หลักเกณฑ์ การคิดค่า Marketing Fee ในธุรกิจแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ในเมืองไทยนอกจากจะคิดค่าสิทธิ Royalty Fee ยังมี หลักเกณฑ์ การคิดค่าการตลาด (Marketing Fee/ Advertising Fee) หรือค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจจากแฟรนไชส์ซีเป็นรายเดือนอีกด้วย

ซึ่ง หลักเกณฑ์ การคิดค่า Marketing Fee ถือว่ามีความสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอย่างมาก เพราะเงินส่วนนี้แฟรนไชส์ซอร์จะนำไปใช้ในการพัฒนา พัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำการตลาด จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นยอดขายให้กับเครือข่ายแฟรนไชส์

ถ้าถามว่า Marketing Fee มีหลักเกณฑ์คิดและจัดเก็บอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ ซึ่งส่วนใหญ่ Marketing Fee จะเก็บเป็นรายเดือน ประมาณ 3-5% ของยอดขาย

หลักเกณฑ์

อย่างกรณีของแฟรนไชส์ร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” คิดค่า Royalty Fee 3% ของยอดขายรายเดือน และค่า Marketing Fee 3% ของยอดขายรายเดือน ส่วนค่า Franchise Fee อยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งค่าแฟรนไชส์ถือว่าไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับแบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟที่คนรู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยจำนวนสาขากว่า 3,500 สาขา

หลักเกณฑ์คิดค่า Marketing Fee

33

ค่าการตลาดเป็นค่าสิทธิอีกแบบที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายต่อเนื่องเหมือนค่า Royalty Fee การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ลูกค้าผู้บริโภครู้จักตราสินค้า (Brand) เป็นหัวใจของธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีคนสนใจอยากลงทุนและซื้อสินค้า ซึ่งคนที่เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซีของแบรนด์แฟรนไชส์สักยี่ห้อหนี่งก็เป็นผลงานจากการสร้างแบรนด์ และทำการตลาด ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และประโยชน์อย่างหนึ่งของการซื้อแฟรนไชส์ ก็คือ การตลาด การโฆษณา

รู้หรือไม่ว่า ทำไมร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ถึงมีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก จนมีสาขาเกือบ 13,000 สาขาทั่วประเทศ ก็เพราะบริษัทซีพีออล์สร้างแบรนด์ ทำการตลาด พัฒนาสินค้าและบริการ ทำโปรโมชั่น จนทำให้ 7-Eleven มีชื่อเสียง ลูกค้าเข้าใช้บริการไม่ขาดสาย ไม่มีสาขาแฟรนไชส์ไหนที่ลุกขึ้นมาลงโฆษณาและจัดโปรโมชั่นเองเลย

การโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะเน้นการตอกยํ้าแบรนด์ แม้ไม่ได้เอ่ยชื่อเสียงเรียงนามของแฟรนไชส์ซีใดๆ เลย แต่สาขาแฟรนไชส์ซีก็ขายได้ ลูกค้ารู้ช่วงเวลาโปรโมชั่น ทำให้แฟรนไชส์ซีทุกรายได้ประโยชน์เหมือนกันหมด

32

ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์เรียกเก็บ Marketing Fee เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายของเดือนเหมือน Royalty Fee บางแบรนด์แฟรนไชส์เก็บเหมาเป็นก้อนรายเดือน หรือรายปี ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ไหนที่ไม่ค่อยได้โฆษณาอาจเก็บเป็นครั้งๆ ก็ได้

แต่ถ้าเจอแฟรนไชส์ซีเบี้ยวไม่ยอมจ่าย หรือจ่ายช้าก็อาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่การเก็บค่า Marketing Fee จะส่งผลดีกับแฟรนไชส์ซีที่ค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มมากนัก เพราะไม่ได้โฆษณา ทำการตลาดด้วยงบของตัวเอง

31

อย่างไรก็ตาม การเก็บค่า Marketing Fee เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเหตุให้ทะเลาะกันได้ง่าย โดยเฉพาะตอนยอดขาย เกิดวิกฤติ ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์ควรเขียนให้ชัดในสัญญา อธิบายว่าทำไมต้องเก็บ Marketing Fee จะได้ไม่เข้าใจกันผิดทีหลัง

แต่ถ้าเขียนในสัญญาชัดแต่ยังเบี้ยว ก็เลิกสัญญาได้ ที่สำคัญเจ้าของแฟรนไชส์อธิบายให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เห็นถึงประโยชน์จากระบบสนับสนุนของเจ้าของแฟรนไชส์ ช่วยแก้ปัญหา และเพิ่มยอดขายให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้ได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

29

บริการของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ (Service of ThaiFranchiseCenter) คลิก https://bit.ly/3oYpocc

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3erljXX

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช