สำรวจ! ตลาดแฟรนไชส์ อาเซียน 2017

ต้องยอมรับว่าธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง สามารถทำให้คนธรรมดาเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ และส่งเสริม GDP ให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่ง จึงไม่แปลกที่ในแต่ละประเทศทั่วโลกหันมาให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงอยากนำท่านไปสำรวจสถานการณ์ และ ตลาดแฟรนไชส์ ในกลุ่มประเทศอาเซียนปี 2017 ว่ามีแนวโน้มการเจริญเติบโตอย่างไรบ้าง ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทไหนที่ได้รับความนิยมมากในแต่ละประเทศ และเป็นแฟรนไชส์ที่สร้างมูลค่า สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้แต่ละประเทศ มาดูกันเลยครับ

1.แฟรนไชส์ในประเทศมาเลเซีย มีการเติบโตอย่างมั่นคง

ตลาดแฟรนไชส์

ภาพจาก https://goo.gl/XWFKw3

ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในประเทศมาเลเซีย เป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่ขนาดใหญ่ที่สุด ครองสัดส่วนตลาดแฟรนไชส์ถึง 31% ถัดไปเป็นแฟรนไชส์กลุ่มเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ครองสัดส่วนตลาดแฟรนไชส์ 15%,

แฟรนไชส์กลุ่มการศึกษา 11%, แฟรนไชส์กลุ่มบริการ 11%, แฟรนไชส์กลุ่มความงามและสุขภาพ 8% และแฟรนไชส์กลุ่มค้าปลีก มีสัดส่วนการตลาดเพียงแค่ 4% เท่านั้น

ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังดำเนินกิจการอยู่ 400 แฟรนไชส์ และมีมากกว่า 370 แบรนด์แฟรนไชส์ในมาเลเซีย โดย 34% เป็นแบรนด์ที่มาจากสหรัฐอเมริกา และอีก 56% มาจากกลุ่มประเทศอาเซียน การลงทุนแฟรนไชส์เฉลี่ยอยู่ที่ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ

2.แฟรนไชส์ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนภายในประเทศ

r7

ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ถือเป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีขนาดใหญ่และมีบทบาทมากที่สุดในการขับเคลื่อนตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยให้เติบโต โดยธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่า 50% เป็นร้านอาหาร ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มร้านอาหารและคาเฟ่ จึงเป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก

ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยจำนวน 1,523 ราย แยกเป็นนิติบุคคล 1,234 ราย บุคคลธรรมดา 289 ราย และในจำนวนนี้แฟรนไชส์ที่เป็นนิติบุคคลได้ส่งงบการเงินจำนวน 961 ราย คิดเป็น 79%

โดยมีทุนจดทะเบียนรวม 59,502 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 2,169,077 ล้านบาท และมีรายได้รวม 645,798.43 ล้านบาท ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้น มาจากทั้งธุรกิจแฟรนไชส์และรายได้อื่นของธุรกิจ

ประเทศไทยมีแฟรนไชส์ซีมากกว่า 12,000 ราย โดย 85% มาจากแบรนด์แฟรนไชส์ในประเทศ และอีก 5% เป็นของแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีแบรนด์แฟรนไชส์ทั้งหมดในประเทศไทยกว่า 500 แบรนด์ ในปี 2020-2021

3.แฟรนไชส์ในประเทศเมียนมาร์ ตลาดพึ่งเริ่มตั้งไข่

e2

ภาพจาก http://goo.gl/HCsu9f

ธุรกิจแฟรนไชส์ราวๆ กว่า 50 แบรนด์หลักในประเทศเมียนมาร์ เป็นแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เพราะเป็นแฟรนไชส์ที่ดำนินธุรกิจหรือเปิดกิจการได้ง่ายกว่าแฟรนไชส์กลุ่มอื่นๆ

ที่สำคัญเมียนมาร์ยังเป็นตลาดใหม่ เพิ่งเริ่มต้นตั้งไข่เกี่ยวกับตลาดแฟรนไชส์ ถือเป็นประเทศในอาเซียนที่น่าสนใจ มีโอกาสเติบโตในธุรกิจแฟรนไชส์อีกมาก ด้วยจำนวนประชากรของเมียนมาร์ที่มีมากกว่า 50 ล้านคน ธุรกิจที่เข้าไปดำเนินการในเมียนมาร์ส่วนใหญ่เป็น SMEs คิดเป็นสัดส่วน 97% ของธุรกิจทั้งหมด

4.แฟรนไชส์ในประเทศอินโดนีเซีย เปิดรับแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ

e3

ภาพจาก http://goo.gl/Ajd2iu

ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศอินโดนีเซียยังไม่ค่อยเติบโตมากนัก โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นแบรนด์ในประเทศ ดังนั้น อินโดนีเซียจึงยังต้องพึ่งแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วน 40% เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กฎหมายและกฎระเบียบด้านการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในอินโดนีเซีย เอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่แบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศเข้าไปลงทุน ยิ่งถ้าเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ที่อินโดนีเซียรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี จะมีโอกาสอย่างมากในการเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย พวกเขาจะพร้อมรับเสมอ

สำหรับอัตราค่าเช่าโดยเฉลี่ย ทำธุรกิจแฟรนไชส์ในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าเกรด A ค่าเช่าพื้นที่ 60-90 ดอลลาร์สหรัฐ /ตารางเมตร/เดือน ส่วนห้างสรรพสินค้าเกรด B ค่าเช่าพื้นที่ 40-60 ดอลลาร์สหรัฐ /ตารางเมตร/เดือน

5.แฟรนไชส์ในสาธารณรัฐประชาชนลาว การลงทุนแฟรนไชส์ค่อนข้างถูก

e4

ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศลาว มีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ค่อยหวือหวามากนัก อาจเป็นเพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศยังมีความยากจน มีรายได้น้อย จึงทำให้แบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศชะลอเข้าไปลงทุนในลาว อีกทั้งการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศลาวค่อนข้างราคาถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน

โดยการลงทุนแฟรนไชส์สำหรับแบรนด์ต่างประเทศในลาว เฉลี่ยอยู่ที่ 90-200 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ความต้องเงินลงทุนแฟรนไชส์ โดยอยู่ที่ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ

6.แฟรนไชส์ในประเทศบรูไน ดึงดูดการลงทุนแฟรนไชส์ค้าปลีกขนาดเล็ก

ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศบรูไน ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบรูไนมีความต้องการให้แบรนด์แฟรนไชส์กลุ่มธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กเข้าไปลงทุนอีกจำนวนมาก และมีความต้องการแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มต่อเนื่อง

การลงทุนแฟรนไชส์โดยเฉลี่ยในบรูไน สำหรับแบรนด์แฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่แบรนด์แฟรนไชส์ค้าปลีกขนาดเล็ก เงินลงทุนโดยเฉลี่ย 7,000-10,000 ดอลลาร์สหรัฐ

7.แฟรนไชส์ในประเทศเวียดนาม เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป

e5

ภาพจาก http://goo.gl/oTtcf1

ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศเวียดนาม กำลังมีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามสถานการณ์และคามต้องการของตลาด โดยแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศได้เข้าไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีแบรนด์แฟรนไชส์มากกว่า 110 แบรนด์เป็นแฟรนชส์ต่างประเทศ และแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม

สถานการณ์ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามมีการเติบโตประมาณ 61.6% มาจากการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2012-2017 และกว่า 50% เป็นการใช้จ่ายในครัวเรือนเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2021 คาดว่ามีอัตราการเติบโตของ GDP หรือผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเฉลี่ยกว่า 4,348 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ

8.แฟรนไชส์ในประเทศกัมพูชา ธุรกิจบริการกำลังเฟื่องฟู

สถานการณ์ตลาดแฟรนไชส์ในประเทศกัมพูชา ปี 2017 ความน่าสนใจอยู่ที่ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มภาคบริการ เพราะเป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีโอกาสเติบโตและขยายตัวสูงที่สุด เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่รัฐบาลต้องการลงทุนสูง

โดยในปี 2017 กัมพูชามีแผนการลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจศูนย์ออกกำลังกายและฟิตเนส มูลค่ามากกว่า 70,000 ดอลลาร์สหรัฐ และลงทุนในธุรกิจด้านบริการให้คำปรึกษา มูลค่ามากกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ

9.แฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์ รอการพัฒนาให้เติบโต

e6

ภาพจาก http://goo.gl/CdjKWv

รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้การสนับสนุนและส่งเสริม ผลักดันแบรนด์แฟรนไชส์ค้าปลีกท้องถิ่นให้เติบโต ธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ทั้งแบรนด์ท้องถิ่นและต่างประเทศนิยมเข้าไปลงทุนในกรุงมะลิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ โดยธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารและเครื่องดื่มมีโอกาสเติบโตในฟิลิปปินส์

ด้วยจำนวนประชากรในฟิลิปปินส์มีมากกว่า 100 ล้านคน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต่อปี จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าไปลงทุนของแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์อยู่ในรูปแบบเจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ขายสิทธิให้แก่นักลงทุนชาวฟิลิปปินส์ พร้อมให้ความช่วยเหลือในรูปการเงินและการตลาด ค่าซื้อสิทธิแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ และเงื่อนไขสัญญา ค่า Royalty Fee ที่ผู้รับสิทธิต้องจ่ายให้เจ้าของสิทธิได้รวมถึงสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้า ชื่อผลิตภัณฑ์ และระบบ รวมถึงวิธีในการทำแฟรนไชส์

10.แฟรนไชส์ในประเทศปากีสถาน แฟรนไชส์อาหารมีขนาดใหญ่สุด

e7

ภาพจาก : https://goo.gl/GgWPj9

ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในปากีสถาน ถือว่ามีความน่าสนใจสำหรับแฟรนไชส์ต่างประเทศ โดยเฉพาะแฟรนไชส์กลุ่มอาหารที่มีแนวโน้มเติบโตและมีขนาดใหญ่มากที่สุด รองลงมาแฟรนไชส์ค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า โรงแรมและที่พัก บริการรับส่ง บริการรักษาความปลอดภัย และศูนย์การศึกษาเรียนรู้

เฉพาะตลาดแฟรนไชส์ร้านอาหารต่างประเทศ ในปากีสถานมียอดขายประจำปีมากกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และผู้บริโภคชาวปากีสถานมีการใช้จ่ายสำหรับออกไปรับประทานอาหารข้าวนอกบ้านมากกว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เห็นได้ว่าในแต่ละประเทศอาเซียน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศกันมากขึ้น เพราะนอกจากช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ยังช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2SRSadR

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช