รู้หรือยัง! ขั้นตอนและหลักฐานที่สำคัญ สำหรับการขอ อย.

การทำธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ เรื่องของกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตามจะต้องมีกฏหมายและมีมาตรฐานของธุรกิจนั้นๆที่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เห็นแก่ตัวเอาแต่ได้เข้ามาหากำไรจากการขายสินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพอันจะส่งผลเสียต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในระยะยาว

โดยเฉพาะในหมวดหมู่ของอาหารเราจะคุ้นหูและรู้จักกันดีกับหน่วยงานที่เรียกว่าสำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขผู้มีหน้าที่ให้การรับรองแก่สินค้าประเภทอาหารในลักษณะของเครื่องหมาย อย. คำถามคือว่าแล้วจำเป็นแค่ไหนที่หากเราจะทำธุรกิจอาหารขึ้นมาจะต้องขออนุญาติทุกครั้งไปหรือไม่ และเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในเรื่องนี้ตรงกัน

www.ThaiSMEsCenter.com พาทุกท่านไปดูทีละขั้นตอนกับบทนิยมแห่งคำว่าอาหารไปจนถึงขั้นตอนการขอใบอนุญาต เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินธุรกิจของทุกคน

นิยามคำว่าอาหารตามพระราชบัญญัติ

เรื่องของกฏหมาย

ภาพจาก goo.gl/ksuxA8

อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง “วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างการ แต่ ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย

โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น

ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไปซึ่งก็มีคำถามตามมาอีกว่าอ้าว! แล้วอาหารแบบไหนละที่ต้องขออนุญาตในการผลิต โดยในที่นี้ได้แบ่งไว้เป็น 2 หมวดหลักๆคือ

1.กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

l25

ภาพจาก goo.gl/PxaVLe

อาหารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน

(ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7คน) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย

2.กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

l31

ภาพจาก goo.gl/DlqenH

อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรืออาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางหรือสูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือจดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

l26

ภาพจาก goo.gl/9ixshW

เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน/สถานที่ผลิต

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
  3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคลล)
  4. สำเนา ภพ.20 (เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล)
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือบริษัท (กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ)
  6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือบริษัท
  7. แผนผังภายในร้าน หรือบริษัท ระบุ สถานที่ผลิต, บรรจุ, เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
  8. สินค้าตัวอย่างพร้อม ฉลาก

l27

ภาพจาก goo.gl/aLQjA8

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร

  1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7 -19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักร จนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3,000 บาท
  2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5,000 บาท
  3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5- 91 แรงม้า 6,000 บาท
  4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10 -24 แรงม้า 7,000 บาท
  5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25 – 49 แรงม้า 8,000 บาท
  6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10,000 บาท

สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น (ฟรี)

หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบบอาหาร (อย.)

  1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียดอาหาร (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
  2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
  3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

l28

ภาพจาก goo.gl/kh2tba

สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.

  1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
  2. จัดเตรียมเอกสารโดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
  3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสถานที่
  4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ, อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

สถานที่ยื่นคำขออนุญาต

  1. ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (0ne stop service center )สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  2. กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้นๆ

นี่คือเรื่องพื้นฐานในทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สันทัดในการเดินเอกสารก็มีหลายบริษัทที่เข้าทำหน้าที่รับดำเนินการแทน

แต่เราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางที่ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากทำเองก็จะช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่าสำคัญคือสินค้าเรามีคุณภาพสถานที่ผลิตได้มาตรฐานทุกอย่างก็ผ่านอนุมัติง่ายและเร็วแน่นอน

แต่สำหรับท่านใดที่มองว่าอยากเริ่มธุรกิจแบบที่ไม่ต้องยุ่งยากไม่ต้องขอจดทะเบียนให้วุ่นวายก็อาจจะเลือกลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์ซึ่งเรามีให้เลือกมากมายตามความต้องการของทุกท่าน

ดูรายละเอียดที่ goo.gl/AhPTzh

อ้างอิงจาก https://bit.ly/351xOG0

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด