมาตรฐานในระบบแฟรนไชส์

คู่มือปฏิบัติงาน (Operation Manual) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะคู่มือปฏิบัติงานแฟรนไชส์ เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของระบบงานทั้งหมด (The blueprint of the system )

ซึ่งเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของธุรกิจ ที่แฟรนไชส์ซีใช้ปฏิบัติตาม เป็นคู่มือปฏิบัติงานระบบแฟรนไชส์ เป็นเครื่องมือช่วยในการขาย เป็นเครื่องมือในการฝึกอบรม ฯลฯ

อยากขายแฟรนไชส์ต้องรู้

ดังนั้น เจ้าของกิจการที่อยากจะขายแฟรนไชส์ จำเป็นต้องเรียนรู้และเขียนคู่มือปฏิบัติงานให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้แฟรนไชส์ซีนำไปใช้ปฏิบัติตาม วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 12 รูปแบบคู่มือมาตรฐานในระบบแฟรนไชส์ให้ทราบ

รูปแบบคู่มือมาตรฐานในระบบแฟรนไชส์ มี 12 เล่ม ได้แก่

1.PRODUCT DETAIL BOOKLET

12

สมุดรายละเอียดผลิตภัณฑ์ รายละเอียดสินค้า (โบรชัวร์) เป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่เป็นข้อความในเชิงประชาสัมพันธ์ บรรยายสรรพคุณของสินค้า และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า เช่น ที่มาและความหมายของสินค้า, ราคา, สโลแกนของสินค้า เป็นต้น

2. MARKETING MANUAL

11

คู่มือทางการตลาดรูปแบบการส่งเสริมงานด้านการตลาดในด้านต่างๆ ประกอบด้วย

  • MARKETING MANAGEMENT : แนววิธีการส่งเสริมด้านการตลาดของบริษัทในรูปแบบนโยบายและตัวอย่าง (CORPORATE + LOCAL) เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์ ออฟไลร์ รวมถึงการออกบูธแสดงสินค้า รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริการในแต่ละช่วงเวลา หรือการเปิดตัวสินค้าใหม่
  • BRAND IDENTITY MANUAL : การกำหนดรูปลักษณ์สัญลักษณ์ของบริษัทในรายละเอียด เช่น บริษัทผลิตสินค้า หรือ บริการ โดยมีเป้าหมายลูกค้าเป็นกลุ่มไหนบ้าง มีความโดดเด่นอย่างไร เป็นต้น
  • DESIGN & DEVELOPMENT PACKAGE : การออกแบบและการใช้สัญลักษณ์โลโก้ ดึงดูดใจผู้พบเห็น และควรมีที่ว่างให้ผู้พบเห็น ค้นหาความหมายที่ต้องการสื่อออกมาทางโลโก้นั้นด้วยตนเองบ้าง ทั้งนี้ต้องดูไม่ยากเกินไปด้วย

3. EMPLOYEE HANDBOOK

10

หนังสือคู่มือสำหรับลูกจ้าง เป็นคู่มือที่เกี่ยวกับสวัสดิการ ข้อบังคับพนักงาน คู่มือของพนักงาน และรายละเอียดของงานที่ต้องรับผิดชอบ รวมถึงสิทธิ์ การประเมินผล และนโยบายด้านบุคคลต่างๆ เช่น ชุดพนักงานใส่อะไร ทำงานเข้ากี่โมง ออกกี่โมง รวมถึงรูปแบบการให้บริการลูกค้าภายในร้าน รวมถึงต้องพูดหรือทักทายลูกค้าอย่างไร เป็นต้น

4. BUSINESS & FINANCIAL MANAGEMENT SYSTEM

9

ระบบการเงิน ระบบการเก็บเงินสด ระบบการทำงบกำไรขาดทุน การวางรูปแบบการบริหารงานโดยเฉพาะการเงิน การจ่าย การรับ นโยบายสินเชื่อ และวิธีการทำระบบเอกสารงานต่างๆ ถือเป็นระบบที่แฟรนไชส์ซอร์ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้แฟรนไชส์ปฏิบัติตามระบบทุกอย่างทุกขั้นตอน ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

5. PURCHASING SYSTEM MANUAL

8

คู่มือระบบการจัดซื้อ ระบบบริหารงานด้านจัดซื้อ ประกอบด้วย

  • PREFERRED SUPPLIERS GUIDELINES : รายละเอียดและแนววิธีการติดต่อร้านค้า ซัพพลายเออร์ หรือบริษัทที่รับจัดส่งสินค้าให้ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงวิธีการสั่งซื้อสินค้าในรูปแบบต่างๆ ที่จะให้แฟรไชส์ซีนำไปใช้
  • INVENTORY HANDBOOK : ระบบการควบคุม STOCK และวิธีการทำงาน การควบคุมหลักการและนโยบาย ซึ่งการจัดการสต็อกสินค้าคือหัวใจสำคัญของร้านค้าปลีกและร้านอาหาร เช่น การเช็คสินค้าอย่างไร ช่วงเวลาไหน สินค้าขายดีควรวางไว้ตรงไหน หรือถ้าเป็นร้านอาหาร ควรจะเช็คและสั่งวัตถุดิบ เพื่อให้รู้ว่าจะสั่งซื้อล่วงหน้าได้กี่วัน วัตถุดิบจะได้ไม่ขาด

6. NEW-UNIT OPENING GUIDELINES

7

คู่มือสำหรับร้านเปิดใหม่ โดยเจ้าของแฟรนส์หรือแฟรนไชส์ซอร์ จะเขียนบอกว่าร้านที่เปิดใหม่ต้องทำอย่างไรบ้างในแต่ละวัน ตกแต่งอย่างไร วางโต๊ะแบบไหน มุมไหน รวมถึงคู่มือสำหรับการเปิดสาขาใหม่ การเตรียมการ การใช้อุปกรณ์หลัก และการเริ่มต้นกิจการในวิธีการต่างๆ การกำหนดทำเลที่ตั้งร้าน รวมทั้ง แผนการเปิดร้านใหม่

7. CAPITAL BUDGET

6
งบประมาณ การวางแผนการลงทุนการใช้จ่าย และการควบคุมงบประมาณ เช่น การเก็บเอกสาร, ระเบียบการเงิน, การควบคุมค่าใช้จ่ายภายในร้าน รวมถึงการลงทุนซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ในร้าน

8. FRONT OPERATION MANUAL (DAILY OPERATION)

5

คู่มือสำหรับระดับปฏิบัติงาน การจัดการระบบหน้าร้าน (ประจำวัน) ประกอบด้วยขั้นตอนการเตรียมเปิด – ปิดร้าน เวลาไหน ทำงานกี่ชั่วโมง การบริการลูกค้าลักษณะแบบไหน การพูดจาเป็นอย่างไร มีที่นั่งหรือไม่มีที่นั่ง รวมถึงวิธีการควบคุมเงินสดภายในร้าน เป็นต้น

9. PRODUCT OUTLET MANUAL

4

คู่มือสำหรับผลิตภัณฑ์ หรือบริการภายในร้าน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนและวิธีการผลิตสินค้า การปรุงอาหาร ส่วนผสมต่างๆ รวมถึงการควบคุมส่วนงานการผลิต การบริการ หรือส่วนการผลิตสินค้าในร้านนั้นๆ เช่น 7-11 บนเคาน์เตอร์หน้าร้านควรสินค้าสำหรับพนักงานขายโดยตรงให้ลูกค้า หรือสินค้าขายดีจัดไว้มุมไหน เป็นต้น

10. TRAINING CENTER MANUAL

3

คู่มือการฝึกอบรมจากส่วนกลาง เป็นการจัดการฝึกอบรมของหน่วยงานกลาง และการอบรมพนักงานในแต่ละจุดงาน ไม่ว่าจะให้แฟรนไชส์และพนักงานไปฝึกอบรมทางทฤษฎีที่บริษัทแม่กี่วัน หลังจากนั้นเป็นการฝึกอบรมและสอนการปฏิบัติงานในร้านจริงกี่วัน เช่น การเช็ดโต๊ะทำอย่างไร การชงกาแฟทำอย่างไร ฯลฯ

11. EQUIPMENT SPECIFICATION GUIDELINES

2

คู่มือบอกวิธีการใช้งานเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เป็นคู่มือของอุปกรณ์ที่ใช้ภายในร้าน เช่น การหยิบจับเครื่องมือการชงกาแฟ การทอด การนึ่ง การปิ้ง การเช็คสต็อกสินค้าโดยเครื่องมือ รวมถึงการเครื่องมือเกี่ยวกับระบบการชำระเงินต่างๆ เป็นต้น

12. INFO. FLOW MANUAL

1

เป็นคู่มือการบริหารข้อมูล รายงาน และการประเมินผล รวมถึงการประสานงานกับสำนักงานใหญ่ เช่น แฟรนไชส์ซีจะต้องรายงานยอดขายให้บริษัทแม่ทุกวันที่เท่าไหร่ จ่ายค่า Royalty Fee และค่าการตลาดทุกวันที่เท่าไหร่ รวมถึงหากเวลาเกิดปัญหาภายในร้านจะต้องแจ้งหรือติดต่อกับใคร ใช้วิธีไหนในการติดต่อกับสำนักงานใหญ่ เป็นต้น

แฟรนไชส์ซอร์ที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะต้องบริหารจัดการภายในธุรกิจของตนเองให้ได้ดีก่อน จึงจะสามารถทำหน้าที่ในการเป็นพี่เลี้ยงที่ดีให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซีได้

ดังนั้น หากแฟรนไชส์ซอร์ยังจัดการตัวเองได้ไม่ดีพอ แล้วจะแนะนำและช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร และนี่คือ 12 คู่มือปฏิบัติงานที่แฟรนไชส์ซีต้องจัดการให้ดีเช่นเดียวกัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

S__2834448

ท่านใดสนใจอยากทำคู่มือแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

 

แหล่งข้อมูลจาก Coach and Consulting https://bit.ly/3bpe1Sc

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3i1ZYEw

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช