ส่อง! แบรนด์แฟรนไชส์อาหารอาณาจักร CRG

บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (Central Restaurants Group: CRG) ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 ในฐานะที่เป็นผู้รับสิทธิ (Franchisee) ที่มีความชำนาญ

ด้วยการนำมิสเตอร์ โดนัท (Mister Donut) เข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทย ภายใต้การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ ส่งผลให้มิสเตอร์ โดนัท ครองความเป็นผู้นำตลาดโดนัท

หลังจากประสบความสำเร็จจากมิสเตอร์ โดนัทแล้วเครือ CRG ได้มีการขยายธุรกิจอาหารหลากหลายแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้บริโภค

อาทิ เคเอฟซี (KFC), อานตี้ แอนส์ (Auntie Anne’s), เปปเปอร์ ลันช์ (Pepper Lunch), ชาบูตง (Chabuton), โคล สโตน ครีมเมอรี่ (Cold Stone Creamery), เดอะเทอเรส (The Terrace), โยชิโนยะ (Yoshinoya), โอโตยะ (Ootoya), เทนยะ (Tenya), คัตสึยะ (Katsuya) และ เฟซท์พรีเมียมไอศกรีม (Fezt Premium Ice Cream)

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณส่องแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์อาหาร และอีก 1 แบรนด์ไอศกรีมของเครือ CRG ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

1.มิสเตอร์ โดนัท (Mister Donut)

เรสตอรองส์

ภาพจาก https://bit.ly/2IkFYiz

เครือ CRG นำเข้าแบรนด์ มิสเตอร์ โดนัท จากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้บริษัท ไทยแฟรนไชซิ่ง จำกัด โดยมีสาขาแรกที่สยามสแควร์ พร้อมกับมีบริการกาแฟ ทำให้คนไทยหันมานิยมรับประทานโดนัทกันมากขึ้น

จากนั้นในปี พ.ศ.2546 มิสเตอร์ โดนัท ได้เข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารงานของ CRG พร้อมกับสร้าง “จุดขาย” ผลิตโดนัทแบบครัวเปิด เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกตื่นเต้น พร้อมกับมีโดนัทรสชาติและดีไซน์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอยู่เสมอ ปัจจุบันมี 350 สาขา และมีส่วนแบ่งในตลาดโดนัทเมืองไทย 60% จากมูลค่าตลาด 3,500 ล้านบาท

2. เคเอฟซี (KFC)

2

ภาพจาก https://bit.ly/2GiHAXz

KFC มีบริษัทแม่อยู่ที่อเมริกา ชื่อว่า Yum! Brands Inc. และต้องบอกว่าผู้ที่ช่วยให้ KFC เป็นแบรนด์ที่ทรงพลังในตลาดไก่ทอดเมืองไทยก็คือกลุ่ม CRG ที่ตัดสินใจขอซื้อแฟรนไชส์จากบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์

โดยเปิดสาขาแรกที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าวในปี พ.ศ.2527 โดยในอดีตนั้นธุรกิจของ KFC ก็ถูกขับเคลื่อนแค่ 2 บริษัทนี้ คือบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ และ CRG แต่แล้วเมื่อ Yum Brands, Inc มีนโยบายพยายามลดการบริหารร้านอาหารที่มีอยู่ในมือตัวเองทั่วโลก พร้อมกับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ดูแลระบบแฟรนไชส์อย่างเต็มตัว

ทำให้บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ จึงได้ขายสาขาที่เหลือในมือตัวเองทั้งหมดให้แก่ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ต่อมาก็ขายให้แก่ไทยเบฟเวอเรจ จนปัจจุบัน บริษัทยัม เรสเทอรองตส์ ไม่มีสาขา KFC อยู่ในมือ ปัจจุบันกลุ่ม CRG ก็ยังมีสาขา KFC มากที่สุดในบรรดา 3 แฟรนไชส์ โดยมี KFC ถึง 257 สาขาทั่วประเทศ

3.อานตี้ แอนส์ (Auntie Anne’s)

3

ภาพจาก https://bit.ly/2G8iF7P

ปัจจุบัน Auntie Anne’s ขนมซอฟต์เพรทเซลที่กำเนิดเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกโดยมีสาขามากกว่า 1,700 แห่งใน 25 ประเทศทั่วโลก หนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทย ที่กลุ่ม CRG ซื้อแฟรนไชส์มาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว

โดยซื้อมาจาก (แอน ไบเลอร์) ในรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา โดยเปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว ปัจจุบัน CRG ได้ขยายสาขาไปทั่วประเทศ 162 สาขา พร้อมกับเพิ่ง REFRESH Brand “Auntie Anne’s” ในไทยให้ดูสดใสทั้งในเเง่ของเเบรนด์ที่ให้ความรู้สึกที่เด็กลง “สลัดภาพป้าเเอนสู่ น้องเเอนนี่ อย่างเต็มตัว” รวมถึงเมนูใหม่ที่ถูกพัฒนาให้ถูกใจคนไทยมากขึ้น

4.เปปเปอร์ ลันช์ (Pepper Lunch)

4

ภาพจาก https://bit.ly/2PdSKjv

เป็นแฟรนไชส์ร้านอาหาร “สเต๊กจานด่วน” ที่ได้รับความนิยมในเขตโตเกียว ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 200 แห่งในญี่ปุ่น โดยมีการขายแฟรนไชส์ไปยังประเทศในแถบเอเชีย อาทิ เกาหลี จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย

โดยจุดขายของ Pepper Lunch คือการเสิร์ฟทุกเมนูในร้านบนจานร้อนอุณหภูมิสูงถึง 260 องศา พร้อมกับมีส่วนผสมของพริกไทยทุกจาน ให้ลูกค้าคลุกปรุงรสพร้อมรับประทานสร้างความสนุก

จนไปเตะตาต้องใจผู้บริหาร CRG ที่ไปพบเจอโดยบังเอิญกับความแปลกใหม่ ทำให้มีการติดต่อซื้อแฟรนไชส์ในปี พ.ศ.2550 พร้อมกับขยายสาขา 39 สาขาในเมืองไทยผ่านพื้นที่ศูนย์การค้า

5.ชาบูตง (Chabuton)

5

ภาพจาก https://bit.ly/2UvCX5q

ชาบูตง ราเมนต้นตำรับจากญี่ปุ่น โดยเกิดจากสุดยอดเชฟราเมน ยาสุจิ โมริซึมิ จากรายการทีวีแชมเปี้ยน ซึ่งนอกจากจะมีรางวัลชนะเลิศจากรายการทีวีแชมเปี้ยนเป็นเครื่องการันตีความอร่อย ความโด่งดังของชาบูตงนี้เองที่ทำให้กลุ่ม CRG สนใจและเริ่มติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์เมื่อ 8 ปีที่แล้ว วางตำแหน่งเป็นร้านราเมนระดับพรีเมียม ราคาต่อชามเฉลี่ยอยู่ที่ 200 บาทขึ้นไป

ด้วยราคาขายที่แพงกว่าราเมนเจ้าอื่นๆ อีกทั้งตลาดราเมนในเมืองไทยไม่ได้มีมูลค่ามหาศาล หากเทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่นใน Segment อื่นๆ ทำให้กลุ่ม CRG ไม่ได้เร่งการขยายสาขามากนักโดยปัจจุบันมี 17 สาขาทั่วประเทศ

6.โคล สโตน ครีมเมอรี่ (Cold Stone Creamery)

6

ภาพจาก https://bit.ly/2KEkLlE

ร้านไอศกรีมสัญชาติอเมริกันโดยวางตัวเองเป็น “ไอศกรีม พรีเมียม” มีจุดขายคือทำจากไขมันนม 12-14% เปิดบริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 โดยมีสาขาที่เปิดให้บริการอยู่มากกว่า 1,400 สาขา ถือเป็นร้านไอศกรีมที่ขายดีที่สุดติดอันดับหกในสหรัฐอเมริกา

โดย CRG นำเข้ามาเปิดตลาดตั้งแต่ปี 2553 เปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งได้วางจุดยืนให้ Cold Stone เป็นไอศกรีมระดับ Super Premium แต่แล้วก็ได้เรียนรู้ว่าการจะขายไอศกรีมราคาแพงในเศรษฐกิจยุคนี้ ถือเป็นเรื่องที่ยาก

Cold Stone ต้องเปลี่ยนเกมใหม่หมด จากเดิมคือ Super Premium มาขอขายไอศกรีมในราคา Mass ปรับราคาเริ่มต้นเป็น 55 บาท จากแต่เดิมเริ่มต้น 129 บาท ปัจจุบัน Cold Stone มี 18 สาขาในเมืองไทย ตั้งเป้าหมาย 5 ปีข้างหน้ามีถึง 50 สาขา

7.เดอะ เทอเรส (The Terrace)

7

ภาพจาก https://bit.ly/2UwXUgb

THE TERRACE เป็นร้านอาหารไทยที่เปิดให้บริการในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลมานานกว่า 30 ปี โดยมีเป้าหมายในเวลานั้นคือ ตอบสนองลูกค้าที่มาช้อปปิ้งในศูนย์การค้าเซ็นทรัลที่เมื่อ 30 ปีที่แล้วไม่ได้มีร้านอาหารมากนักในศูนย์การค้า

และด้วยการเป็นแบรนด์ร้านอาหารไทยที่อยู่มานานกว่า 30 ปี ทำให้กลุ่ม CRG มองว่า Brand ตัวเองดูเป็นคนอายุมาก ในขณะที่ลูกค้าที่เดินศูนย์การค้าเซ็นทรัลนั้นเป็นกลุ่ม Gen Y

หรือพูดง่ายๆ ลูกค้าดูเด็กกว่าแบรนด์นั่นเอง ทำให้ในช่วง 2 ปีที่แล้วมีการ รีเฟรช แบรนด์ให้ดูสดใหม่พร้อมกับปรับแต่งบรรยากาศร้านให้ดูทันสมัย ขยายฐานลูกค้าจากเดิมที่ร้านจะมีกลุ่มเป้าหมายครอบครัวอายุ 35-45 ปี ไปยังกลุ่มวัยเริ่มทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ปัจจุบัน THE TERRACE มี 15 สาขา

8.โยชิโนยะ (Yoshinoya)

8

ภาพจาก https://bit.ly/2P4P2IE

Yoshinoya เปิดร้านครั้งแรกในปี 1899 ที่ตลาดปลานิชิบาชิในโตเกียว โดยใช้ 3 ทริคการตลาดที่มัดใจชาวญี่ปุ่นได้อยู่หมัดก็คือ “รสชาติดี ราคาถูก ทำไว” มีเมนูที่สร้างชื่อให้แก่ตัวเอง ก็คือ “ข้าวหน้าเนื้อ” ราคาขายแสนถูกในเวลานั้นคือ 280 เยน

ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 1,700 สาขาทั่วโลกแล้ว CRG ได้ซื้อแฟรนไชส์ Yoshinoya ในช่วง พ.ศ.2554 โดยเปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว ปัจจุบันมี 20 สาขา

9. โอโตยะ (Ootoya)

9

ภาพจาก https://bit.ly/2UCgmUV

ด้วยแนวคิดการจะนำอาหารที่ทำรับประทานกันเองในครอบครัวญี่ปุ่นมาอยู่ในรูปแบบภัตตาคาร ซึ่งถือเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ในวงการอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทย ทำให้ถูกอกถูกใจผู้บริหาร CRG จึงตัดสินใจใช้เงินมากกว่า 720 ล้านบาทในการซื้อกิจการ Ootoya 33 สาขาในประเทศไทย และยังได้สิทธิการขยายสาขาในประเทศเอเชีย จีน, มาเลเซีย, เวียดนาม

อย่างไรก็ตาม Ootoya ขายสาขาเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสาขาที่อยู่ในญี่ปุ่นที่มีมากกว่า 300 สาขา โดยปัจจุบัน Ootoya มี 43 สาขาทั่วประเทศไทย

10. คัตสึยะ (KATSUYA)

10

ภาพจาก https://bit.ly/2Z8LWYH

ร้านหมูทอดต้นตำรับจากประเทศญี่ปุ่น โดยเปิดสาขาแรกที่เมืองคานางาวะในปี พ.ศ. 2541 จนกระทั่งปัจจุบันขยายสาขามากกว่า 300 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น

โดย CRG ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ในปี 2557 โดยมีจุดขายคือเป็นอาหารจานด่วนมีราคาขายเข้าถึงง่ายโดยมีเมนูราคาเริ่มต้น 29 บาทปัจจุบันมี 24 สาขาทั่วประเทศ

11. เทนยะ (Tenya)

11

ภาพจาก https://bit.ly/2D9R2KV

เปิดบริการในญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 โดยมีอยู่หลายเมนูที่จะมีกุ้งเทมปุระเป็นทั้งพระเอกและพระรองใน 1 จาน เป็นการสร้างจุดขายที่แตกต่างให้แก่ตัวเอง ปัจจุบันมีเกือบๆ 200 สาขาในประเทศญี่ปุ่น

สิ่งที่ทำให้ Tenya ประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้แตกต่างจากร้าน Yoshinoya นั่นคือ เป็นอาหารจานเดียว, ราคาเข้าถึงง่าย โดย CRG นำเข้ามาเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว โดยเปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัล บางนา ปัจจุบันมี 8 สาขา

12. เฟซท์พรีเมียมไอศกรีม (Fezt Premium Ice Cream)

12

ภาพจาก https://bit.ly/2UwZT47

FEZT PREMIUM ICE CREAM เฟซท์ไอศกรีมพรีเมี่ยมน้องใหม่ตรงใจทุกคำในเครือ CRG เพราะเฟซท์ไอศกรีมเนื้อแน่น เข้มข้น และด้วยความพร้อมด้านการพัฒนารสชาติกับส่วนผสมชั้นดี ที่ผ่านการคัดสรรวัตถุดิบให้ส่วนผสมทุกคำในเนื้อไอศกรีมชิ้นใหญ่เต็มคำ ได้ลองชิมคำเดียวก็ติดใจ

ทั้งหมดเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารในเครือ CRG ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้บริโภคคนไทย อีกทั้งเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย มีความได้เปรียบคู่แข่งแฟรนไชส์ร้านอาหารอื่นๆ ด้วยทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่ในห้างสรรสินค้าเครือ “เซ็นทรัล” ถือเป็นกลยุทธ์การขยายสาขาแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

แต่ทั้งนี้ความสำเร็จดังกล่าว อาจยังไม่ใช่หลักประกันที่ยั่งยืนในอนาคต เพราะนอกจากจะต้องต่อกรกับผู้ประกอบการรายเดิมๆ ที่กำลังขยับขยายองคาพยพช่วงชิงพื้นที่และนำเสนอรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ แล้ว ยังปรากฏมีผู้ประกอบการหน้าใหม่ๆ ที่พร้อมจะกระโดดเข้ามาร่วมเบียดแทรกตัวเข้ามาแข่งขันชิงชัยในตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลนี้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://bit.ly/2FMrZOq
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน https://bit.ly/2Jatqq2

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jmfnTM

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช