วิกฤตหนัก! 19 ร้านค้าปลีกอเมริกา ขอยื่นล้มละลายในปี 2017

Toys R Us เป็นบริษัทค้าปลีกของเล่นอเมริการายล่าสุด ที่ยื่นขอคุ้มครองการล้มละลาย โดยเป็นบริษัทค้าปลีกรายเดียว ที่ขอยื่นล้มละลาย ขณะที่บริษัทยังทำรายได้ในสาขานอกประเทศสหรัฐอเมริกา 

ปัจจัยเสี่ยงของร้านค้าปลีกอเมริกา ที่ทำให้ต้องปิดกิจการ หรือยื่นล้มละลายเพื่อคุ้มครอง เกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้การซื้อของออนไลน์ ต้องการความเร็ว อีกทั้งร้านค้าปลีกหลายแห่ง ไม่มีการตกแต่งร้านที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคให้เข้าไปใช้บริการได้ ส่งผลให้ผู้บริโภคเบื่อหน่าย เข้าไปใช้บริการในห้างสรรพสินค้าน้อยลง

ขณะที่ในปี 2016 ได้มีร้านค้าปลีกอเมริกาได้ขอยื่นล้มละลายไปแล้วมากมาย เชื่อว่าผู้บริโภคชาวไทยหลายคนก็เป็นแฟนพันธุ์แท้ ได้แก่ Aeropostale, Pacific Sunwear, Sports Authority และ American Apparel

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูอีกว่า ในปี 2017 มีร้านค้าปลีกแบรนด์ไหนบ้าง ที่ได้ขอยื่นล้มละลาย เพื่อขอรับการคุ้มครองการล้มละลาย มาดูพร้อมๆ กันเลยว่า มีแบรนด์ร้านค้าปลีกใดบ้าง ที่คุณอาจรู้จักครับ

1. Toys R Us

ร้านค้าปลีกอเมริกา

เป็นผู้ค้าปลีกรายล่าสุด ที่ยื่นคำร้องขอคุ้มครองการล้มละลายอย่างสมัครใจ ร้านค้าปลีกขายของเล่นได้ทำการยื่นล้มละลาย เพื่อการบรรเทาหนี้ของตัวเอง โดย 0Toys R Us มีหนี้สิน 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงิน 400 ล้านเหรียญในปี 2018 และ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งครบกำหนดในปี 2019 บริษัท ฯ กล่าวว่า บริษัท Toys R Us และ Babies R Us จะดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ ก่อนที่จะถึงช่วงฤดูการช้อปปิ้งวันหยุดที่สำคัญ

2. Aerosoles

19

ร้านค้าปลีกผู้ผลิตรองเท้า ฟ้องล้มละลายเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทมีแผนที่จะปิดร้านค้าส่วนใหญ่ และมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจระหว่างประเทศ ร้านค้าปลีก Aerosoles หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า Aero ได้กล่าวว่าการล้มละลายของบริษัท เพราะจำนวนผู้บริโภคเข้าห้างสรรพสอนค้าน้อยลง จึงทำให้ต้องมุ่งเน้นไปที่การช้อปปิ้งออนไลน์ นอกจากการยื่นล้มลายยังต้องการขายทรัพย์สินให้กับบุคคลที่สามภายใน 4 เดือนต่อจากนี้

3. Vitamin World

18

Vitamin World ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองการล้มละลาย เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีแผนที่จะปิดร้านค้าอย่างน้อย 50 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างหนี้ โดยก่อนหน้านี้ Vitamin World มีสาขาประมาณ 330 ร้านค้า Vitamin World ระบุในเอกสารการยื่นล้มลายว่า ค่าเช่าสูง กระบวนการผลิตต่างๆ หยุดชะงัก และร้านค้าปลีกไม่มีคุณภาพ

4. Perfumania

17

ผู้ค้าปลีกน้ำหอม ได้ยื่นคำร้องต่อการล้มละลาย เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม ร้านค้าปลีก Perfumania ระบุว่า เป็นช่วงที่มีการวางแผนเพิ่มกำลังการผลิต การจัดเก็บยอดขาย เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการช็อปปิ้งของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดย มุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และก้าวสู่การเป็นบริษัทเอกชน บริษัทวางแผนที่จะปิด 64 ร้านค้า จาก 226 ร้านค้าของตนเอง ในระหว่างขั้นตอนการล้มละลาย

5. Alfred Angelo

16

ร้านให้เช่าชุดแต่งงาน Alfred Angelo ที่มีเครือข่าร้านค้าหว่า 60 แห่ง และร้านค้าปลีกอื่นๆ กว่า 1,400 แห่งที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วโลก Alfred Angelo ได้ยื่นคำร้องขอล้มละลายบทที่ 7 ในเดือนกรกฎาคม ผู้ค้าปลีกระบุว่า บริษัทมีแผนจะเลิกกิจการ และขายสินทรัพย์ ข่าวดังกล่าว ได้ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในหมู่เจ้าสาวที่ถูกทิ้งไว้ โดยไม่มีชุดแต่งงาน

6. True Religion Apparel

15

True Religion Apparel ได้ยื่นล้มละบายต่อศาล เพื่อต้องการฟื้นฟูกิจการ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม True Religion กล่าวในการยื่นฟ้องศาลว่า บริษัทพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป แต่กำลังวางแผนที่จะชักชวนจำนวนร้านค้าอื่นๆ เข้าร่วมธุรกิจ True Religion Apparel ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 มีร้านค้าประมาณ 140 แห่ง จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทั่วอเมริกา

7. Cornerstone Apparel, เจ้าของแบรนด์ Papaya Clothing

14

ในเดือนมิถุนายน บริษัทเครื่องนุ่งห่มเครื่องนุ่งห่มขนาดกลาง Cornerstone Apparel ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองล้มละลายในบทที่ 11 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Papaya Clothing ได้ขยายร้านใหม่อย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ซึ่งความพยายามในการขยายตัวของกิจการ ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทมีเป้าหมายลำจำนวนร้านลง

8. Gymboree

13

Gymboree ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าเด็ก ได้ยื่นขอคุ้มครองล้มละลายในต้นเดือนมิถุนายน หลังจากพลาดการชำระหนี้ในวันที่ 1 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ปรับโครงสร้างของ Gymboree กล่าวในการฟ้องร้องของศาลว่า บริษัทได้รับบาดเจ็บจากการแข่งขันลดราคาจากคู่แข่ง Children’s Place และ Gap อีกทั้งบริษัทก็มีเงินทุนหมุนเวียนน้อย โดยศาลต้องการลดหนี้ของ Gymboree ลงได้มากกว่า 900 ล้านเหรียญ และจะปิดสาขา ประมาณ 375 แห่งตามรายงานของศาล

9. Rue21

12

Rue21 ร้านค้าปลีกเสื้อผ้าวัยรุ่น ได้ยื่นคำร้องต่อการป้องกันการล้มละลายในช่วงกลางปี โดยหวังว่าจะลดหนี้และจัดหาเงินทุนเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ Rue21 เครือข่ายร้านค้าปลีกมีจำนวนสาขามากกว่า 1,100 สาขา ระบุว่าสินทรัพย์และหนี้สินอยู่ในช่วง 1 พันล้านดอลลาร์ และ 10 พันล้านดอลลาร์ตามการยื่นฟ้องของศาล เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา Rue21 ได้รับการอนุมัติจากศาลว่า จะให้ออกจากการล้มละลาย

10. Payless ShoeSource

11

ร้านค้าค้าปลีกรองเท้า ราคาไม่แพง พยายามขอรับการคุ้มครองการล้มละลายตามในช่วงต้นเดือนเมษายน โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้งบมีความสมดุลมากขึ้น ตามเว็บไซต์ของ Payless ระบุว่าปัจจุบันมีร้านค้าสาขากว่า 4,400 แห่ง ในกว่า 30 ประเทศ โดยร้านค้าปลีก Payless เป็นรายที่ 10 ที่ยื่นล้มละลายเพื่อคุ้มครองในปี 2017 โดยเร็วๆ นี้ บริษัทฯ ได้รับการคุ้มครองจากการล้มละลายในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

11. Gander Mountain

10

ร้านค้าปลีกกลางแจ้ง ได้แจ้งยื่นฟ้องล้มละลายในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พร้อมกับการปิดร้านค้าในสาขาที่มีประสิทธิภาพต่ำไปด้วย จากนั้นในเดือนพฤษภาคม 2017 Gander Mountain และ Overton’s – ธุรกิจเกี่ยวกับการพายเรือ ก็ถูกซื้อกิจการโดย Camping World Holdings จากการประมูลขายทอดตลาด

12. Gordmans

9

กลุ่มห้างสรรพสินค้าราคาไม่แพง ได้ยื่นฟ้องล้มละลายในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2017 โดยมีแผนจะเลิกกิจการสินค้าและขายสินทรัพย์ บริษัท Gordmans ได้ดำเนินกิจการร้านค้ากว่า 100 แห่งใน 22 รัฐในเวลานั้น และบอกว่าวางแผนที่จะดำเนินธุรกิจตามปกติ โดยไม่มีการหยุดชะงักตลอดกระบวนการชำระบัญชี

13. RadioShack

8

ในเดือนมีนาคม 2017 ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ พยายามป้องกันการล้มละลายเป็นครั้งที่ 2 ในเวลาเพียง 2 ปี หลังจากยื่นเป็นครั้งแรกในปี 2015 ร้านค้าปลีก Radio Shack ร่วมมือกับ Sprint เพื่อเปิดร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไร้สายประมาณ 1,200 ร้านค้า โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา RadioShack กล่าวว่าจะปิดสาขากว่า 200 ร้านค้า

และจะประเมินทางเลือกสำหรับคนอื่นๆ Sprint กล่าวว่าจะทำให้สินค้าหลายร้อยชิ้นเหลืออยู่ในร้านค้า Sprint เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง General Wireless Operations ได้ซื้อ RadioShack หลังจากการล้มละลายในปี 2015

14. Hhgregg

7

ผู้ค้าปลีกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ประกาศเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2017 ว่ากำลังยื่นล้มลาย โดยก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน หลังจากบริษัทประกาศปิดร้านเกือบ 90 แห่ง ร้านค้าปลีก Hhgregg ในอินเดียแนโพลิส ได้ลงนามในข้อตกลงกับบุคคลที่ไม่ระบุตัวตนในการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งการขายสินทรัพย์จะช่วยให้ผู้ค้าปลีก สามารถออกจากงานปรับโครงสร้างหนี้ แต่ไม่มีการปรับปรุงสภาพคล่อง เพื่อความมั่นคงในอนาคตของธุรกิจ

15. Vanity

6

ร้านค้าปลีกเสื้อผ้าของผู้หญิง ได้ยื่นล้มลายในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2017 โดยวางแผนที่จะปิดร้านทั้งหมด 140 แห่งเนื่องจากการแข่งขันจากผู้ค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ตที่รุนแรงขึ้น โดยบริษัท กล่าวว่า “เราจะกลับมาเร็วๆ นี้!” ร้านค้าปลีกเครื่องแต่งกายของผู้หญิง ก่อตั้งขึ้นในปี 1950 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฟาร์โกมล รัฐนอร์ทดาโคตา

16. BCBG Max Azria

5

BCBG Max Azria แบรนด์เสื้อผ้าสุภาพสตรีสัญชาติอเมริกันสุดหรู ฟ้องล้มละลายเมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2017 เมื่อ บริษัทได้รับเงินจำนวน 45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และเพื่อให้มั่นใจได้ว่า จะมีการดำเนินงานตามปกติในระหว่างขั้นตอนการคุ้มครองการล้มละลาย

BCBG สัญญาว่า จะทำตามขั้นตอนเพื่อปิดร้านค้าสาขาในประเทศแคนาดา และรวมการดำเนินงานในยุโรป และญี่ปุ่นไว้ด้วย นอกเหนือจากการปิดร้าน 120 แห่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับโครงสร้างหนี้

17. Eastern Outfitters

4

บริษัทแม่ของ Bob’s Stores และผู้ค้าปลีกกลางแจ้ง Eastern Mountain Sports ได้ยื่นล้มละลายในต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยกลุ่มทุนเอกชน Versa Capital Management ได้ซื้อกิจการ Bob’s และ Eastern Mountain Sports หลังจากผ่านการล้มละลายเมื่อปี 2016 ที่ Vestis Retail Group ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของ chain

ล่าสุดทาง Eastern Outfitters ได้ร่วมงานกับ Sports Direct International ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกกีฬาในสหราชอาณาจักร เพื่อตัดสินใจเลือกร้านค้าที่จะ shutter โดยสปอร์ตไดรฟ์ได้ยื่นซื้อหุ้นกู้การล้มละลายในเดือนเมษายน 2017

18. Wet Seal

3

ร้านค้าปลีกเสื้อผ้าวัยรุ่นหนุ่มสาวในอเมริกา ยื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ตามรายงานระบุว่า ร้านค้าปลีกเสื้อผ้าวัยรุ่นได้ปิดร้านค้าทั้งหมดของตน เพราะไม่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ซื้อได้ สิ่งนี้ได้ทำร้านค้าปลีกแบรนด์ดังกล่าว ได้ใช้ความพยายามครั้งที่ 2 ยื่นล้มละลายเพื่อปรับโครงสร้างตามมาตราที่ 11 ในปี 2015

ก่อนหน้านี้ร้านค้าปลีกเครื่องแต่งกายวัยรุ่น ที่พยายามดิ้นรนหาทางรอด เริ่มจากปิดร้าน 338 แห่ง จากทั้งหมดกว่า 500 สาขาเมื่อมกราคม ปี 2015 แต่สถานการณ์กลับไม่ดีขึ้น และไม่สามารถระดมทุน เพื่อนำมากอบกู้ธุรกิจ หรือหาผู้ซื้อ

เพื่อรักษาแบรนด์ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ในที่สุดเมื่อเดือนมกราคาที่ผ่านมา จึงได้ตัดสินใจเลิกจ้างพนักงาน และปิดสาขาที่เหลือทั้งหมดอีก 171 สาขา

19. The Limited

2

ร้านค้าปลีกเครื่องแต่งกายแฟชั่นสำหรับผู้หญิง ยื่นคำร้องการคุ้มครองการล้มละลายตามมาตรา 11 ในต้นเดือนมกราคม 2017 หลังจากปิดร้านค้าทั้งหมด 250 แห่งทั่วประเทศสหรัฐฯ พร้อมทั้งเลิกจ้างพนักงาน 4,000 คน เหตุผลสำคัญที่ทำให้ Fashion Retailer รายนี้ตัดสินใจปิดฉากธุรกิจหน้าร้านทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะที่ผ่านมาผู้บริโภคเดินช้อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้าน้อยลง ส่งผลให้สาขาของ The Limited มีลูกค้าเข้าร้านน้อยลงตามไปด้วย

ทั้งหมดเป็น รายชื่อ 19 แบรนด์ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ทำการยื่นล้มละลายเพื่อคุ้มครองในปี 2017 ซึ่งในตอนนี้หลายๆ แบรนด์ก็ถูกกลุ่มทุนซื้อกิจการไปบริการต่อ หลายแบรนก์ต้องปิดการไป แต่ก็มีอีกหลายแบรนด์ที่อยู่ในช่วงของการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างหนี้ เราต้องจับดูว่าจะมีแบรนด์ค้าปลีกใดบ้าง ที่จะกลับมาผงาดได้อีกครั้งครับ

โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ร้านค้าปลีกต่างๆ รวมถึงห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ของอเมริกาต้องปิดตัวลง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคของคนอเมริกันนิยมซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้จำนวนผู้บริโภคไปจับจ่ายใช้สอยในห้างสรรพสินค้าลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง

สำหรับในประเทศไทย แม้ว่ากระแสการช้อปปิ้งออนไลน์จะเริ่มได้รับความนิยมมาขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังเชื่อว่าร้านค้าปลีกต่างๆ รวมถึงห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ ของไทยสามารถรับมือกับค้าปลีกออนไลน์ได้

อีกทั้งผู้บริโภคชาวไทยยังมีพฤติกรรมอยากเห็นหรือสัมผัสสินค้าในร้านค้า Store ด้วยตัวเองก่อนตัดสินใจซื้อ ที่สำคัญร้านค้าปลีกเมืองไทยมีการทำการตลาด จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้บริโภคยังต้องใช้บริการร้านค้าปลีกควบคู่กับดูสินค้าทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ ต่อไปเราคงต้องจับตาดูว่า ร้านค้าปลีกต่างๆ ของไทยจะสามารถรับมือกับอีคอมเมิร์ซที่กำลังมาแรงได้หรือไม่

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก goo.gl/LdK4i4

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช