ส่อง Saudi Aramco บริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก

เพจลงทุนแมนเคยนำเสนอบทความ “Saudi Aramco บริษัทที่จะใหญ่ที่สุดในโลก” เชื่อว่าหากใครไม่ได้อ่านอย่างละเอียด ก็คงจะไม่รู้ว่า Saudi Aramco คืออะไร

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอนำบทความดังกล่าว มาเล่าต่อให้คุณผู้อ่านที่ยังไม่เคยรู้ ได้ฟังอีกครั้งครับ ว่าบริษัทดังกล่าวทำธุรกิจอะไร ขนาดของบริษัทใหญ่แค่ไหน มาดูกันเลย

Saudi Aramco คืออะไร

7

ภาพจาก goo.gl/rMMch2

Saudi Aramco คือ บริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศซาอุดิอาระเบีย สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Dhahran ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ ประกอบธุรกิจด้านปิโตรเลียมอย่างครบวงจร

ทั้งการสำรวจและผลิตน้ำมันดิบ โรงกลั่นน้ำมัน ไปจนถึงธุรกิจปลายน้ำอย่างปิโตรเคมี โดยรายได้หลักของบริษัทก็มาจากการจำหน่ายน้ำมันไปทั่วโลก ทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ

Saudi Aramco ผลิตน้ำมันดิบได้กว่า 10 ล้านบาร์เรล/วัน เป็นบริษัทฯที่ผลิตได้สูงที่สุดในโลก (PTTEP ผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 0.1 ล้านบาร์เรล/วัน เพราะสัดส่วนการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นก๊าซธรรมชาติมากกว่า)

หากนับรวมโรงกลั่นต่างๆ ที่ไปร่วมลงทุนไว้ทั่วโลกแล้ว บริษัทมีกำลังการกลั่นน้ำมันสูงถึง 5.4 ล้านบาร์เรล/วัน (ในประเทศไทย โรงกลั่นที่มีกำลังการกลั่นสูงสุดคือไทยออยล์ ที่มีเพียง 0.275 ล้านบาร์เรล/วัน)

บริษัทนี้มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติเหลว สูงถึง 260,800 ล้านบาร์เรล (ณ สิ้นปี 2558 ประเทศไทยมี 396.36 ล้านบาร์เรล)

ที่สำคัญกว่านี้ คือ Saudi Aramco นั้นได้ประกาศแผนที่จะ IPO หุ้นจำนวน 5% ของหุ้นทั้งหมดในช่วงกลางถึงปลายปี 2018 โดยในปัจจุบันได้แต่งตั้ง Underwriter เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ J.P. Morgan, Morgan Stanley และ HSBC รวมถึงมีแนวโน้มว่าจะเข้า Listed มากกว่า 1 ตลาด (dual listing) นอกเหนือจากตลาดหุ้น Tadawul ในประเทศซาอุฯ โดยอาจจะเป็นตลาดหุ้นในสหรัฐ (NYSE) หรือ อังกฤษ (LSE)

Saudi Aramco ใหญ่ขนาดไหน

2

ภาพจาก goo.gl/1kbM76

บรรดานักวิเคราะห์และผู้บริหารของบริษัทชั้นนำของโลก คาดการณ์ในเบื้องต้นว่า Saudi Aramco จะมีมูลค่าสูงถึง $2,000 Billion (หรือ 66 ล้านล้านบาท) ใหญ่เป็น 2.4 เท่า ของบริษัท APPLE และจะเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีมูลค่าเกิน $1 Trillion หรือ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ส่งผลให้แม้การ IPO นี้จะขายหุ้นออกมาสู่สาธารณชนเพียงแค่ 5% ของหุ้นทั้งหมด แต่ก็จะคิดเป็นมูลค่าสูงถึง $100 Billion ซึ่งเพียงพอที่จะทุบสถิติ IPO ของ Alibaba แบบขาดลอย (ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า)

พูดง่ายๆ ว่า ขนาดของ Saudi Aramco จะเท่ากับบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน 3 อันดับแรกรวมกัน คือ

  1. Apple มี market cap $847 Billion
  2. Alphabet (Google) มี market cap $654 Billion
  3. Microsoft มี market cap $570 Billion

(รวมกัน 3 บริษัท เท่ากับ $2,071 Billion)

Saudi Aramco เกิดจากความสัมพันธ์อเมริกา

3

ภาพจาก goo.gl/RhMRLM

ซาอุดีอาระเบียตอนที่รวมประเทศได้ในปี 1932 ซาอุดีอาระเบียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ยากจน แต่ก็เหมือนพระเจ้าประทานพร หลังจากนั้นไม่นานได้มีการค้นพบแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่

ต่อมาในปี 1933 เดือนพฤษภาคม เกิดการร่วมมือกันระหว่าง อเมริกา กับ ซาอุดิอาระเบีย ได้มีการลงนามครั้งแรกระหว่างทั้งสองประเทศ Standard Oil of California (SOCAL ) ได้มีการเสาะหาน้ำมัน ในการส่งไปขับเคลื่อนประเทศอเมริกาตามแนวคิด “น้ำมันคือลมหายใจของอำนาจ” ภายใต้ชื่อ บริษัท California-Arabian Standard Oil Co.

วันที่ 31 มกราคม ปี 1944 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก California-Arabian Standard Oil Co. เป็น Arabian American Oil Co. (หรือ Aramco) ถือหุ้นโดย Standard Oil of California, EXXON, Mobil และ Texaco โดยรัฐบาลเพิ่งจะมาเจรจาขอซื้อหุ้นครั้งแรก 25% ในปี 1973 ช่วง World Oil Crises และซื้อหุ้นทั้งหมดในปี 1980

ตลอดเวลาที่พัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน ซาอุดีอาระเบียใช้นโยบายเปิดรับทั้งเงินลงทุน ทั้งเทคโนโลยีการขุดเจาะ การผลิตจากต่างประเทศตลอดมา ทำให้มีการพัฒนาทุกด้านได้เป็นอย่างดี

4

ภาพจาก goo.gl/8xc5Z2

ถึงแม้ในบางครั้งอาจมีนโยบายขู่เรื่อง Nationalize บ้างเป็นบางคราว (เช่น เมื่อปี 1950 เพื่อขอขึ้นค่าภาคหลวงเป็น 50%) แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ได้เอารัดเอาเปรียบเอกชนต่างชาติจนเกินไป ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับทุนได้ดีตามควร

ผลของการพัฒนาตามนโยบายนี้ ทำให้ซาอุดีอาระเบีย สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่พระเจ้าให้มาอย่างเต็มที่ สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน จากวันละ 1.2 ล้านบาร์เรลในปี 1960 เป็น 10 ล้านในปี 1980 คงปริมาณมาทุกวันนี้

เห็นหรือยังว่า Saudi Aramco ใหญ่มากๆ สาเหตุที่ต้องขาย IPO ในปีหน้า จากคำพูดของเจ้าชาย Muhammad bin Salman ของซาอุฯ ทำให้รู้ว่า การขายหุ้นน่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งตัวบริษัท 1และเศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย รวมถึงช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นของบริษัทด้วย

ที่สำคัญตอนนี้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย กำลังเผชิญปัญหาอย่างหนักจากราคาน้ำมันโลกที่ตกลงมาก การขายหุ้น IPO เพื่อระดมเงินสดเข้าประเทศ อาจเป็นวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งเช่นกัน ซึ่งแน่นอนต้องจับตาดูว่า บริษัทเอกชนจากอเมริกาจะเข้ามามีเอี่ยวหรือไม่ หรือกลุ่มประเทศเอเชียจะได้มีส่วนร่วมมากกว่า หลังจากกษัตริย์ซาอุฯ เดินทางมาเอเชีย

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php

อ้างอิงข้อมูลบางส่วน http://longtunman.com/1915 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช