สถานการณ์แฟรนไชส์ไทย ล่าสุด! ในภาวะ Covid-19

สถานการณ์ ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้นมาตลอด เพราะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อ 36 ปี หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2563 จะเติบโตเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา

โดยได้แรงหนุนจากกลุ่มคนที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ แบบไม่ต้องเริ่มต้นสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง แม้แต่กูรูด้านแฟรนไชส์ของไทยยังมองว่า มูลค่าการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยปี 2563 จะสูงถึง 3 แสนล้านบาท

แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ ก็โดนพายุไวรัสไปด้วย

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะวิเคราะห์สถานการณ์แฟรนไชส์ในประเทศไทย เป็นอย่างไร ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีการขยายเกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

20

ภาพจาก facebook.com/MaruChaoffice

แน่นอนว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์อย่างแน่นอน จากมูลค่าที่คาดว่าจะเติบโต 3 แสนล้านบาทในปี 63 คงจะไปไม่ถึงจุดนั้นอย่างแน่นอน เพราะแฟรนไชส์ส่วนใหญ่อยู่ในห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าต่างๆ ซึ่งศูนย์การค้าเหล่านี้ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤต ผู้คนหลีกเลี่ยงการไปเดินห้าง เพราะกลัวติดเชื้อไวรัส

เมื่อเป็นเช่นนี้ แฟรนไชส์ที่มีหน้าร้าน เช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า ก็ขายไม่ได้ รายได้ลดลง อีกทั้งยังต้องจ่ายเช่า ค่าธรรมเนียมต่างๆ แม้แต่แฟรนไชส์ร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ๆ ในห้างก็มียอดขายลดลงกว่า 50% ตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19

19

ภาพจาก facebook.com/gattocha

สำหรับแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ ซึ่งส่วนมากจะมีเงินทุนมากพอ น่าจะเอาตัวรอดได้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ แม้ว่ารายได้จะลดลงครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ยังเปิดให้บริการอยู่ ทั้งในห้างและนอกห้าง แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขาย คือ ให้ลูกค้าซื้อกลับบ้าน และเดลิเวอรี่เท่านั้น

ส่วนแฟรนไชส์แบรนด์ขขนาดกลางๆ ขึ้นไป เช่น แฟรนไชส์กลุ่มการศึกษานั้น ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ จากวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากรัฐบาลได้สั่งให้ปิดสถานศึกษา โรงเรียนกวดวิชาต่างๆ ป้องกันการติดเชื้อไวรัสจากการอยู่กันเป็นกลุ่มของเด็กนักเรียน ซึ่งแน่นอนว่าสถานศึกษาเหล่านี้ขาดรายได้และเงินทุนหมุนเวียนอย่างแน่นอน เพราะต้องจ่ายค่าเช่า ค่าจ้างครูผู้สอน และอื่นๆ

18

ภาพจาก facebook.com/quickserviceshops

สำหรับแฟรนไชส์ที่ได้รับผลกระทบน้อยมาก ก็จะเป็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อต่างๆ รวมถึงแฟรนไชส์บริการเกี่ยวกับการขนส่งพัสดุ บริการไปรษณีย์ บริการ One Stop Service เพราะยิ่งคนอยู่ในบ้านก็จะมีการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ผู้คนยังต้องการใช้บริการธุรกิจเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเปิดร้านให้บริการในพื้นที่ใกล้ๆ ชุมชน

อย่าตื่นตระหนก! สร้างความเชื่อมั่น เตรียมพร้อมธุรกิจผงาดหลังจบวิกฤต

17

ภาพจาก bit.ly/2UHilpj

เกี่ยวกับเรื่องนี้ อ.สุภัค หมื่นนิกร ผู้ก่อตั้งสถาบันธุรกิจอาหารแฟรนไชส์ เปิดเผยถึงสถานการณ์แฟรนไชส์ในช่วงโควิด-19 ว่า ช่วงต้นปี 2563 ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตอย่างช้าๆ แต่พอมาเจอกับวิกฤตโควิด-19 ได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาสาหัส ยอดขายลดลง ผู้คนไม่มีเงินลงทุน เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต้องค่อยๆ แก้ปัญหา เพื่อให้ก้าวพ้นผ่านวิกฤติในครั้ง เริ่มตั้งแต่การตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป อย่าแพนิค

ขณะเดียวกัน ต้องดำเนินนโยบายสู้โควิด-19 สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในเรื่องของความปลอดภัยจากโรค เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการบริการภายในร้าน ไม่ว่าจะเป็น บริการเจลล้างมือก่อนเข้าร้าน ที่นั่งเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากาก การใส่ถุงมือพนักงาน รวมถึงมาตรการรักษาความสะอาดภายในร้านอย่างเข้มข้น โดยต้องสื่อสารออกไปให้ลูกค้าได้ทราบ

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต้องมีการปรับรูปแบบการให้บริการลูกค้าเป็นเดลิเวอรี่ หรือให้ลูกค้าซื้อกลับไปทานบ้าน รวมถึงต้องศึกษาคู่แข่งในตลาดด้วยว่าเขาทำอะไรกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ เมนู และราคา เพื่อสร้างความได้เปรียบ

16

ภาพจาก bit.ly/2XgDCb9

อ.สุภัค กล่าวต่อว่า ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ยังจำเป็นต้องขายของและสร้างแบรนด์ควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องของแบรนด์ และทีมงาน ต้องสร้างไปเรื่อยๆ แม้ว่าลูกค้าและนักลงทุนจะน้อยลง แต่พอหลังจากจบวิกฤตโควิด-19 หากธุรกิจสามารถยืนหยัดอยู่รอดจากวิกฤตได้ ลูกค้าก็จะกลับมาหลังจากอัดอั้นมานาน

ที่สำคัญเมื่อโควิด-19 จบลง ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ควรเปิดร้านให้บริการได้ตั้งแต่วันแรก เช่น เปิดให้คนกินในร้านได้ มีพนักงานเสิร์ฟพร้อมบริการ ปรับใช้เดลิเวอรี่มาช่วยเสริมบริการลูกค้า ตอบโจทย์คนอยู่บ้านที่อาจมีความสุขจากความเคยชิน

15

ภาพจาก facebook.com/ramenozawa

ส่วนนโยบายช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีของแฟรนไชส์ซอร์ในช่วงวิกฤต ต้องพิจารณาในเรื่องของการลดค่าฟี หรือไม่เรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซี และยืดระยะเวลาในการจ่ายค่าสินค้า เพื่อให้แฟรนไชส์ซีได้มีเงินทุนหมุนเวียนในร้าน

พร้อมกับสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคในเรื่องของสินค้ามีความปลอดภัยจากโควิด-19 ลูกค้าสามารถมาใช้บริการในร้านได้อย่างปลอดภัย ทำความสะอาดทุกๆ ชั่วโมง กระบวนการทำอาหารหรือเครื่องดื่มปลอดภัย สะอาด และต้องปรับใช้เดลิเวอรี่ เพื่อให้เข้าสถานการณ์โควิด-19

14

ภาพจาก facebook.com/crepesaday

อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงการระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจแฟรนไชส์ แต่แฟรนไชส์ไทยมีอัตตลักษณ์โดดเด่นทางวัฒนธรรมมีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก จึงเชื่อว่าหลังจากผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้

เชื่อว่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีเหมือนเดิม เพราะธุรกิจส่วนใหญ่เกินครึ่งเป็นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไทยมีศักยภาพเป็น ครัวไทยสู่ครัวโลก และสินค้าอาหารจะเป็นที่ต้องการมาก โดยเฉพาะในช่วงของการเยียวยาผลกระทบจากการระบาด


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3bY23OE

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช