ล้ำเลย! StixFres สติ๊กเกอร์ป้องกันผลไม้เน่าเสีย

เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเป็นรอยต่อระหว่างโลกยุคใหม่กับโลกยุคที่ใหม่กว่า มีนวัตกรรมมากมายที่ถูกคิดค้นและกำลังอยู่ในช่วงทดลอง ซึ่งในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ในชีวิตเราให้แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ในแวดวงคนทำธุรกิจก็ต้องเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนี้ ไม่เว้นแม้แต่วงการเกษตรกรรมที่ปัจจุบันต้องผสมผสานการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มคุณภาพการผลิตให้ดียิ่งกว่าเดิม

StixFres

นอกจากเทคโนโลยีด้านการผลิตใหม่ๆ ปัญหาหนักใจของเกษตรกรส่วนใหญ่คือระยะเวลาของพืชผักผลไม้ที่ส่วนใหญ่เก็บได้ไม่นานต้องรีบขายจะได้ไม่เน่าเสีย แต่ปัญหานี้กำลังจะหมดไป

www.ThaiSMEsCenter.com จะพาทุกท่านไปรู้จะกับ StixFres เทคโนโลยีสุดเจ๋ง! สติ๊กเกอร์ลดปัญหาการเน่าเสียของผักและผลไม้ เพิ่มโอกาสทำเงินทำกำไรให้เกษตรกรได้มากยิ่งขึ้น

จากข้อมูลระบุเฉพาะในอเมริกาประเทศเดียว การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากฟาร์มเพื่อส่งไปขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ มีอัตราความเสียหายเกิดขึ้นถึง 52% ประมาณความเสียหายปีละหลายหมื่นล้านดอลลาร์ ในภาคครัวเรือนก็เช่นกันกว่า 60% ของผักและผลไม้มีอัตราการเน่าเสียก่อนจะบริโภค เฉลี่ยแล้วแต่ละครอบครัวสูญเงินไปกับสิ่งเหล่านี้กว่าปีละ 1,600 ดอลลาร์ และจากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ บริษัท Stimulus Nature Resources ในมาเลเซียได้คิดค้นนวัตกรรมชะลอการสุกของผลไม้

tix1

เป็นรูปแบบของสติ๊กเกอร์ติดผลไม้ โดย Zhafri ผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัทนั้นใช้เวลากว่า 3 ปีร่วมมือกับมหาวิทยาลัย UPM ,สถาบันวิจัยหน่วยงานต่าง ๆ และอีกหลายมหาวิทยาลัย รวมถึง University of South Australia พัฒนา StixFresh สติกเกอร์ติดผลไม้เพื่อรักษาความสดของผลไม้ได้นาน 14 วัน โดยสติกเกอร์ดังกล่าวเคลือบส่วนผสมจากธรรมชาติ 100% ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือ และขี้ผึ้ง (beeswax) ที่ชะลอกระบวนการที่ทำให้ผลไม้สุก โดยการกำจัดเอทีลีนออกไป เนื่องจากเอทีลีนเป็นฮอร์โมนพืชรูปก๊าซที่ช่วงเร่งการสุกของผลไม้ นอกจากนั้น StixFresh ยังช่วยควบคุมการทำงานของแบคทีเรียอีกด้วย

ในช่วงแรกๆ การคิดค้นนวัตกรรมนี้พุ่งเป้าไปที่การใช้งานเพื่อยืดอายุมะม่วง แต่ภายหลังพบว่าสามารถใช้กับผลไม้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ มีการทดสอบกับผลไม้หลากหลายชนิดและพบว่าช่วยชะลอการสุกได้จริง ส่วนระยะเวลาที่ชะลอขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ สำหรับผลไม้ที่ใช้ได้ผลดีส่วนใหญ่เป็นผลไม้เมืองร้อน อาทิ แก้วมังกร มะเฟือง มังคุด มะละกอ รวมถึง สาลี่ แอปเปิ้ล อโวคาโด กีวี และลูกพลับ วิธีการใช้งานก็แค่ติดสติกเกอร์ StixFresh ลงบนผลไม้เท่านั้นเอง ผลไม้ก็จะมีความสดและอายุยืนยาวขึ้น

 

tix2

สติกเกอร์ StixFresh สามารถใช้เพียงครั้งเดียว เมื่อแกะออกจากผลไม้ ก็จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป ทีมนักวิจัยยังระบุอีกว่าสติกเกอร์นี้มีความปลอดภัย หากเผลอรับประทานเข้าไปก็ส่งผลกระทบใดๆ ต่อร่างกาย ปัจจุบัน StixFresh ใช้งานกันแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรทั้งรายเล็ก รายใหญ่ รวมถึง ซูเปอร์มาร์เก็ต และผู้ส่งออกและนำเข้าผลไม้

ในปี 2017 ที่ผ่านมา StixFresh ทำยอดขายไปแล้วกว่า 1.3 ล้านชิ้นในประเทศแต่ ทีมงานการตลาดหวังจะขยายตลาดไปต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกาเหนือ รวมถึงในอนาคตจะมีการพัฒนา StixFresh เวอร์ชั่นที่ใช้กับผลไม้ขนาดเล็กเปลือกนิ่ง อย่างองุ่น หรือผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ รวมถึงรุ่นที่ใช้กับผักต่างๆ ด้วย

tix3

แต่ความท้าทายของ StixFresh ก็ใช่จะเดินหน้าได้ง่าย แม้จะเริ่มลุยตลาดต่างประเทศด้วยการทุ่มงบกว่า 1.8 ล้านริงกิตเปิดออฟฟิศในสหรัฐแต่ หน่วยงาน Food and Drug Administration (FDA)ที่เป็นองค์กรด้านอาหารและยาในสหรัฐ ก็ยังจัดให้ StixFresh เป็นสินค้าในกลุ่ม food additive หรือวัตถุเจือปนอาหาร และมีการสัมผัสอาหารโดยตรงจึงอาจทำให้ผู้บริโภคยังกังวลเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นหากคิดจะขยายตลาดให้เติบโตจริงๆ ทางบริษัทก็ต้องพยายามแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

tix4

อย่างไรก็ดีถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่อยู่เหนือจินตนาการของใครหลายคนและเชื่อว่ามีหลายคนคิดแต่ยังไม่มีคนทำ โลกยุคใหม่ต่อจากนี้สิ่งที่เคยเป็นแค่ความคิด สิ่งที่เคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้จะเริ่มปรากฏเป็นรูปเป็นร่างสมกับคำว่าโลกแห่งอนาคตที่เราหลายคนเคยวาดฝันกันเอาไว้

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณข้อมูล goo.gl/xcMzn8

ภาพจาก www.stixfresh.com

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด