หลักการและวิธีการทำสัญญาแฟรนไชส์

ทุกคนที่คิดจะ ขายแฟรนไชส์ สิ่งแรกที่นึกถึงก็คือ อยากจะได้สัญญาแฟรนไชส์ เพื่อที่จะขายแฟรนไชส์ได้ทันที แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรและในสัญญาระหว่างกันนั้น ควรพูดถึงเรื่องอะไรกันบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้จะมีคำตอบ

แต่ก่อนอื่น สิ่งที่เราทำผิดกันเสมอก็คือ ความต้องการหาสัญญามาเซ็นต์ก่อน ก่อนที่จะมีระบบแฟรนไชส์เสียอีก ซึ่งที่จริงแล้วสัญญาจะเป็นเรื่องทีหลังสุดในการเตรียมระบบแฟรนไชส์ คุณควรมีระบบงานแล้ว มีคู่การทำธุรกิจเรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่ต้องการจะรู้ในเรื่องนี้เป็นจำนวนมากๆ www.ThaiSMEsCenter.com จึงให้ข้อแนะนำเป็นไกด์ไลน์เพื่อให้ผู้กำลังจะทำแฟรนไชส์อยู่หรือคิดว่าในอนาคต ใช้เป็นแนวทางของสัญญาแฟรนไชส์

ขายแฟรนไชส์

วิธีการทำสัญญา

หน้าที่สัญญา จะเป็นงานของนักกฎหมายทนายความเป็นคนทำ เป็นคนร่าง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะทราบดีกว่า ว่าเรื่องใด ข้อความใดในสัญญา ใช้บังคับตามกฎหมายได้ ข้อสัญญาใดบังคับไม่ได้ และทนายความแต่ละคนก็อาจจะมีประสบการณ์ ในการร่างสัญญาที่ถนัดกันคนละอย่าง

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ขายแฟรนไชส์ก็จะต้องเป็นผู้ให้แนวทางกับทนายความว่าต้องการให้สัญญาแฟรนไชส์ บังคับใช้ในเรื่องอะไรบ้าง แต่ปัญหาของทุกคนจะตอบเหมือนๆกัน คือ “ไม่ทราบเหมือนกันว่า ควรจะมีเรื่องอะไรอยู่ในสัญญา”

รูปแบบสัญญาแฟรนไชส์นี้เป็นข้อแนะนำจากทนายความของบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แมคแคนซี่ ที่จะนำมาปรับ และพูดถึงทีละประเด็น เพื่อช่วยให้มีความเข้าใจง่ายขึ้น

x1

การให้สิทธิ์

ในการขายแฟรนไชส์ คือการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งก่อนที่คุณจะทำสัญญาเรื่องแฟรนไชส์ คุณจะต้องคิดว่าคุณมีสิทธิ์ หรือทรัพย์สินใดบ้างที่จะต้องให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปด้วย เช่น

  • เครื่องหมายการค้า เป็นสิ่งที่แน่นอนที่คุณจะต้องมีข้อผูกพันที่จะต้องกล่าวถึงในสัญญาว่าคุณจะต้องอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ของคุณใช้เครื่องหมายโลโก้ของคุณ แค่ไหนและอย่างไร
  • ไลเซ่นส์ คือสิทธิประโยชน์ที่ใช้เป็นผลในทางการค้าได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ข้อมูลการค้า ที่ใช้เพื่อดำเนินธุรกิจนั้น คุณมีอยู่หรือไม่ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต้องพูดถึง และอนุญาตให้ใช้ไลเซ่นส์ที่คุณมี
  • ผลิตภัณฑ์ คุณอาจจะมีสินค้าที่ให้ผู้ซื้อของคุณเป็นผู้แทนจำหน่ายด้วย นี่ก็เป็นสิทธิ์อีกอย่างหนึ่งที่คุณจะต้องพูดถึงไว้ในสัญญา ว่าคุณจะให้แฟรนไชซี่ของคุณเป็นตัวแทนขายสินค้าของคุณในระดับใด

การแต่งตั้ง

คือการกำหนดอาณาเขต ที่คุณจะให้แก่แฟรนไชซี่ของคุณ ที่ในสัญญา ก็จะมีระบุว่า คุณจะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้รับสิทธิการดำเนินธุรกิจ สิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการขายสินค้า ในอาณาเขตใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร ซึ่งคุณต้องคิดก่อน และกำหนดเอาไว้ในสัญญา

x3

ประเภทของการได้รับสิทธิ์

ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ของคุณจะได้รับสิทธิ์รูปแบบไหน เป็นสิทธิ์ได้เพียงรายเดียวในประเทศไทย หรือได้สิทธิ์ในภูมิภาค หรือได้สิทธิ์จำกัดแค่ในห้าง เป็นต้น ซึ่งในสัญญาควรจะต้องมีการระบุว่าแฟรนไชส์รายนี้ ได้รับสิทธิ์เพียงผู้เดียวหรือไม่

เช่นในกรณีที่จะให้สิทธิ์ รายเดียวในภาคเหนือที่คลอบคลุม 10 จังหวัด คือเชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน ฯลฯ จะมีเงื่อนไขต่อไปตามที่จะตกลงกันเช่นไร

เช่น ผู้ที่ได้สิทธิ์รายเดียวอาจต้องมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้ได้ตามข้อที่ตกลงกัน ในระยะเวลาที่กำหนด ก็ยังมีที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ (ทำยอดขายไม่ได้ตามเป้า) ก็จะยกเลิกสัญญาได้ เช่นนี้ เป็นต้น

ข้อกำหนดเรื่องการเลือกสถานที่

โดยส่วนใหญ่แล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์บริษัทแม่มักมีส่วนในการช่วยเลือกสถานที่ ดังนั้นในสัญญาอาจจะมีการกำหนดไว้ในเรื่องนี้ว่า บริษัทแม่จะมีส่วนในการช่วยเลือกสถานที่หรือไม่อย่างไร

เนื่องจากผู้ขายแฟรนไชส์ที่ดีส่วนมากจะต้องไม่ทำให้ธุรกิจที่ตั้งขึ้นไม่ว่าจะเป็นของบริษัทแม่เอง หรือของบริษัทแฟรนไชส์ซีล้มเหลว จึงมักมีความประสงค์ ในการมีส่วนในการเลือกสถานที่ตั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจดำเนินกิจการไปได้

x4

การโฆษณาส่งเสริมการขาย

การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย เป็นอันดับหนึ่งที่สำคัญที่มักจะสับสนกันที่ควรจะมีการพูดถึงในสัญญา โดยระบุว่าใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมการขาย และการโฆษณา ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

จะมีค่าใช้จ่ายส่วนรวมในการโฆษณาหรือไม่อย่างไร หรือมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาท้องที่ของร้านแฟรนไชส์ซีหรือไม่ เป็นการระบุให้เข้าใจตรงกัน

ระเบียบในการดำเนินธุรกิจ

ในธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องมีการกำหนดระเบียบในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ดังนั้นในสัญญาอาจจะมีการระบุคือ ระเบียบที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติเอาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของ การให้ตรวจสอบการดำเนินงานร้าน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของร้าน เป็นต้น

x6

ข้อกำหนดในการเก็บรักษา/และการควบคุมคุณภาพ

เรื่องการกำหนดให้ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่ เป็นเรื่องที่มีปัญหาระหว่างกันเสมอ และในกฎหมายแฟรนไชส์ที่กำลังจะออกมาในเร็วๆนี้ ก็จะมีการกล่าวถึงในเรื่องนี้ด้วย ดังนั้นการทำสัญญาแฟรนไชส์ที่ระบุให้มีการซื้อสินค้าใด จะต้องอยู่ในขอบเขตเพื่อการคงรักษา

ตัวมาตรฐานและคุณภาพเท่านั้น จะกำหนดให้ซื้อจากบริษัทแม่ทุกอย่าง หรือปราศจากเหตุผลที่เหมาะสมจะไม่สามารถทำได้
แต่ท่านสามารถระบุในเรื่องของวิธีการเก็บรักษาสินค้า หรือเครื่องมืออุปกรณ์

เพื่อช่วยในการรักษามาตรฐานด้วยได้ ส่วนการควบคุมคุณภาพนั้นมักจะมีอยู่ในคู่มือ ซึ่งข้อกำหนดของสัญญาเรื่องนี้ มักจะสอดคล้องกับแนวทางของการควบคุมคุณภาพต่างๆ ที่อยู่ในคู่มือ

การเลือกพนักงานและการอบรม

แน่นอนที่สุด การทำระบบแฟรนไชส์ จะต้องมีหน้าที่ในการฝึกฝนบุคลากร จนกระทั่งสามารถดำเนินธุรกิจเหมือนกับบริษัทแม่ได้ ดังนั้น ในสัญญาจะต้องมีการระบุถึงเรื่องนี้ว่า ใครจะเป็นผู้คัดเลือกพนักงาน กำหนดระยะเวลาของการฝึกฝน และความช่วยเหลือ ว่าจะมีอย่างไร และระยะเวลายาวนานเพียงใด ไม่เช่นนั้นแล้วจะมีกรณีพิพาทเกิดขึ้น ถึงความไม่ชัดเจนในเรื่องนี้

อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับแฟรนไชส์ คลิก goo.gl/suJ39t
หรือสนใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ คลิก goo.gl/AIWqK8

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2V3kxGI

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช