ส่องอาณาจักร ไมเนอร์ฯ กรุ๊ป

ในบรรดาเศรษฐีไทยที่เคยติดอันดับ 40 มหาเศรษฐี คนหนึ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะเขาไม่ใช่คนไทย แถมมีหน้าตาเป็นฝรั่งแท้ๆ มีเส้นทางการเติบโตด้วยมันสมองและสองมือเปล่า

นั่นก็คือ “วิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค” ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ (MINT) เป็นหนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจสันทนาการ ที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เรียกได้ว่าปัจจุบันเป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจมากมาย ตั้งแต่ธุรกิจอาหาร โรงแรม เสื้อผ้าอีกสารพัดธุรกิจ แล้วรู้หรือไม่ว่า อาณาจักร ไมเนอร์ฯ กรุ๊ป มีรายได้มากเท่าไหร่ ทำธุรกิจอะไรบ้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้คุณผู้อ่านได้รับทราบ

ธุรกิจในเครือไมเนอร์ อินเตอร์ฯ

ส่องอาณาจักร

ภาพจาก goo.gl/zrPXoQ

บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (“MINT”) ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากที่มีรีสอร์ทเพียงหนึ่งแห่งที่พัทยาในปี 2521 จนปัจจุบัน MINT กลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจพักผ่อนและสันทนาการที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

ประกอบด้วยโรงแรมและรีสอร์ทกว่า 160 แห่ง ร้านอาหารกว่า 2,000 สาขา และมีจุดจำหน่ายสินค้ากว่า 400 แห่ง ในประเทศไทย และอีก 40 ประเทศ ครอบคลุมจากทวีปแอฟริกาถึงออสเตรเลีย รวมทั้งอเมริกาใต้และยุโรป

MINT เป็นเจ้าโรงแรมภายใต้เครื่องหมายการค้า อาทิ อนันตรา, อวานี, โอ๊คส์, ทิโวลี, เอเลวาน่า คอลเลคชั่น, โฟร์ซีซั่นส์, เจ ดับบลิว แมริออท, เซ็นต์ รีจีส, เรดิสัน บลู และโรงแรมในกลุ่มไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

ปัจจุบัน MINT มีธุรกิจโรงแรมและสปา ใน 26 ประเทศในเอเชียแปซิฟิค ตะวันออกกลาง แอฟริกา คาบสมุทรอินเดีย ยุโรป และอเมริกาใต้ ยิ่งไปกว่านั้น MINT ยังเป็นผู้ประกอบการธุรกิจศูนย์การค้าและบันเทิง, ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และโครงการพักผ่อนแบบปันส่วนเวลา

นอกจากนี้ MINT เป็นหนึ่งในผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีจุดจำหน่ายสินค้ามากกว่า 400 แห่ง ทั้งเสื้อผ้าแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ โดยเครื่องหมายการค้าที่ MINT เป็นผู้จัดจำหน่าย ได้แก่ แก๊ป, เอสปรี, บอสสินี่, บานาน่า รีพับบลิค, บรูคส์ บราเธอร์ส, โอวีเอส, เอแตม, แรทลีย์, อเนลโล่, ชาร์ล แอนด์ คีธ, เพโดร, สวิลลิ่ง เจ.เอ. เฮ็งเคิลส์, โจเซฟ โจเซฟ และ ไมเนอร์ สมาร์ท คิดส์ นอกจากนี้ MINT ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า โดยมีโรงงานเป็นของตัวเอง

ธุรกิจในเครือไมเนอร์ ฟู้ด

m1

บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทในเครือของ MINT เป็นผู้นำในธุรกิจร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย โดยมีร้านอาหารมากกว่า 2,064 สาขา ใน 20 ประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้า เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, ไทย เอ็กซ์เพรส, เดอะ คอฟฟี่ คลับ, ริเวอร์ไซด์, เบร็ดทอล์ค, สเวนเซ่นส์, ซิซซ์เลอร์, แดรี่ควีน, เบอร์เกอร์ คิง และเอส เอส พี

จำนวนสาขาแบรนด์อาหารภายใต้การบริหารของไมเนอร์ ฟู้ดฯ ในประเทศไทยดังนี้

  1. The Pizza Company จำนวน 330 สาขา
  2. เดอะ คอฟฟี่ คลับ จำนวน 31 สาขา
  3. เบร็ดทอล์ค จำนวน 15 สาขา
  4. สเวนเซ่นส์ จำนวน 280 สาขา
  5. แดรี่ ควีน จำนวน 435 สาขา
  6. ซิซซ์เลอร์ จำนวน 74 สาขา
  7. เบอร์เกอร์ คิง จำนวน 80 สาขา
  8. เบนิฮานา จำนวน 3 สาขา

กลุ่มธุรกิจอาหารในเครือ Minor Group มีสาขาทั้งในและต่างประเทศรวมกันไม่ต่ำกว่า 2,064 สาขา ในจำนวนนี้เป็นตลาดในประเทศไทย 1,341 สาขา (แบ่งเป็นร้านอาหารที่ Minor Food ลงทุนเอง 866 สาขา / สาขาแฟรนไชส์ 475 สาขา)

โดยกว่าจะมาเป็นเดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ในวันนี้ บริษัทฯ ได้ก่อร่างสร้างเค้าโครงขึ้นในราวปี 2518 จากการเปิดสาขาแฟรนไชส์มิสเตอร์โดนัทแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย แต่ธุรกิจที่จุดชนวนให้เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป เติบใหญ่ขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว ก็คือ ธุรกิจร้านพิซซ่าจานด่วน

ที่ “บิล” หรือ “วิลเลี่ยม อี.ไฮเนคกี้” แม่ทัพใหญ่แห่งเดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป ผู้ชื่นชอบการทานพิซซ่า ใช้เงินเพียง 5,000 เหรียญสหรัฐ ซื้อลิขสิทธิ์ “พิซซ่า ฮัท” มาจากเป๊ปซี่โคฯ เพื่อปั้นเป็นธุรกิจดาวรุ่ง

ปี 2523 พิซซ่า ฮัท เปิดสาขาแรกขึ้นที่พัทยา แบบค้านความรู้สึกคนท้องถิ่นว่าธุรกิจในลักษณะนี้ไปรอดได้ยาก แต่เขาสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงโอกาสทางการตลาด ด้วยความสำเร็จของจำนวนสาขาร้านพิซซ่า ฮัท ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 100 สาขาภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด

ภายหลังขยับฐานะขึ้นเป็น บมจ.เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ก่อนจะเกิดกรณีพิพาทในช่วงปี 2543 กับไทรคอน เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ร้านพิซซ่า ฮัท ต่อจากเป๊ปซี่-โคล่า

กระทั่งกลายเป็นสาเหตุของการสร้างแบรนด์พิซซ่าถาดใหม่ในชื่อของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี พิซซ่าสัญชาติไทย ที่กลายมาเป็นคู่ต่อกรกับพิซซ่าแบรนด์ระดับโลกอย่างพิซซ่า ฮัท เรียกได้ว่าสงครามพิซซ่าร้อนระอุทุกองศาตั้งแต่บัดนั้นมา

ไมเนอร์ ฟู้ด แตกไลน์ผลิตไอศกรีมและซีส

j1

ภาพจาก goo.gl/JgvI4A

ไมเนอร์ ฟู้ด ยังลงทุนก่อตั้งโรงงานผลิตไอศกรีม และโรงงานผลิตชีสคุณภาพสูงที่จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2534 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ และอำนวยความสะดวกในการบริหารสินค้าคงคลัง ตลอดจนรองรับความต้องการของลูกค้าภายนอก ประกอบด้วย

1.บริษัท ไมเนอร์ แดรี่ ลิมิเต็ด (“MDL”)

gg1

ภาพจาก goo.gl/pKgHcE

MDL ผลิตไอศกรีมคุณภาพพรีเมี่ยม พร้อมทั้งไอศกรีมท๊อปปิ้งส์นานาชนิด ขายให้ทั้งร้านในกลุ่ม ไมเนอร์ ฟู้ด ทั้งสเวนเซ่นส์ แดรี่ ควีน เบอร์เกอร์ คิง ตลอดจนลูกค้าชั้นนำรายอื่นๆ นอกกลุ่ม

2. บริษัท ไมเนอร์ ชีส ลิมิเต็ด (MCL)

gg2

ภาพจาก goo.gl/guamyF

MCL ผลิตชีสนานาชนิด ทั้ง มอสซาเรลล่า เชดดาร์ ชีสเส้น พาร์เมซาน มารส์คาร์โปน ครีมชีส และซาวครีม ซึ่งนอกจากจัดส่งชีสให้เป็นวัตถุดิบของร้านอาหารในเครือ ไมเนอร์ ฟู้ด แล้ว MCL ยังเป็นผู้ผลิตชีสรายสำคัญของบริษัทอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

รายได้ของบริษัทในเครือ ไมเนอร์ฯ

1.บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (“MINT”) (ธุรกิจโรงแรมและจัดจำหน่าย)

  • ปี 2559 รายได้ 4,175 ล้านบาท กำไร 1,852 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 4,151 ล้านบาท กำไร 1,973 ล้านบาท

กรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย นายวิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค, นายพอล ชาลีส์ เคนนี่, นายอานิล ธาดานี่, นายจอห์น สก๊อต ไฮเน็ค, คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม, นายเอ็มมานูเอล จู๊ด ดิลิปรัจ ราชากาเรีย, นายธีรพงศ์ จันศิริ, นางสาวสุวภา เจริญยิ่ง, นายจรัมพร โชติกเสถียร, นายเอ็ดเวิร์ด คีธ ฮูเบนเน็ท, นายนิติ โอสถานุเคราะห์

2.บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ร้านอาหาร)

  • ปี 2559 รายได้ 5,312 ล้านบาท กำไร 618 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 5,370 ล้านบาท กำไร 361 ล้านบาท

กรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย นายวิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค, นายพอล ชาลีส์ เคนนี่, นางปัทมาวลัย รัตนพล, นายจอห์น สก๊อต ไฮเน็ค, นางกัญญา เรืองประทีปแสง

ปัจจุบันถือเป็นผู้นำในธุรกิจเพื่อการพักผ่อน ร้านอาหาร และสินค้าไลฟ์สไตล์ ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ ที่สร้างความพึงพอใจ 100% ให้กับลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น และคู่ค้า

ไมเนอร์ฯ มีความพร้อมในการสร้างการเติบโตของธุรกิจให้ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น และครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลกว่าเดิม ตามแผนกลยุทธ์ 5 ปี บริษัทมีเป้าหมายที่จะสร้างอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีของผลกำไร ในอัตราร้อยละ 15 – 20 ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยบริษัทจะผลักดันการเติบโตของธุรกิจผ่านเครือข่ายแบรนด์ที่หลากหลาย

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/BBJnhn

แหล่งข้อมูล www.minorinternational.com , goo.gl/Ljo3qi

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2KJI3af

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช