องค์ประกอบและแนวทางการเขียน คู่มือแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการธุรกิจที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ นอกจากจะรู้ถึงความสำคัญของ คู่มือแฟรนไชส์ แล้ว ยังต้องจัดทำคู่มือธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีความน่าสนใจ ชวนหลงใหล และอยากติดตาม

ด้วยเหตุผลที่ว่าคู่มือแฟรนไชส์เป็นสินค้า ทรัพย์สิน หรือลิขสิทธิ์ของระบบแฟรนไชส์ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ วิธีการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ เพื่อใช้ในการถ่ายทอดระบบโปรแกรมความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMESCenter.com อยากให้ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการทำระบบแฟรนไชส์ ได้จัดทำคู่มือแฟรนไชส์ให้มีความน่าสนใจ ดูแล้วเข้าใจง่าย ช่วยผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติได้อย่างราบรื่น มาดูกันเลยว่า คู่มือแฟนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่ต้องมีและขาดไม่ได้อยู่ข้างในคู่มือ

1.วัตถุประสงค์การใช้งาน

คู่มือแฟรนไชส์

ภาพจาก : freepik.com

ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้ว่า วัตถุประสงค์ของคู่มือแฟรนไชส์ที่จัดทำขึ้น นำไปใช้เพื่อการอะไรบ้าง โดยคู่มือแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะใช้เป็นสินค้า ทรัพย์สิน ลิขสิทธิ์ และภาพพจน์ของระบบแฟรนไชส์

คู่มือแฟรนไชส์ใช้สำหรับถ่ายทอดความรู้ เอกสารอ้างอิง การอบรมระบบแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี ซึ่งคู่มือแฟรนไชส์จะเป็นเครื่องมือควบคุมระบบ มาตรฐาน วิธีการปฏิบัติงานของแฟรนไชส์ รวมถึงใช้เป็นส่วนต่อขยายความชัดเจน การควบคุม เงื่อนไขสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งในคู่มือจะต้องระบุเงื่อนไขสัญญาให้มีความละเอียดชัดเจน ถูกต้อง

2.เนื้อหาสาระ

bb3

ภาพจาก : freepik.com

เมื่อรู้วัตถุประสงค์ของคู่มือแฟรนไชส์ ว่านำไปใช้เพื่อการอะไรแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้ว่า เนื้อหาสาระที่จะใส่ลงไปในคู่มือแฟรนไชส์มีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างราบรื่น มีความสะดวกสบาย เข้าใจภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว

โดยเนื้อหาสาระในคู่มือแฟรนไชส์ ต้องระบุถึงภาพรวมธุรกิจทั่วๆ ไป ให้ผู้อ่านได้เข้าใจ ได้รู้ที่มาที่ไปของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการทำธุรกิจ ปัจจัยความสำเร็จ กฎเกณฑ์ต่างๆ ในการทำธุรกิจ มาตรฐานระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ประวัติความเป็นมาของธุรกิจ โครงสร้างองค์กร ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของธุรกิจแฟรนไชส์

เนื้อหาสาระยังต้องมีองค์ประกอบส่วนหลัก เพื่อถ่ายทอดถึงระบบปฏิบัติการต่างๆ การทำงานประจำวัน การผลิต รูปแบบการขาย การให้บริการลูกค้า ระบบและกระบวนการขนส่งสินค้า การจัดเก็บและสต็อกสินค้า การจัดเก็บเงิน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาส่วนเสริม ระบุเกี่ยวกับระบบการบริหารง่านส่วนต่าง อาทิ การตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น บุคลากร พนักงาน การแต่งกาย การเงิน การบัญชี เป็นต้น

3.รูปแบบการนำเสนอ

bb4

ภาพจาก : freepik.com

การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ให้น่าสนใจในปัจจุบัน มีหลากหลายรูปแบบของการนำเสนอ แล้วแต่ว่าผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์จะเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง อ่านหรือดูแล้วไม่น่าเบื่อ โดยรูปแบบการนำเสนอขอคู่มือแฟรนไชส์ในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้กัน อาทิ แบบเอกสารคู่มือทั่วไป แบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบ Multimedia ภาพเคลื่อนไหว

นอกจากนี้ ยังมี Interactive สามารถโต้ตอบ แสดงความคิดเห็นย้อนกลับได้ อีกทั้งนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ เว็บไซต์ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ควบคุม แก้ไข และส่งถึงกันได้โดยง่าย โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซีที่อยู่ห่างไกลกัน

ยิ่งโลกยุคปัจจุบัน ช่องทางสังคมออนไลน์ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอคู่มือแฟรนไชส์ ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค ไลน์ รวมถึงเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ที่ร่วมสมัย นำมาใช้ในการทำงานร่วมกันได้

การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน มีการใส่องค์ประกอบที่ครบถ้วน มีความสมบูรณ์แบบ จะมีส่วนช่วยให้คุณสามารถควบคุมระบบมาตรฐานแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์อ่านแล้ว เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ราบรื่น ก็จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

ผู้ประกอบการธุรกิจท่านใด ที่มีความสนใจ อยากสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ลองมาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือคู่มือสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ ได้ที่ https://goo.gl/Fi03yo 


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

S__2834448

ท่านใดสนใจอยากทำคู่มือแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3k1UTNw

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช