ร้านอาหารให้บริการ Delivery คุ้มค่า GP หรือไม่?

นับตั้งแต่การระบาดโควิด-19 ร้านอาหารส่วนใหญ่มักจะพูดถึง “เดลิเวอรี่” เนื่องจากเป็นช่องทางเดียวที่จะช่วยพยุงให้ธุรกิจร้านอาหารอยู่รอดได้ในช่วงวิกฤติ อาจเรียกได้ว่าในวันนี้บริการเดลิเวอรี่ กลายเป็นหนึ่งในบริการหลักที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกใช้

แต่ถึงอย่างไรก็มีคำถามตามมาว่า การทำเดลิเวอรี่ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า ด้วยการสั่งผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ คุ้มค่าหรือไม่ เพราะร้านอาหารจะต้องเสียค่า GP ประมาณ 30% จากยอดขาย เป็นอย่างนี้แล้วร้านอาหารอยู่รอดยาก

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร ว่าจะต้องทำอย่างไร หากจำเป็นต้องสมัครบริการเดลิเวอรี่ร่วมกับแอพพลิเคชั่นรับส่งอาหารต่างๆ เพื่อรักษายอดขายและก้าวข้ามวิกฤติในครั้งนี้

ปัจจุบันเชื่อว่าร้านอาหารเกือบทุกร้านที่กำลังเปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้ จะต้องเปิดให้บริการเดลิเวอรี่ เนื่องจากรัฐบาลสั่งห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น ยิ่งทำให้ร้านอาหารสมัครเข้าร่วมกับแอพพลิเคชั่นรับส่งอาหารต่างๆ เพื่อความอยู่รอด อีกทั้งเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น

แต่ร้านอาหารเหล่านั้นก็จะต้องยอมเสียเงินค่า GP ไปด้วย หากเป็นร้านอาหารที่ขายดี ได้รับความนิยมจากลูกค้าตลอดทั้งวันก็น่าจะไม่ได้รับผลกระทบอะไร หากร้านขายไม่ดี ยอดขายน้อยจะอยู่รอดหรือไม่?

ประโยชน์ของการใช้บริการ App Food Delivery

11

ภาพจาก bit.ly/3y46OSl

1.สามารถช่วยให้ร้านอาหารเพิ่มยอดขายได้ทันที โดยบาง App ก็ไม่มีค่าใช้จ่าย บาง App ก็มีค่าใช้จ่าย แต่ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มช่องทางรายได้ให้เติบโตได้ ในช่วงการระบาดโควิด-19 รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคชอบสั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น

2.สามารถใช้ App Food Delivery เป็นช่องทางในการโปรโมทร้าน โปรโมทเมนูให้ดังได้ โดยไม่ต้องเสียเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์เอง โดยแต่ละ App จะมีผู้ใช้หลายสิบล้านคน ทำให้ร้านอาหารมีโอกาสได้รับการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และขยายฐานลูกค้าได้กว้างมากขึ้น โดยไม่มีต้นทุน หรือมีต้นทุนในการดำเนินการที่น้อยกว่าการใช้งบทางการตลาดทั่วไป

3.ทำให้ร้านอาหารของเรามีระบบบริการ Delivery ได้โดยไม่ต้องจ้างพนักงาน ไม่มีต้นทุนเงินเดือนพนักงาน ซึ่งถือเป็นการบริการที่ทำให้ร้านของเราสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น

4.ร้านอาหารสามารถจัดโปรโมชั่นร่วมกับทาง App Food Delivery ได้ เพื่อกระตุ้นยอดขาย หรือสร้างกระแสการรับรู้ให้กับร้านค้าของตัวเอง ซึ่งสะดวกสบาย และง่ายกว่า เพราะมีผู้ช่วยดำเนินการให้ทั้งหมด

ร้านอาหารคุ้มค่า GP หรือไม่?

10

ภาพจาก bit.ly/3tLZA2k

เราจะสังเกตได้ว่า ในช่วงแรกๆ นั้น App Food Delivery คิดค่าส่งอาหารเดลิเวอรี่ตามระยะทางของผู้ซื้อออก และกินส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์จากคนขับรถส่งอีกทีเข้า Platform แต่การใช้วิธีนี้กว่าจะติดตลาดมันช้า ค่าส่งจะแพง ซึ่งคนขับรถส่งอาหารก็คงไม่อยากโดนหักเปอร์เซ็นต์มาก และคนสั่งอาหารเองก็คงไม่อยากเสียค่าส่งแพง ไปสั่งซื้อเองที่ร้านก็ได้

ด้วยเหตุนี้ทาง App Food Delivery จึงคิดเปลี่ยนรูปแบบการหัก GP จากร้านอาหารแทนคนส่ง โดยแต่ละ App Food Delivery จะมีการแข่งกันประกาศว่าค่าสั่งอาหารของตัวเองถูก จนบางครั้งเราจะเห็นมีการลดค่าส่งลงไปบางทีเหลือแค่ 10 บาท ซึ่งคนขับรถส่งก็ไม่ได้ 10 บาท เพราะว่า Platform เขาหักเงินจากยอดค่าอาหาร 30-35%

หมายความว่า คนซื้ออาหาร 1,000 บาท ร้านค้าได้ 650 บาท ส่วน Platform ได้ 350 บาท โดย Platform จะเอา 350 บาทนั้นไปบริหารจัดการ เช่น จ่ายค่าวิ่งรถของคนส่ง ทำคอมมิชชั่นวิ่งเยอะยิ่งได้เยอะ ทำการตลาด ค่าจัดการ App เป็นต้น

หากถามว่า กำไรสุทธิของร้านอาหารโดยเฉลี่ยอยู่ประมาณเท่าไหร่จากยอดขาย คำตอบก็คือ 30-40% ดังนั้น การหักค่า GP ไปประมาณ 30-35% ก็เท่ากับว่าร้านอาหาร จะเหลือกำไรแค่ 5-10% เท่านั้น

ดังนั้นถามว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม?? เพราะอย่าลืมว่า คนสั่งอาหาร เวลาสั่งจะเปิด App หาร้านอาหาร ดูราคาอาหาร เปรียบเทียบค่าส่งอาหาร เลือกอาหารที่ถูกใจ เลือกค่าส่งที่ถูกสุด โดยที่คนสั่งอาหารเดลิเวอรี่ไม่ได้สนใจเลยว่า ร้านอาหารจะเหลือกำไรเท่าไหร่ คนส่งได้ค่าส่งเท่าไหร่ แต่ที่สนใจก็คือ ราคาเท่าไหร่ ค่าส่งเท่าไหร่ อีกนานไหมจะถึง

ร้านอาหารปรับตัวอย่างไร สู้ GP

9

ภาพจาก https://bit.ly/2RQxgi0

1.เพิ่มเมนูใหม่ หน้าตาเมนูใหม่ ทำต้นทุนอาหารใหม่ เพื่อรองรับค่า GP 20-35% เข้าไปในต้นทุนอาหารต่อจาน เพื่อให้การตั้งราคาขายมีกำไรเหลือ ที่สำคัญเมนูอาหารที่ทำขึ้นใหม่ ต้องมีคุณภาพมาตรฐาน ไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแพง หรือถ้าไม่ขึ้นราคาอาหาร ก็ต้องปรับลดปริมาณอาหารลง แต่คุณภาพอาหารคงเดิม

2. ทำเดลิเวอรี่เอง ใช้พนักงานในร้านอาหาร ที่มีรถจักรยานยนต์ขับส่งอาหารแทนการใช้บริการ App Food Delivery ในรัศมี 5-10 กิโลเมตร หรือมีการส่งฟรีในระยะทางไม่เกิน 3 กิโลเมตร ตรงนี้จะทำให้พนักงานมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

จะเห็นได้ว่า ร้านอาหารเข้าร่วม App Food Delivery มีทั้งข้อดีแบะข้อเสีย ข้อดีก็คือ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น เนื่องจาก App เหล่านี้จะทำการประชาสัมพันธ์ไปยังฐานลูกค้าของ App ให้ ขณะที่ข้อเสียคือต้องจ่ายค่า GP ประมาณ 35% นั่นเอง


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3eFPBHq

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช