#รีวิวหนังสือ 1 นาที พรีเซ็นต์ให้โลกจำ

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ 1 นาที พรีเซ็นต์ให้โลกจำ เล่มนี้ ฝึกฝนทักษะการเล่าเรื่อง Step by Step การย่อคำพูดลง ให้สื่อถึงกันได้ใน 1 นาที กลั่นจากประสบการณ์ตรง กว่า 28 ปี ของอิโต โยอิจิ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการ สื่อสารให้โดนใจ คุยงานตัวต่อตัวกับหัวหน้า , คุยงานสั้นๆให้เข้าใจง่ายๆ , น้ำเสนอแผนงานในที่ประชุม

รีวิวหนังสือ 1 นาที

7

เขียน : อิโย โยอิจิ
แปล : อิศเรศ ทองปัสโณว์

ราคา 250 บาท
จำนวน 216 หน้า

6

สิ่งที่จะได้รับ

ฝึกฝนทักษะการเล่าเรื่อง Step by Step การย่อคำพูดลง ให้สื่อถึงกันได้ใน 1 นาที กลั่นจากประสบการณ์ตรง กว่า 28 ปี ของอิโต โยอิจิ

เหมาะสำหรับคนที่ต้องการ สื่อสารให้โดนใจ

  • คุยงานตัวต่อตัวกับหัวหน้า
  • คุยงานสั้นๆให้เข้าใจง่ายๆ
  • นำเสนอแผนงานในที่ประชุม

1.ปัจจัยพื้นฐานของการพูด

5

พื้นฐานการพูด

ผู้ฟังจะเห็นชอบ หรือ คัดค้าน ขอแค่ให้พวกเขา แสดงความคิดเห็นบางอย่างออกมาก็พอ ไม่ว่าจะต้องการให้ผู้ฟังเห็นชอบ หรือ ต้องการให้ผู้ฟังทําตาม กล่าวคือ ต้องกําหนด “ปฏิกิริยา” ของผู้ฟังให้ได้การโน้มน้าวใจ คือ สิ่งสําคัญที่สุด จงทําทุกทางเพื่อโน้มน้าวใจ

บันทึกจัดระเบียบความค์ดก่อนพูด

  • ผู้ฟังเป็นโคร
  • ความเข้าใจหัวเรื่อง
  • สถานะ
  • มีความรู้สึกเชิงลบกับอะไรบ้าง
  • ความสนใจ
  • เป้าหมายคืออะไร
  • เรื่องที่ผู้ฟังต้องการจากผู้พูด

2.สร้างตรรกะที่สมองซีกซ้ายเข้าใจได้

4

ใช้โครงสร้างพีระมิดเพื่อจัดระเบียบจุดเน้นและข้อสรุป

คิดเรื่องราวอย่างมีตรรกะในรูปแบบของพีระมิด ขอแค่เชื่อมโยงความหมายได้แค่นั้นก็พอ หากคุณทําได้ จะพูดโน้มน้าวใจเก่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ถ้ายกหลักการสนับสนุนมาอ้างแค่ข้อเดียว “การโน้มน้าวใจจะไม่มีน้ำหนัก จึงควรเตรียมหลักการสนับสนุนที่ไตร่ตรองแล้วเพื่อไว้ ยึดตามเกณฑ์ทั่วไปแค่ 3 ข้อก็พอ


3.ให้ชัดเจนและเรียบง่ายไว้ก่อน

3

ให้อีกฝ่ายรับฟังเรื่องที่เราบอกก่อน

ความจําเป็นอันดับแรกคือ ให้อีกฝ่ายรับฟังเรื่องที่เราบอกก่อน ทําให้เขาสนใจในตัวเรา ถัดไปจึงค่อยโน้มน้าวใจ สิ่งสําคัญไม่ใช่แค่ “เรียกร้องความสนใจชั่วครู่” แต่เป็นการ “ดึงสมาธิของผู้ฟังมาที่เรา” ตลอดระยะเวลาของการนําเสนอผลงาน

ไม่ว่าจะเป็น คําพูด หรือ สไลด์ กฎเหล็กคือ ต้องให้ชัดเจน “ใช้ตัวหนังสือ และถ้อยคําให้น้อยลง ประโยคไม่เยิ่นเย้อ” ถ้อยคําที่ใช้พูดในการนําเสนอผลงานจะต้อง “สั้นและกระชับ”

พื้นฐานสําคัญคือ

  • เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพ เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจน
  • ใส่สถานการณ์ต่างๆ ในภาพ
  • ต้องทําให้ถ้อยคําเข้าห้ได้โดยไม่ต้องอ่าน
  • การเลือกใช้คําควรคํานึงว่า “ผู้ฟังรู้จักคําคํานี้แน่หรือไม่”

4.โน้มน้าวใจใน 1 นาที

2

ถ้ากระตุ้นให้คนนึกภาพได้ จะสร้างความรู้สึกร่วมขึ้นมา

ทําให้ผู้ฟังรับมาคิดต่อ วิธีที่ 1 คือ ทําให้ผู้ฟังนึกภาพในหัวตัวเองโดยตรง วิธีที่ 2 คือ ค่อยๆ สร้างภาพในหัวผู้ฟัง แล้วดึงผู้ฟังให้เข้าไปอยู่ในภาพนั้น

สร้างพีระมิดของทรรศนะ และหลักการสนับสนุนการใช้ตรรกะเพื่อให้ สมองซีกซ้ายยอมรับ ใช้ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพต่างๆ เพื่อกระตุ้นสมองซีกขวา วิธีนี้ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราว และสนใจฟังคุณมากขึ้น

ประเด็นสําคัญ ขณะพูดต่อหน้าชุมชน

  • สายตา : ควรมองดูผู้ฟังตลอดเวลา
  • การขยับมือ : เคลื่อนไหวบ้างไม่มากก็น้อย
  • เสียง : เปล่งเสียงให้ดังทั่วถึง
  • การทิ้งช่วงระหว่างเรื่อง : การแบ่งช่วงคําพูด

5.รู้รูปแบบวิธีพูด

1

เฟรมเวิร์คแบบ SDS

  • Summary (สรุปรวม)
  • Detail (รายละเอียด)
  • Summary (สรุปรวมซ้ำอีกรอบ)

เช่น

  • S เลิกสูบบุหรี่ดีว่า เตรียมให้ผู้ฟังยอมรับ
  • D ข้อสรุป หลักการ ตัวอย่างข้อสรุป
  • S ย้ำอีกครั้งเพื่อฝังลงไปในความทรงจํา

บทประยุกต์

การยึดจุดยืน เป็นสิ่งสําคัญในที่ประชุม มีคํากล่าวว่า ถึงจะไว้หน้า แต่อย่าเกรงใจ หากพูดให้ชัดๆ คือ ถ้าคุณเข้าประชุม แล้วไม่มีอะไรให้พูดในที่ประชุม ก็เท่ากับ ว่าคุณไม่มีความจําเป็นที่จะต้องเข้าไป

ลําดับของงานมี 3 ข้อด้วยกัน คือ

  • กําหนดเป้าหมาย
  • ขยายตัวกําหนด
  • กระชับเรื่องให้สิ้น

อย่างน้อยที่สุด ให้ทุ่มเทความรู้สึก ไปยังผู้ฟังว่า เรื่องที่กําลังจะบอกต่อไปนี้ ฉันนี่แหละรู้ละเอียดที่สุด มีความมั่นใจที่สุดต่อเนื้อหานี้

 

เรียบเรียงโดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3aFiaSt