หลัก 8 ประการ สู่ความสำเร็จ ของ McDonald’s.. สูตรธุรกิจสำคัญที่ทำให้เราเป็นแบรนด์ระดับโลก

จากความคิดเล็กๆของสองพี่น้อง Dick & Marice สู่ความสำเร็จ การเปิดร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดลักษณะ Drive in ในรัฐแคลิฟอร์เนียช่วงปี 1940 และมีการพัฒนารูปแบบเรื่อยมาจนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในปี 1955 เมื่อ Ray Kroc เข้ามาบริหารกิจการอย่างเต็มรูปแบบในนามของ “McDonald’s” และถือเอาวันที่ 15 เมษายน ของทุกปีเป็นวันสำคัญของ McDonald’s ทั่วโลกโดยเรียกวันนี้ว่า “Founder’s Day”
ปัจจุบัน McDonald’s มีสาขามากกว่า 36,000 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก สามารถให้บริการลูกค้าได้มากกว่า 69 ล้านคน/วัน ในประเทศไทยเอง McDonald’s มาเปิดสาขาเป็นประเทศที่ 35 ของโลกเมื่อพ.ศ. 2528 ถึงตอนนี้นับเฉพาะประเทศไทยมีสาขาของ McDonald’s กว่า 227 แห่งกระจายอยู่ทุกจังหวัดในประเทศไทย (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2559)

www.ThaiSMEsCenter.com มองเห็นแนวทางที่น่าสนใจในหลักการบริหารของ McDonald’s เกี่ยวกับหลัก 8 ประการสู่ความสำเร็จที่ Ray Kroc ยึดถือและนำมาใช้เป็นหลักพื้นฐานซึ่งความรู้ที่นำเสนอนี้ประยุกต์ใช้ได้กับการทำธุรกิจทุกอย่างและการก้าวสู่ความสำเร็จในระดับโลกอาจเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้นหลายเท่าตัวทีเดียว

สู่ความสำเร็จ

1. รักษาความมั่นคงในสินค้าและบริการ

“ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนของโลก เมื่อเดินเข้าสู่ McDonald’s จะเป็นความรู้สึกเดียวกันหมด” นี่คือนิยามในธุรกิจของ McDonald’s ที่เน้นเรื่องสินค้าและบริการเป็นสำคัญ ถึงขนาดที่มีการตั้งมหาวิทยาลัยแฮมเบอร์เกอร์ขึ้นมา ที่ Elk Grove Village รัฐ Illinois เพื่อสอนให้กับเจ้าของร้าน ในการเปิดร้าน McDonald’s

โดยเน้นไปที่มาตรฐานของ product, place, price และpromotion ด้วยความมั่นคงและชัดเจนนี้ส่งผลให้ตั้งแต่ปี1961ถึง 1968 McDonald’s ขยายสาขาจาก 300 เป็น 1,000 สาขาอย่างรวดเร็ว และในปี 1965 นิตยสาร TIME ได้ยกย่องให้ Ray Kroc เป็น The Hamburger Man of the Century กันเลยทีเดียว

sa27

2. สร้างสถานะแบรนด์อย่างชัดเจน

Ray Kroc กล่าวว่า “ต่อหน้าแบรนด์ที่แข็งแกร่งจะช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและกลายเป็นความทรงจำของลูกค้าที่จะแปลงให้เป็นฐานลูกค้าสำคัญต่อไป”

McDonald’s เป็นการสร้างแบรนด์ที่เก่งมากจับสโลแกนหลักคือประสบการณ์ทางอารมณ์ที่พาทุกคนเข้าสู่วัยเด็ก (I’m lovin’ it) มีการใช้ตัวตลกโบโซ่เป็นตัวแทนของธุรกิจเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 1963 เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้คนจดจำแบรนด์กับลักษณะตัวการ์ตูนที่มีรองเท้าเป็นรูปขนมปัง

มีถ้วยเป็นจมูก มีถาดเบอร์เกอร์เป็นหมวกที่ทำมาจากฟองน้ำ มีหัวเข็มขัดเป็นรูปเบอร์เกอร์ ความโดดเด่นที่ว่านี้มีผลอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจที่สร้างการจดจำทำให้คนทั่วโลกรู้จัก McDonald’s ในเวลาอันรวดเร็ว

sa23

3. กล้าเสี่ยงในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

McDonald’s เจอกับปัญหามามากมาย สิ่งที่ทำให้ McDonald’s เดินหน้าต่อไปได้คือความกล้าในการปฏิวัติสิ่งใหม่ๆ ยุคแรกๆของ McDonald’s ถึงขนาดยอมปิดร้านกว่า 3 เดือนเพื่อการจัดสร้างระบบการขายขึ้นใหม่แทนของเก่าที่ไร้ประสิทธิภาพ

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบนี้ ทำให้เกิดรูปแบบบริการที่รวดเร็ว แฮมเบอร์เกอร์ และ French fries กลายเป็นเมนูยอดนิยม

รวมถึงเมนูใหม่ๆอีกหลายรายการที่เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้ลูกค้าได้รับอาหารที่มีความหลากหลายมากขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่คุ้มค่ามากเพราะสามารถดันยอดขายได้ถึง 4 พันล้านชิ้นในปี 1968

sa28

4. รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับรสนิยมของลูกค้า

สิ่งที่ McDonald’s ตระหนักว่าเป็นเรื่องสำคัญคือการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า เช่นการออกแบบร้านให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายไม่ใหญ่ขนาดเป็นซุปเปอร์ หรือในปี 1975 ที่ McDonald’s เข้าไปเปิดกิจการใกล้กับฐานทัพทหารในแอริโซนาเพื่อให้ทหารที่มีเวลาจำกัดได้มีโอกาสรับประทานอาหารในเวลาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการออกแคมเปญระดับโลกอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะ “Smile” หรือว่า “I’m lovin’ it” ที่ดึงเอาอารมณ์ร่วมของคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมถึงการออกเมนูสุขภาพในช่วงที่คนทั่วไปเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องการบริโภคมากขึ้น

sa24

5. สร้างพันธมิตรที่ดีเพื่อมีสินค้าหลากหลายให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ

Ray Kroc เรียกสิ่งนี้ว่า “การขายข้าม” ซึ่งหมายถึงไม่จำเป็นที่ธุรกิจต้องยึดมั่นกับสินค้าที่ตัวเองมี การสร้างพันธมิตรดึงเอาสินค้าหลากหลายมาจัดจำหน่ายเพื่อให้ลูกค้าไม่รู้สึกว่าเป็นการผูกมัดที่ต้องสั่งสินค้าแค่เพียงประเภทเดียว

สิ่งนี้คือภาพลักษณ์ที่ทำให้คนอยากมาใช้บริการมากขึ้นแม้บางครั้งจะไม่ใช่การมาซื้อสินค้าหลักของธุรกิจก็ตาม ซึ่งสินค้าเหล่านี้ถ้าตกลงกันในเชิงธุรกิจอาจเพิ่มโลโก้ร่วมด้วยได้เช่นที่ McDonald’s มีโลโก้ในสินค้าหลายประเภททั้งเสื้อยืด รองเท้า กระเป๋า ปากกา เป็นต้น

sa29

6. ต้องเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับคนอื่นได้เป็นอย่างดี

เรื่องธุรกิจบริการที่มีคนหมุนเวียนเปลี่ยนเข้ามามากมายสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้คือการผ่อนปรนและแปรผันไปตามความต้องการนั้น

รวมถึงต้องรู้จักขออภัยสำหรับข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ การทำงานของ McDonald’s นี้กลายเป็นกรณีศึกษาของสมาชิกวุฒิสภาในอเมริกา ที่ขอเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการในการทำงานร่วมกับคนจำนวนมากโดยที่ทุกคนพึงพอใจ

นอกจากนี้ในระดับองค์กรเองทักษะการบริหารเป็นสิ่งสำคัญต้องรู้จักเลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน Ray Kroc กล่าวว่า “หากพนักงานไม่มีความสุขหรือไม่ถนัดกับสิ่งที่ทำ ก็ควรย้ายเขาไปในจุดที่เขาถนัดเพื่อให้องค์กรเดินหน้าได้อย่างมั่นคง”

sa25

7. การสร้างความภักดีต่อองค์กรคือกุญแจที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้เร็ว

จิตวิทยาในการบริหารคนขององค์กรเป็นเรื่องสำคัญมาก พนักงานของ McDonald’s ตั้งแต่ตำแหน่งผู้บริหารไปถึงพนักงานรายชั่วโมง ต้องมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กร วิธีการที่จะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้คือวิสัยทัศน์ในการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพ

การสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะทุกคนย่อมมุ่งหวังอยู่ในสถานที่ทำงานที่ดี เมื่อมีความภักดีเกิดขึ้น ย่อมทำให้การทำงานเดินหน้าได้เต็มที่มากขึ้น นั้นก็หมายถึงผลประกอบการของธุรกิจที่จะดีขึ้นตามลำดับด้วยเช่นกัน

sa30

8. รายได้ส่วนหนึ่งต้องคืนสู่สังคม

McDonald’s ได้ชื่อว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่มีการบริจาคเงินผ่านองค์กรการกุศลต่างๆมากมาย ทั้งมีการตั้งมูลนิธิในชื่อ “Ronald McDonald House” รวมถึงมีการให้ทุนการศึกษา และการจัดตั้งวิทยาลัยมูลนิธิขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ

งานการกุศลเหล่านี้ไม่ใช่การสร้างภาพลักษณ์แต่คือการแบ่งปันให้กับสังคมให้กับคนทุกคนที่อาจไม่เกี่ยวข้องให้รับในสิ่งที่ควรจะเป็นประโยชน์ ธุรกิจที่ดีต้องไม่คำนึงถึงแต่กำไรที่ตัวเองจะได้แต่ต้องมองถึงหน่วยทางสังคมที่ธุรกิจเองก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น

sa26

ในทุกประเด็นที่น่าสนใจเหล่านี้สะท้อนมุมมองด้านความคิดและหลักการบริหารของธุรกิจระดับโลก ซึ่งเป็นบทเรียนอันดีของธุรกิจไทยที่สามารถเอาหลักการนี้ส่วนใดส่วนหนึ่งมาใช้กับภาคธุรกิจตัวเอง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพเพื่อสินค้าแบรนด์ไทยๆ ก็จะมีโอกาสก้าวขึ้นไปสู่การเป็นแบรนด์ระดับโลกได้ง่ายมากขึ้นในอนาคต

ขอบคุณข้อมูลจาก https://goo.gl/4a9aHl 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด